รูปภาพของสุวัฒนา อิทธิวิศวกุล
บทบาทพ่อแม่ต่อเด็กสมาธิสั้น
โดย สุวัฒนา อิทธิวิศวกุล - ศุกร์, 28 มีนาคม 2014, 11:34AM
 


 

บทความ  “บทบาทพ่อแม่ต่อเด็กสมาธิสั้น”

-------ab-------

 

 ดิฉันได้อ่านบทความเรื่อง“บทบาทพ่อแม่ต่อเด็กสมาธิสั้น” นี้แล้วคิดว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจเลยทีเดียว ซึ่งผู้ปกครองบางท่านอาจจะเจอกับปัญหานี้ แต่ไม่ทราบว่าจะคิดหาวิธีการดูแลหรือทำอย่างไร      ที่จะช่วยให้ลูกอันเป็นสุดที่รักของท่าน      ได้มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ ให้ดีขึ้น     และในการแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นนี้คงไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ปกครองเท่านั้น ยังมีแพทย์ และคุณครูที่จะต้องมีสาวนร่วมในการให้คำแนะนำ ช่วยดูแลเอาใจใส่ร่วมกับผู้ปกครอง   ซึ่งดิฉันคิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้บ้าง ดังนี้

1. พ่อแม่ควรปรับทัศนคติที่มีต่อเด็กให้เป็นบวก พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าโรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของการทำงานของ

   สมอง   พฤติกรรมที่ก่อปัญหาของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งในที่จะก่อกวนให้เกิดปัญหา   แต่เกิดขึ้นเนื่องจากเด็กไม่ 

   สามารถควบคุมตนเองได้

2. พ่อแม่ควรใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมที่ไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของเด็กให้ลดลง

3. มีการจัดทำตารางเวลาให้ชัดเจนว่ากิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทำมีอะไรบ้างตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน

4. จัดหาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครรบกวนและไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เด็กเสียสมาธิ

    เช่น ทีวี วิดีโอเกม หรือของเล่นอยู่ใกล้ๆ

5. ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย ผู้ใหญ่ควรนั่งประกบอยู่ด้วยระหว่างทำงานหรือทำการบ้าน เพื่อคอยกระตุ้น

   หรือเตือนให้เด็กทำงานได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จ

6. ลงเวลาของเด็กในการดูทีวี เล่นวิดีโอเกม เกมคอมพิวเตอร์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เด็กที่ดูทีวี  หรือเล่นเกมมาก

   เกินไปจะทำให้สมาธิสั้นมากยิ่งขึ้น และไม่สนใจการเรียน

7. ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรม กลางแจ้งเพื่อให้เด็กใช้พลังงานที่มีเหลือเฟือในทางสร้างสรรค์

8. พ่อแม่ละบุคคลอื่นในบ้าน ต้องพยายามควบคุมอารมณ์  อย่าตวาดตำหนิเด็กหรือลงโทษทางกายอย่างรุ่นแรง เมื่อเด็ก

   กระทำผิด   ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า  เมื่อเด็กทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง   การใช้ความรุนแรงกับเด็ก

   สมาธิสั้นมีโอกาสทำให้เด็กสมาธิสั้นเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าว  และใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา

9. การลงโทษควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเล่นเกม งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน หักค่าขนม เป็นต้น

10.ควรให้คำชม รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดี

11.ที่ตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีแกเด็ก เช่น ความมีระเบียบ  รู้จักรอคอย  ความสุภาพ  รู้จักกาลเทศะ  หลีกเลี่ยงการใช้ความ

    รุนแรงต่างๆ เป็นต้น

12.เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไร ควรให้เด็กพูดทบทวนคำสั่งที่พ่อแม่เพิ่งสั่งไปทันที เพื่อให้มั่นในว่าเด็กได้ฟังคำสั่งและเข้าใจว่า

    พ่อแม่ต้องการให้เขาทำอะไร

13.พยายามสั่งทีละคำสั่ง ทีละขั้นตอน ใช้คำสั่งที่สั้น กระชับและตรงไปตรงมา

14.ไม่ควรบ่นจู้จี้จุกจิกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กในอดีต

15.หากเด็กทำผิด พ่อแม่ควรเด็ดขาด เอาจริง คำไหนคำนั้น ลงโทษเด็กตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ใจอ่อน มีความคงเส้นคง

    วาในการปรับพฤติกรรม

16.พยายามมองหาข้อดี ปมเด่นของเด็ก และพูดย้ำให้เด็กเห็นข้อดีของตัวเองเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะประพฤติตัวดี และ

    เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

17.พยายามสอนให้เด็กคิดก่อนทำ เช่น ให้เด็ก นับ 1 ถึง 5ก่อนที่จะทำอะไรลงไป หยุด...คิดก่อนทำนะจ๊ะ... พูดให้เด็ก

    รู้ตัว รู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำต่างๆ ของเด็ก สอนให้เด็กรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราก่อนที่จะทำอะไรลงไป

18.หากเด็กมีพฤติกรรมดื้อไม่เชื่อฟัง    หลีกเลี่ยงการบังคับหรือออกสั่งตรงๆ    กับเด็กแต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่าเขามีทางเลือก

    อะไรบ้าง โดยทางเลือกทั้งสองทางนั้นเป็นทางเลือกที่พ่อแม่กำหนดขึ้น เช่น หากต้องการให้เด็กเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่

    จะสั่งให้เด็กทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่าเอาละ ได้เวลาทำการบ้านแล้ว..หนูจะทำภาษาไทยก่อน หรือว่าจะเลขก่อนดีจ๊ะ

 

 

 

 

19.กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวันที่จะฝึกให้เด็กทำอะไรเงียบๆ ที่ตัวเองชอบอย่าง จดจ่อและมีสมาธิโดยพ่อแม่ต้องหาห้อง

    หรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้าที่สงบ ไม่มีสิ่งเร้ามากนัก ให้เด็กได้เข้าไปทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิคนเดียวเงียบๆ โดย

    ในวันแรกอาจเริ่มที่ 15 นาทีก่อน แล้วจึงเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆให้คำชม และรางวัลเมื่อเด็กทำได้สำเร็จ

20.ส่งเสริมกิจกรรมที่เด็กชอบหรือทำได้ดี  เช่น  กีฬา  ดนตรี  หรือศิลปะ  เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกดีต่อตนเองเกิดความมั่นใจ

    ภาคภูมิใจในตนเอง และเป็นการผ่อนคลายความเครียดของเด็กกลุ่มนี้ที่มักจะมีต่อการเรียน

            ดิฉันคิดว่า ทั้ง 20 ข้อนี้  หากคุณพ่อคุณแม่และคนรอบตัวของเด็กมีความเข้าใจ  มีความตั้งใจในการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจัง  คงไม่เกินความสามารถใช่มั้ยคะ เพื่อลูกรักของเรา ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  “You can do it.

 

                                                                                                มิสสุวัฒนา    อิทธิวิศวกุล

       โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา