รูปภาพของมนทิรา อำภาวงษ์
ดีเจเป็นได้ยังไง และเทคนิคการจัดรายการวิทยุ
โดย มนทิรา อำภาวงษ์ - จันทร์, 21 เมษายน 2014, 12:01AM
 

ดีเจเป็นได้ยังไง และเทคนิคการจัดรายการวิทยุ

ใน ฐานะผู้จัดรายการทุกคนควรพึงระวังไว้เสมอว่า ตนเองมีหน้าที่ถ่ายทอดบทที่เห็น หรือ ความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ไปถึงผู้ฟัง ผู้ชมด้วยน้ำเสียงของตัวเอง การได้ทราบก่อนว่างานที่ตนจะอ่านกระจายเสียงออกไปนั้นมีจุดประสงค์อะไร ย่อยจะเป็นผลดีต่อผู้ประกาศว่าเขาควรจะถ่ายทอดบทที่เห็นให้ไปถึงผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างไร

dj

หน้าที่ของผู้จัดรายการที่เผยเเพร่นั้นแบ่งได้ 4 ประการ คือ

1. เพื่อการบอกกล่าว (to inform) คือ ความพยายามที่จะรายงาน ถ่ายทอดสิ่งที่ได้ประสบให้ไปถึงผู้รับอย่างตรงไปตรงมา
2. เพื่อการโน้มน้าวใจ (to persuade) คือ ความพยายามที่จะทำให้ผู้รับมีความเห็นคล้อยตาม หรือโต้แย้ง
3. เพื่อให้ความรู้ (to aducate) คือ ความพยายามที่จะทำให้ผู้ฟังได้รับทราบรายละเอียดต่างๆอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
4. เพื่อให้ความบันเทิง (to entertain) คือ ความพยายามที่จะให้ผู้รับฟังเกิดความพึงพอใจ มีความสุขใจ

เมื่อเราได้ทราบวัตถุประสงค์หลักของการเผยแพร่สื่อสารแล้ว เราก็สามารถปรับการจัดรายการของเราให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาได้

การอ่านข่าว

เป็น การอ่านที่ต้องการความถูกต้อง ชัดเจน ความหนักแน่น ซึ่งหมายถึงความน่าเชื่อถือของผู้อ่าน ผู้อ่านเพียงทำหน้าที่บอกกล่าวเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงอารมณ์ลงไปในข่าว ความหนักแน่นควรจะก่อตัวจากความรู้สึกของความเชื่อมั่นในความถูกต้องของข่าว ที่อ่าน เสียงขาดความกระจ่างฟังแล้วเลื่อนลอย พึงระลึกไว้เสมอว่าความถูกต้องคือ หัวใจของการอ่าข่าว การอ่านถูกต้องอักขรวิธี เป็นสิ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดในหมู่คนฟัง

การอ่านสารคดี

เป็น การอ่านประเภทเล่าเรื่อง จุดประสงค์เพื่อเป็นการบอกกล่าวและให้ความรู้ โดยแฝงความบันเทิงในรูปของการเล่าให้น่าฟัง น่าติดตาม ผู้อ่านควรอ่านให้เสมือนว่ากำลังเล่าสิ่งที่ตนไปเห็นมาให้ผู้อื่นฟัง ผู้อ่านจะต้องมองเห็นภาพผ่านตัวหนังสือ ความรู้สึกย่อมจะเกิดขึ้น ผู้ฟังก็จะเกิดการคล้อยตามและเห็นไปตามที่ได้ยิน ข้อควรระวังคือ น้ำเสียง อารมณ์ และถ้อยคำจะต้องไปด้วยกัน

การอ่านบทความ

เป็น การอ่านที่ผู้อ่านใช้ความพยายามที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อมั่นและคล้อย ตาม การอ่านบทความนั้นเราจะอ่านอย่างไรก็ได้เพียงขอให้ผู้ฟัง ผู้ชมเชื่อและถือปฏิบัติตามที่เราอ่าน

การอ่านการพูดในรายการเพลง

บาง ครั้งผู้จัดรายการจะเตรียมต้นฉบับไว้อ่านในรายการหรือไม่เตรียมก็ได้ ใช้พูดสดแนะนำเพลงและพูดคุยกันไปเรื่อยๆ ผู้จัดรายการจำเป็นต้องทำหน้าที่ของผู้สนทนาหรือเพื่อนคุย การพูดคุยควรจะเป็นไปเพื่อความบันเทิง เนื้อหาที่ให้ควรสอดคล้องเข้ากันได้กับเสียงเพลงที่เปิด เมื่อเพลงจบควรจะมีความต่อเนื่องระหว่างเสียงเพลงกับการพูดคุย สนทนา การพูดแนะนำเพลง บอกชื่อเพลง ผู้ร้อง ผู้แต่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เว้นไว้แต่เพลงนั้นจะเป็นที่นิยมกันมากและเราเคยบอกไปหลายครั้งแล้ว

