รูปภาพของวรนุช แนบพุดซา
รวยด้วย “พลังแห่งการออม”
โดย วรนุช แนบพุดซา - จันทร์, 23 เมษายน 2018, 08:17AM
 

ทันทีที่เราควบคุมค่าใช้จ่ายของเราได้ ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ เราจะเรียกเงินส่วนนี้ว่า

เงินออมการออมเงินในยุคสมัยนี้เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากมีสิ่งยั่วยุมากมายเหลือเกิน ทำให้การที่จะมีความอดทนต่อสิ่งยั่วยุนั้นต้องพยายามกันอยากมากเลยที่เดียว การออมเงินที่ลดลงอาจจะทำให้ความมั่นคงในบั้นปลายชีวิตอาจจะเผชิญหน้ากับ ความเสี่ยง ถึงแม้ว่าจะมีการบังคับให้ส่งเงินเข้าไปยังประกันสังคม แต่ก็เป็นเงินจำนวนที่ไม่ได้มากนัก อาจจะไม่ช่วยอะไรได้เลย

โดยสรุปแล้ว การออมเท่านั้น ที่เป็นพื้นฐานแนวทางที่จะทำให้เรามีความปลอยภัยในชีวิต ทั้งวันนี้ และในอนาคต

คำถามที่สำคัญที่สุด คือ ออมเท่าไรถึงจะพอ

โดยหลักการแล้ว ถ้าเราอยากรู้ว่าว่าจะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้นานแค่ไหนในช่วงเวลาที่เราไม่ต้องทำงาน ก็ให้นับจำนวนวันที่เราและครอบครัวยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้เท่ากับจำนวนเงินที่เหลืออยู่

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้ชีวิตตามปกติ และมีรายจ่ายต่อเดือน 10,000 บาท ถ้ามีเงินเก็บอยู่ในธนาคาร 120,000 บาท นั่นก็หมายความว่า ความมั่นคงของเราที่จะอยู่โดยไม่ทำงานเลยนั่นคือ 12 เดือน นั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าชีวิตก็ตกอยู่ในความเสี่ยงพอสมควร

การเก็บออมที่ดีเพื่อความร่ำรวยนั้นควรอยู่ในระดับ 40-50% ของรายได้รวมต่อเดือนหรือต่อปี จึงสามารถปลดเกษียณตัวเองออกจากงานได้เร็วขึ้น และมีเงินสำหรับการลงทุนในอนาคต

ในการเก็บออมนั้นควรแยกบัญชีการออกออกเป็น 3 บัญชี ได้แก่
1. บัญชีเผื่อฉุกเฉิน เป็นบัญชีที่เอามาใช้สำหรับยามจำเป็นจริง ๆ เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น บัญชีนี้ควรจะมีประมาณ 6 เท่าของรายได้ประจำ
2. บัญชีเงินออมเพื่อเกษียณ เป็นบัญชีที่นำไปไว้ในที่ ๆ ปลอดภัย เช่น การฝากธนาคารหรือการซื้อทองคำนั่นเอง
3. บัญชีเพื่อการลงทุน เป็นบัญชีที่เอาไว้สำหรับให้เงินทำงาน เช่น การซื้อหุ้น ซื้อ กองทุน เป็นต้น

สำหรับบัญชีเพื่อเกษียณ ให้ใส่เงินเข้าไปทุกเดือนแล้วลืมไปว่า เคยมีเงินในส่วนนี้อยู่ ทั้งนี้เพื่อกันเงินส่วนนี้ไว้ใช้ตอนเลิกทำงานนั่นเอง เมื่อระยะเวลานานไปเราก็จะพบว่า เรานั้นมีเงินออมมากโขอยู่ทีเดียว

ยิ่งออมมากยิ่งรวยมาก

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ ถ้าเราอยากปลดเกษียณตัวเองตอนอายุ 55 ปี และคิดว่าจะตายตอนอายุ 70 ปี ในช่วงเวลา 15 ปี ที่เราไม่ได้ทำงานนั้น เราต้องการเงินเท่าไหร่ เพื่อที่จะทำให้เรามั่นคงได้

ถ้าช่วงระหว่างอายุ 55 ถึง 70 ปี เราต้องมีชีวิตโดยไม่ต้องทำงานอีกเลย 15 ปี x 12 เดือน = 180 เดือน ถ้าเราต้องใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท นั่นก็คือคุณต้องมีเงินออมเท่ากับ 3,600,00 บาทนั่นเอง

นั่นหมายความว่า ถ้าตอนนี้เราอายุ 30 ปี เราจะต้องเก็บเงินเดือนละ 12,000 บาท
55 ปี – 30 ปี = 25 ปี | 25 ปี x 12 = 300 เดือน | 3,600,00 ÷ 300 = 12,000 บาท

นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราออมแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถที่จะสำเร็จได้ก่อน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ออมก่อน รวยกว่านั่นเอง การออมเงินยิ่งช้าเท่าไหร่ ก็จะทำให้เป้าหมายในชีวิต ก็ยิ่งห่างไกลออกไปเท่านั้น

ผู้สรุป มิส วรนุช แนบพุดซา

เจ้าหน้าที่งานธนาคารโรงเรียน

แหล่งที่มา : http://www.panyasai.com