รูปภาพของละเอียด พุ่มพู
การสอนงานบุคลากรในองค์กร
โดย ละเอียด พุ่มพู - อังคาร, 23 เมษายน 2013, 10:19AM
 

          การสอนงาน เป็นหน้าที่ประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้า ที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง เพื่อที่จะให้เขาเกิดความเข้าใจงาน มีความต่อเนื่องในงาน เกิดความชำนาญ และมีความสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว  หัวหน้างานจะต้องชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงานและรายละเอียดของงาน อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จของงานและองค์การในที่สุด  การสอนงานถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ และยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน  และยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในปัญหาที่เกิดขึ้นและหาข้อแก้ไข กำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน  การเป็นหัวหน้าที่ดีมิใช่หมายถึงความสามารถในการสั่งงาน เร่งรัดงาน แต่ยังรวมถึงการให้คำแนะนำช่วยเหลือสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้องอีกด้วย

          การสอนงาน หมายถึง  การที่หัวหน้างานได้สอนหรือแนะนำให้ลูกน้องได้เรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมาย ว่ามีวัตถุประสงค์และข้อปฏิบัติอย่างไร จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวดเร็ว  และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ  รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการสอนงาน

วัตถุประสงค์ของการสอนงาน จริงๆแล้วมิใช่เป็นเพียงการทำให้ลูกน้องทำงานได้เท่านั้น แต่จะต้องทำงานเป็นด้วย การทำงานเป็นหมายถึงไม่ใช่เพียงแค่รู้ เข้าใจ ทำได้ แต่ต้องสามารถนำไปประยุกต์ได้ด้วย นั่นก็หมายถึงว่าการสอนงานไม่ได้สอนเพียงองค์ความรู้ ทักษะหรือประสบการณ์เท่านั้น แต่ยังจะต้องแฝงไปด้วยการสอนให้คนคิดเป็น พัฒนาเป็นอีกด้วย นอกจากนี้การสอนงานยังมีประโยชน์ในเรื่องต่างๆ อีกมากมาย เช่น ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง  ช่วยป้องกันความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการลองผิดลองถูก  ช่วยให้องค์ความรู้ในองค์การถูกถ่ายทอดไปอย่างถูกต้อง

 

ความสำคัญของการสอนงาน

          การสอนงานมีคุณค่าพิเศษทำให้เกิดผลดี  ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้

1.       ไม่เกิดการลองผิดลองถูก การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพลดความ

ผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน

2.       การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงาน

จากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

3.       การปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

 

 

 

 

                   4.  ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง

                   5.  ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิด

                       เห็นกัน

                   6. ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้

 

ประโยชน์ของการสอนงาน

                   1. หัวหน้ามอบหมายงานได้มากขึ้น

                   2. หัวหน้าไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขงาน

                   3. หัวหน้าได้ทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน

                   4. พนักงานปฏิบัติงานได้ตรงตามความต้องการ

                   5. พนักงานทำงานเป็น ไม่เกิดการผิดพลาด

                   6. พนักงานไม่ต้องทนรับคำตำหนิ

                   7. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน

                   8. หัวหน้าควบคุมงานง่ายขึ้น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกัน

                   9. เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างแรงจูงใจ ในการทำให้หน่วยงานเข้มแข็ง

                   10. สามารถใช้พนักงานได้เต็มขีดความสามารถ ลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ

                         ในการทำงาน

 

การสอนงานจะเกิดขึ้นเมื่อ

                   1. รับบุคลากรใหม่เข้าทำงาน

                   2. เมื่อโอนย้ายบุคลากร

                   3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบงาน

                   4. เมื่อมีการนำเครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ใหม่มาใช้

                   5. เมื่อหัวหน้าพบว่าบุคลากรใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไม่ตรงกับงาน

                   6. เมื่อสังเกตเห็นว่าบุคลากรทำงานผิดวิธี

                   7. เมื่อพบว่าบุคลากรทำงานไม่สะดวกหรือทำงานช้า

                   8. เมื่อพบว่าบุคลากรทำงานเสี่ยงอันตราย  มีการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

                   9. เมื่อเกิดปัญหางานผิดพลาดบกพร่อง ผลงานไม่ได้มาตรฐาน

                   10. เมื่อต้องการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สูงขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณสมบัติของผู้สอนงาน

                   การสอนงานนั้น ผู้สอนกับผู้รับการสอนจะต้องใกล้ชัดและมีความเชื่อถือในกันและกัน ผู้สอนจะต้องเชื่อว่าผู้รับการสอนสามารถที่จะรับการสอนได้ ส่วนผู้รับการสอนก็ต้องเชื่อว่าผู้สอนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ในการทำงานให้แก่ตนได้