ใน กรณีที่เราจะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้สัมภาษณ์ ลักษณะของการสัมภาษณ์คือ กานสนทนานั่นเอง ผู้สัมภาษณ์ ควรสร้างบรรยากาศของความเป็นกันเอง ลีลาของคำถามแต่ละคำถามควรมีลักษณะเป็นการพูดคุยธรรมดา พึงระลึกไว้เสมอว่า รายการสัมภาษณ์จะน่าสนใจ ชวนฟัง หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้สัมภาษณ์ ต้องทำหน้าที่ในฐานะแทนผู้ฟังถามคำถามของการเป็นนักจัดรายการวิทยุนักเล่าเรื่อง•นักขายฝัน•การมีส่วนร่วมกับผู้ฟัง

รูปแบบ&เทคนิคการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

ผศ.ธีรภัทร วรรณฤมล
คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดรายการวิทยุให้ประสพความสำเร็จ

ลักษณะของนักวิทยุฯ

1.รู้จักตนเอง
จิตใจใฝ่รู้
ไวต่อการรับข่าวสาร
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ใจกว้าง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
มีหลักการ มีเหตุผล มีจิตใจที่มั่นคง
มีความอดทนต่อแรงกดดันต่างๆ
สนใจการพัฒนาชุมชน
สนใจการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
มีความทันสมัย มีวิสัยทัศน์
มีความสามารถในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

2. รู้จักหน้าที่
2.1 ให้ข่าวสาร : รายการข่าว,ประกาศประชาสัมพันธ์ต่างๆ
2.2 ให้ความรู้ : รายการสาระต่างๆเช่นบทความ,สัมภาษณ์
2.3 ให้ความบันเทิง : รายการเพลง,ละคร,ตลก
2.4 ให้ข้อมูลการประชาสัมพันธ์(จูงใจ): การรณรงค์ต่างๆ

รายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้น
วัฒนธรรมถิ่น
การงานอาชีพ,ทักษะ
สุขภาพ
ครอบครัว ,สตรี,เด็ก
ศาสนา,จริยธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. ธรรมชาติของสื่อวิทยุ
สั้น กระชับ ฟังแล้วเข้าใจทันที
เน้น

รายการ/ประเด็นที่ควรหลีกเลี่ยง

รายการที่มีเนื้อหาลบหลู่สถาบันสำคัญต่างๆของสังคม
รายการที่มีเนื้อหาเชิงยุยงให้เกิดความแตกแยก
รายการที่มีเนื้อหายั่วยุในทางที่เสื่อม ผิดศีลธรรม
ขัดต่อกฎหมายหรือจารีตประเพณีอันดีของชุมชน
ไม่อยู่ในรสนิยมอันดี ไม่รับผิดชอบต่อสังคม
มุ่งเน้นการโฆษณา

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร

วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อแห่งการพูดคุย
วิทยุเป็นสื่อของการมีส่วนร่วม
การทำงานเป็นทีม4. กลุ่มเป้าหมาย
เพศ
ความชอบ
สร้างรูปแบบ
อายุ
ถามกลุ่มเป้าหมาย(สัมภาษณ์กลุ่ม)

การออกแบบรายการวิทยุฯ

1.กลุ่มเป้าหมาย
2.เนื้อหา : ข่าวสาร ความรู้ บันเทิง
3.วิธีการนำเสนอ
4.ความยาว
5.เวลาในการออกอากาศ
6.การประเมินผล
5.การประเมินผล
ประเมินความพึงพอใจของผู้ฟัง
นำมาปรับปรุงรายการ

ข่าวสารที่รับฟังมากที่สุด
ข่าวการเมือง35.3%
ข่าวบันเทิง19.3%
ข่าวกีฬา10.6%

สาเหตุที่ฟังวิทยุ
ความรวดเร็วทันเหตุการณ์37.7%
พกพาไปได้ทุกที่32.1%
ชอบดีเจแบบไหน
พูดมีสาระ45.5%
ให้ข่าวสาระ11.2%
คุยสนุก9.6%
พูดเป็นกันเอง8.9%
เปิดเพลงเยอะๆ7.8%

ไม่ชอบดีเจแบบไหน
พูดมาก51.7%
พูดแทรกเพลง14.3%
พูดโฆษณามากไป10.3%
พูดไร้สาระ7.4%
พูดปนหัวเราะ3.1%

ที่มา http://www.3comwefm.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538702526&Ntype=5