รูปภาพของศราวุธ ชนะบำรุง
การเลือกใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งในองค์กร
โดย ศราวุธ ชนะบำรุง - อาทิตย์, 19 เมษายน 2015, 11:27AM
 

การเลือกใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งในองค์กร

ม.ศราวุธ ชนะบำรุง

งานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันแนวความคิดคลาวด์คอมพิวติ้ง( CloudComputing) ได้เข้ามามีบทบาทต่อผู้คนมากมาย โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคเพียงแค่ผู้ใช้บริการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต และเรียกบริการที่ต้องการก็สามารถเริ่มทำงานนั้นได้อย่างง่ายดาย [1] คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบออนไลน์โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน หรือคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ใดไม่ต้องสนใจเรื่องการจัดการทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ( ITInfrastructure) นั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบอีเมล์ฟรีต่างๆไม่ว่าจะเป็น Google Mail (gmail) หรือ Yahoo Mail เป็นต้น [2]

ความหมายของ คลาวด์คอมพิวติ้ง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ความหมายของระบบ คลาวด์คอมพิวติ้ง ว่าหมายถึง ระบบประมวลผลแบบหนึ่งภายใต้แนวความคิดการใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจำนวนมหาศาลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของสาธารณูปโภคโดยมองทรัพยากรเหล่านั้น เช่น เซิร์ฟเวอร์เครือข่ายและซอฟต์แวร์ในรูปแบบเสมือนที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้โดยงาน ภายใต้คำจำกัดความของ (NationalInstitute of Standards and Technology (NIST) ของสหรัฐเมริกาได้กำหนดความหมายของบริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง ครอบคลุมสาระสำคัญใน 3 มิติ ได้แก่ คุณสมบัติ ประเภท และรูปแบบการใช้บริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง [3]

คุณสมบัติของบริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง

คุณสมบัติของบริการคลาวด์คอมพิวติ้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้คุณสมบัติของบริการเอาไว้ 5ข้อด้วยกันดังต่อไปนี้ [4]

1. บริการตนเองตามความต้องการ ( On DemandSelf Service) หมายถึงผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบที่ให้บริการได้โดยอัตโนมัติและสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เช่น การเช่าบริการระบบเครือข่ายและการเช่าพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลได้ตามความต้องการในช่วงเวลาใดก็ได้ผ่านระบบบริหารจัดการบนเว็บไซด์ที่ผู้ให้บริการจัดหาไว้ให้

2. การเข้าถึงได้หลายช่องทาง ( Broad NetworkAccess) หมายถึงผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบของผู้ให้บริการจากอุปกรณ์ประเภทใดก็ได้ เช่น สมาร์โฟนแท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยระบบต้องสามารถรองรับการใช้งานบนแพลตฟอร์มที่มีความหลากหลาย (Multi-platform)

3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (ResourcePooling) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการระบบเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานจำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multi-tenants) โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลต่าง ๆมีการจัดเก็บที่ใด

4. ความยืดหยุ่นในการให้บริการสูง (RapidElasticity) หมายถึง ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูงและหลากหลายตามความต้องการของผู้ใช้งานทำให้ความสามารถในการเพิ่มหรือลดทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วและไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน ปริมาณและระยะเวลในการใช้งาน

5. ระบบการวัดบริการ (MeasuredService) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องโดยการวัดปริมาณและคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงที่เกิดขึ้น

ประเภทของการให้บริการ คลาวด์คอมพิวติ้ง

1. Infrastructure-as-a-Service:IaaS หมายถึง การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลักของบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเช่น ระบบประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายตลอดจนอุปกรณ์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สตอเรจ เซิร์ฟเวอร์ และระบบปฏิบัติการที่ทำให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้ใช้ไม่ต้องบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเอง

2. Platfomr-as-a-Service หมายถึง การให้บริการแพลตฟอร์มและเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น เช่น โปรแกรมเบื้องต้นฐานข้อมูล และระบบที่เอื้อต่อการสร้างแอพพลิเคชั่น โดยผู้ใช้ไม่ต้องบริหารจัดการระบบหรือเครื่องมือเองแต่ต้องไปติดตั้ง แก้ไข ปรับแต่งแอพพลิเคชั่นที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นเอง

ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้ง

คลาวด์คอมพิวติ้ง [5] ช่วยให้การนำไอทีไปใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าในอดีต องค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีอีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่ายให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้าน หรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานหรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้นนอกจากนั้นแล้วแนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งจะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ5 ประการดังต่อไปนี้

1.แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสาร

2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน

3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร

4.ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน

5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

คุณประโยชน์โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์คอมพิวติ้งคือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้เป็นระบบช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำกว่าเดิม

สรุป

คลาวด์คอมพิวติ้งเป็น ระบบประมวลผลแบบหนึ่งภายใต้แนวความคิดการใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจำนวนมหาศาลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของสาธารณูปโภคโดยมองทรัพยากรเหล่านั้น โดยคุณสมบัติของบริการคลาวด์คอมพิวติ้งมีทั้งหมด5 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1.บริการตนเองตามความต้องการ ( On DemandSelf Service) 2.การเข้าถึงได้หลายช่องทาง ( Broad Network Access) 3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource Pooling) 4.ความยืดหยุ่นในการให้บริการสูง (Rapid Elasticity) และประเภทของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งมีทั้งหมด2 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. Infrastructure-as-a-Service: IaaS 2. Platfomr-as-a-Service

บรรณานุกรม

[1] ออนไลน์ . ที่มาและความสำคัญ . ค้นหาจาก http://www.totcloud.com/faq-cloud.html.

สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2557.

[2] ออนไลน์ . ความหมายของคลาวด์คอมพิวติ้ง .

ค้นหาจาก https://www.value.co.th/th/service/articles/Cloud_computing.htm.

สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2557.

[3] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2553) . ความหมายของคลาวด์คอมพิวติ้ง . คู่มือการเลือกใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง.หน้า 5

[4] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2553) . คุณสมบัติของบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง . คู่มือการเลือกใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง.หน้า 6-8

[5] ออนไลน์ . ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้ง. ค้นหาจาก http://www.totcloud.com/faq-cloud.html.

สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2557.