สมุนไพรไทย | |
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยที่ไว้ใช้ประกอบอาหารพร้อมสรรพคุณที่น่ารู้ อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยา เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกันและการบำรุงรักษา ในปัจจุจบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมระดับนานาชาติ วัตถุดิบในส่วนของพืชผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลากหลายประเภท และพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารซึ่งพืชผักและสมุนไพรไทยที่เป็นเครื่องปรุงหลักๆ เราขอแนะนำเฉพาะสมุนไพรที่มีอยู่ปลูกได้ในครัวเรือน เช่น ใบกระเพรา สรรพคุณทางยา: ใบสดมีน้ำมันหอมระเหยเป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันและความดันโลหิตสูงใบกะเพราเป็นอาหารและยา พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา: บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล บรรเทาอาการเจ็บปวด พริกขี้หนูโดยปกติผลมักชี้ขึ้น มีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาวจนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผลมีตั้งแต่ขนาดผลเล็กไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผลแก่มีรสเผ็ดจัด ในการนำมาประกอบอาหารสามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่นหรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท ผลและใบมะกรูด สรรพคุณทางยา: ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง แก้ฝีภายในและขับเสมหะ ใบและผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมใน เครื่องแกงหลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว โดยการฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นในอาหารคาว และใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น มะนาว สรรพคุณทางยา: แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่และบำรุงสายตา มะนาวเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยวจัดอยู่ในสกุลส้ม นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า น้ำมะนาวใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้เปรี้ยว ใส่ในอาหารที่ต้องการเพิ่มรสเปรี้ยว และใช้ผสมน้ำเป็นเครื่องดื่ม ตระไคร้ สรรพคุณทางยา: ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตาและบำรุงผิว ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย สามารถนำมาใช้ได้ทั้งต้นทั้งในส่วนของลำต้น หัว ใบและราก สามารใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง อีกทั้งยังนิยมนำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิดเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินเอ ค้นหอม สรรพคุณทางยา: ช่วยในการขับเหงื่อและบพรุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อและลดไข้ ต้นหอมเป็นพืชตะกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวหรือสีขาวปนม่วงอยู่ใต้ดิน สามารถนำมารับปะรทานได้ทุกส่วนทั้งใบ ดอกและหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่านิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ขาวหมูแดง ส่วนใบใช้โรยหน้าอาหารและใส่ในต้ม ผัด ยำ หรือแกงต่างๆ รวมถึงสามารถนำไปดองด้วย สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยที่ไว้ใช้ประกอบอาหารพร้อมสรรพคุณที่น่ารู้ อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยา เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกันและการบำรุงรักษา ในปัจจุจบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมระดับนานาชาติ วัตถุดิบในส่วนของพืชผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลากหลายประเภท และพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารซึ่งพืชผักและสมุนไพรไทยที่เป็นเครื่องปรุงหลักๆ เราขอแนะนำเฉพาะสมุนไพรที่มีอยู่ปลูกได้ในครัวเรือน เช่น ใบกระเพรา สรรพคุณทางยา: ใบสดมีน้ำมันหอมระเหยเป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันและความดันโลหิตสูงใบกะเพราเป็นอาหารและยา พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา: บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล บรรเทาอาการเจ็บปวด พริกขี้หนูโดยปกติผลมักชี้ขึ้น มีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาวจนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผลมีตั้งแต่ขนาดผลเล็กไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผลแก่มีรสเผ็ดจัด ในการนำมาประกอบอาหารสามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่นหรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท ผลและใบมะกรูด สรรพคุณทางยา: ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง แก้ฝีภายในและขับเสมหะ ใบและผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมใน เครื่องแกงหลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว โดยการฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นในอาหารคาว และใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น มะนาว สรรพคุณทางยา: แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่และบำรุงสายตา มะนาวเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยวจัดอยู่ในสกุลส้ม นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า น้ำมะนาวใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้เปรี้ยว ใส่ในอาหารที่ต้องการเพิ่มรสเปรี้ยว และใช้ผสมน้ำเป็นเครื่องดื่ม ตระไคร้ สรรพคุณทางยา: ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตาและบำรุงผิว ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย สามารถนำมาใช้ได้ทั้งต้นทั้งในส่วนของลำต้น หัว ใบและราก สามารใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง อีกทั้งยังนิยมนำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิดเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินเอ ค้นหอม สรรพคุณทางยา: ช่วยในการขับเหงื่อและบพรุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อและลดไข้ ต้นหอมเป็นพืชตะกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวหรือสีขาวปนม่วงอยู่ใต้ดิน สามารถนำมารับปะรทานได้ทุกส่วนทั้งใบ ดอกและหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่านิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ขาวหมูแดง ส่วนใบใช้โรยหน้าอาหารและใส่ในต้ม ผัด ยำ หรือแกงต่างๆ รวมถึงสามารถนำไปดองด้วย อ้างอิง : ข้อมูลจาก SAWADEE.COM http://www.sawadee.co.th/thailand/food/herbs.html บทความ โดย นางสาวปรีย์นันท์ ลองจำนงค์
|