รูปภาพของจตุรงค์ นัดสันเทียะ
การล่า...ภาพนก ดี ๆ ไว้เชยชม….
โดย จตุรงค์ นัดสันเทียะ - อาทิตย์, 20 เมษายน 2014, 09:45AM
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนก นกมีทั่วทุกหนทุกแห่งไม่ว่าคุณจะอยู่ในเมือง กลางทุ่ง กลางป่าเขาหรือท้องทะเล คุณสามารถพบเห็นนกได้ ซึ่งปกตินกจะถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายประเภท หลายชนิด ตามถิ่นที่อยู่และรูปร่างลักษณะ ในเมืองไทยของเรามีนกนับพันชนิด ให้คุณเลือกถ่ายภาพ หากเป็นนกที่มีความคุ้นเคยกับผู้คน เช่นนกในเมือง หรือนกในสวนสาธารณะ จะถ่ายภาพได้ง่าย การถ่ายภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ อันดับแรกจะทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น อาจจะเริ่มจากการซื้อหนังสือเกี่ยวกับนกมาอ่าน เช่นหนังสือนกของนิตยสารคดี ซึ่งจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย หรือที่ดีที่สุดคือหนังสือ Bird Guide of Thailand ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ซึ่งนักดูนกและถ่ายภาพนกใช้เป็นคู่มือประจำตัวกันแทบทุกคน แต่ภาพทั้งหมดเป็นภาพวาดที่เหมือนจริง สักวันหนึ่งเมื่อเรามีนักถ่ายภาพนกกันมาก ๆ อาจจะได้รวบรวมภาพนกทั้งหมดจัดพิมพ์แบบ Bird Guide of Thailand แต่เป็นภาพถ่ายทั้งหมดเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่เขาทำกัน วิธีหนึ่งที่ ได้ผลมากสำหรับการเริ่มต้น คือ การสมัครเข้ากลุ่มดูนก ตามชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการดูนก และร่วมเดินทางไปดูนกกับกลุ่มเหล่านี้ซึ่งจะจัดกันเป็นประจำ  อุปกรณ์ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญของการถ่ายภาพนก ไม่ใช่กล้องแต่เป็นเลนส์ ส่วนกล้องมีความสำคัญรองลงไป เนื่องจากนกทั่วไปมีขนาดเล็ก หากต้องการถ่ายภาพให้ชัด ๆ ต้องเข้าไปใกล้มาก ๆ ซึ่งนกอาจตื่นตกใจ จนบินหนีไปได้ การใช้เลนส์เทเลโฟโต้ที่มีทางยาวโฟกัสสูงจึงเป็นเรื่องจำเป็น ยิ่งเป็นเลนส์ที่มีความยาวมากก็จะยิ่งดี แต่จะมีปัญหาตามมาในเรื่องของน้ำหนัก จนบางครั้งเราต้องทนแบกเลนส์หนัก ๆ เพื่อการถ่ายภาพนกให้ได้ผล ที่สำคัญคือเลนส์เหล่านี้จะมีราคาสูงกว่าปกติ อาทิ 400 มม. f/5.6 ราคาประมาณ 1-2 หมื่นบาท ถ้าเป็นเลนส์ไวแสงอย่าง 300 มม. f/2.8 ราคาประมาณหกหมื่นบาทขึ้นไป ส่วนเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดแต่ราคาก็แพงที่สุดเช่นกัน คือ 600 มม. f/4 ราคาประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีเลนส์อีกหลายขนาดที่น่าสนใจ เช่น 500 มม. f/8 หรือ 600 มม. f/8 ที่มีราคาไม่สูงเกินไปนัก ข้อควรจดจำของการเลือกซื้อเลนส์คือ ต้องเป็นเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างและทางยาวโฟกัสสูงเท่าที่คุณจะหาซื้อมาได้ หากรูรับแสงแคบเกินไปจะส่งผลให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และได้ภาพเบลอไม่คมชัดในที่สุด ส่วนเลนส์ที่ความยาวโฟกัสสั้นเกินไป ต้องชดเชยโดยการเข้าไปใกล้ ๆ นกให้มากที่สุด หรือใช้บังไพรทำซุ้มดักถ่ายภาพนก ซึ่งบางครั้งต้องรอกันเป็นชั่วโมงหรือทั้งวันเลยทีเดียว ส่วนกล้องถ่าย ภาพไม่มีอะไรต้องเลือกมากนัก เพราะการถ่ายภาพนก ปกติจะไม่ใช้ระบบการทำงานที่ยุ่งยาก ระบบแมนนวลจะใช้มากที่สุด ส่วนกล้องออโต้โฟกัสไม่มีความจำเป็นมากนัก   นอกจากนี้ระบบออโต้โฟกัสของกล้องส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดเสียงดัง  อุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นไม่น้อยไปกว่าเลนส์และกล้องก็คือขาตั้ง กล้อง ควรเลือกขาตั้งที่มีแข็งแรง มั่นคง    เหมาะสมกับขนาดของเลนส์ที่ใช้ อาทิ เลนส์ 400 มม. f/5.6 ควรเลือกขาตั้งขนาดกลางที่มีน้ำหนักระหว่าง   3-5 กิโลกรัม หากใช้ขาตั้งเล็กจะเกิดการสั่นไหวได้ง่าย แต่ถ้าต่อเลนส์เข้ากับเทเลคอนเวอร์เตอร์ 1.4 x, 1.7x หรือ 2x เพื่อเพิ่มความยาวโฟกัสให้สูงขึ้น ต้องใช้ขาตั้งที่แข็งแรงและมั่นคงมากขึ้นไปอีก ส่วนเลนส์ขนาดใหญ่อย่าง 300 มม. f/2.8 หรือ 600 มม. f/4 ต้องใช้ขาตั้งขนาดใหญ่เท่านั้น น้ำหนักประมาณ 4-7 กิโลกรัม ส่วนหัวต้องใหญ่และสามารถรับน้ำหนักเลนส์ได้ หากเป็นขาตั้งชั้นดีอย่าง Manfrotto, Gitzo, Slik หรือ Hakuba

แหล่งที่มา: RNA จาก photogangs.com