Prebiotics เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารและมีผลต่อสุขภาพ
โดยการไปกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือการออกฤทธิ์ของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่กลุ่มจำเพาะหรือจำนวนหนึ่ง
พบได้ทั่วไปในพืชผักผลไม้หลายชนิด ได้แก่ หัวหอม กล้วย ธัญพืช ถั่ว กระเทียม
อาร์ทิโชก (artichoke)ชิคอรี (chicory) หน่อไม้ฝรั่ง
(asparagus) เป็นต้น องค์ประกอบในอาหารเหล่านี้ที่จัดเป็นพรีไบติก
ได้แก่ อินนูลิน (inulin) ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (fructo-oligosaccharide)
ไซโลโอลิโกแซ
คคาไรด์
(xylo-oligosaccharide)
และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (galacto-oligosaccharide)
พรีไบโอติกส์ ที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้กันมานานก็คือ น้ำตาลสายสั้น (Oligosaccharides)
ซึ่งมี กลูโคส (Glucose) , กาแลคโตส (Galactose)
, และ ฟรุคโตส(Fructose) รวมทั้ง
เอ็น-อาเซทิลกลูโคซามีน (N-acetylglucosamine) เป็นองค์ประกอบ
ด้วยโครงสร้างซึ่งซับซ้อน
ทำให้เอนไซม์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่แบคทีเรียใน ลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลิตกรดนม หรือกรดแลคติก (Lactic
acid) ได้แก่ Bifidobacteria และLactobacilli
สามารถใช้เป็นแหล่งอาหารได้ดีกว่าแบคทีเรียชนิดอื่นๆ
และเมื่อเรารับประทานพรีไบโอติกส์ไประยะหนึ่ง ประชากรแบคทีเรียในลำไส้ของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ส่งเสริมสุขภาพ
ประโยชน์ของพรีไบโอติก
1.)
ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
2.)
ช่วยกระตุ้นให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต
3.)
ช่วยเพิ่มการตายตามธรรมชาติของเซลล์
4.)
หยุดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
5.)
ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย
6.)
บรรเทาอาการท้องผูก
7.)
ลดความเสี่ยต่อโรคกระดูกพรุน
8.)
ยับยั้งการสังเคราะห์ไขมัน
9.)
ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง
10.)
ต้านมะเร็ง