                   ลักษณะของผู้สอนที่ดี มีดังนี้

                   1. มีความรู้และความสามารถในงานที่จะสอน

                   2. มีความรักในการถ่ายทอดความรู้

                   3. มีความมุ่งมั่นจริงจังในการสอนให้เกิดผลสำเร็จ

                   4. มีความตั้งใจในการสอน

                   5. มีทักษะในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ

                   6. มีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้รับการสอน

                   7. มีจิตวิญญาณของการเป็นครู

 

หลักในการสอนงาน

                   1. ต้องชี้แจงให้ผู้รับการสอนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน

                   2. ต้องทำให้ผู้รับการสอนสนใจใคร่จะเรียนรู้งานที่จะสอน

                   3. ต้องมุ่งผลของการสอนงาน โดยคำนึกถึงผู้รับการสอนเป็นสำคัญ

                   4. ต้องให้ผู้รับการสอนรู้ว่างานอยู่ในขั้นตอนไหน และจัดการสอนให้มีสภาพเหมือน

                      ปฏิบัติงานจริง ทำให้ผู้รับการสอนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์

                   5. ทำโปรแกรมการสอนงานให้เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้รับ

                      การสอน

 

วิธีการสอนงาน

          วิธีการสอน มี 4 ขั้น

          ขั้นที่ 1 การเตรียมผู้รับการสอนให้พร้อมที่จะเรียน

-                   ทำให้ผู้รับการสอนมีความสบายใจและเกิดความรู้สึกเป็นกันเอง

-                   สำรวจความรู้เดิม

-                   กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ

-                   ให้ผู้รับการสอนงานอยู่ในที่ๆถูกต้อ

ขั้นที่ 2 การลงมือสอนงาน

ขั้นที่ 3 การให้ทดลองปฏิบัติงาน

ขั้นที่ 2 การติดตามผล

          เทคนิค คือ วิธีการที่ได้ผ่านการทดลองและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผล ถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้โดยผู้ชำนาญการ คือเทคนิคในการสอนงาน และยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างที่ควรจะทราบ คือ

1.       เทคนิคการสร้างความต้องการเรียนรู้  ใช้ในกรณีที่ทราบว่าใครจำเป็นต้องได้รับการสอน

งานในเรื่องใด

2.       เทคนิคการทำให้ผู้รับการสอนมีความพร้อม เป็นการสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ทำให้

ผ่อนคลายความเครียด ไม่เน้นพิธีการ

3.       เทคนิคการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ จะคำนึงถึงประโยชน์และวัตถุประสงค์ของงาน ทำ

ให้ผู้รับการสอนเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้

4.       เทคนิคการอธิบาย เป็นการสอนให้ความรู้ใหม่หรือเพิ่มเติมจากที่เคยทำมาก่อน มีการพูด

บอกเล่า วิธีการ  พร้อมทั้งอธิบายตามขั้นตอนการทำงาน  จะต้องเป็นการสื่อสารสองทาง ให้มีการซักถาม

                   5. เทคนิคในการแสดงการทำงานให้ดู

                   6. เทคนิคการให้ผู้รับการสอนฝึกปฏิบัติ  เทคนิคนี้ถ้าจะให้ผู้รับการสอนมีความเข้าใจอย่าง

                      ลึกซึ้ง ต้องมีการลองทำในขณะทำการสอน เพราะถ้าหากมีข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขได้ทันที

                   7. เทคนิคการทดสอบและติดตามผล เมื่อมีการสอนงานแล้วจะต้องมีการทดสอบเพื่อให้เห็น

                        ว่าทำได้และเกิดการเรียนรู้จริง  ซึ่งในระยะการติดตามผล ผู้ฝึกสอนควรหมั่นตรวจสอบ

                        การทำงานของผู้รับการสอนอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ซักถาม เพื่อนำไปปรับปรุงการ

                        ทำงานต่อไป

                   8. เทคนิคการเร้าให้เกิดการเรียนรู้ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม โอกาสหรือเหตุการณ์ต่างๆ

                      เทคนิคต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้รับการสอน หากผู้รับการสอนทำได้ถูกต้อง                     สมบูรณ์ ควรมีการชมเชยเพื่อให้กำลังใจและอยากเรียนรู้มากขึ้น

                   9. เทคนิคการสร้างความเชื่อมั่น เป็นการทดลองทำด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ และฝึกซ้อมให้                   เกิดความชำนาญทำให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องที่ได้เรียนรู้

 

 

อ้างอิง

          บทความ  เทคนิคการสอนงาน  โดย สาวิตรี  ลำดับศรี  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี  กรมการพัฒนาชุมชน

          บทความ ระบบการสอนงานในองค์การที่มีประสิทธิภาพโดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง

          การบริหารทักษะและการปฏิบัติ การสอนงานโดย รศ. เอกชัย กี่สุขพันธ์