รูปภาพของสมบูรณ์ สุขชัย
มนุษยสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
โดย สมบูรณ์ สุขชัย - อาทิตย์, 5 เมษายน 2015, 11:07PM
 
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลปะ หรือกระบวนทัศน์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน รวมทั้งการอยู่ร่วมกันด้วยดีมีความสุข

ดร.เทียม โชควัฒนา กล่าวว่า “ผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มักเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ความเป็นคนมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มมีชีวิตชีวานั้นเป็น เสน่ห์ของมนุษย์อย่างแท้จริง” และ “มนุษยสัมพันธ์ คือพื้นฐานของความสำเร็จองค์กรจะเจริญรุ่งเรืองได้บุคคลในองค์กรต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้ที่รู้จักข่มอารมณ์และให้อภัยซึ่งกันและกันเสมอ”

นวพร เฉลยไข ได้เขียนหนังสือ “การทำงานอย่างไรที่ได้ทั้งน้ำใจได้ทั้งงาน” ความหนึ่งเขียนไว้ว่า “มนุษย์แม้จะเก่ง มีความสามารถหรือมีอำนาจมากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าปราศจากซึ่งมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมีน้อยลง เพราะขาดการประสานงานที่ดี ขาดการส่งเสริมสนับสนุน ขาดความร่วมมือร่วมใจ ขาดการยอมรับ และที่สำคัญที่สุดคือขาดมิตรภาพที่เกิดจากใจจริงของผู้อื่น ซึ่งมีคำกล่าวไว้ว่า “นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน ยากที่จะประสบความสำเร็จได้”

Sustainability : Kwok Pui Lan : Teaches theology and spirituality at the Episcopal Divinity School and is the author of Postcolonial Imagination and Feminist Theology
- Social สังคม (กัลยาณมิตร)
- Environment สิ่งแวดล้อม/สภาพแวดล้อม
- Economic เศรษฐกิจ (ความเพียงพอ/การดูแลการเงิน)
- Bearable มีความสามารถในการทนทาน/ความอดทน
- Equitable มีความเที่ยงธรรม/เสมอภาค/ยุตธรรม
- Viable มีความสามารถในการปฏิบัติงาน(ทำงานเป็น/ทำงานได้)

Social – สังคม (กัลยาณมิตร)
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร (กัลยาณธรรม 7 ประการ)
1. น่ารัก กายสะอาด/วาจาสะอาด/ใจสะอาด น่ารัก มีเมตตา ทำให้สบายใจอยากเข้าไปหา
2. น่าเคารพ ไม่หวั่นไหวต่อความยั่วยวนของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ใจตกต่ำ รักความ ยุติธรรม มีความเมตตากรุณา
3. น่าเทิดทูน มีความรู้ มีภูมิปัญญาเป็นเลิศ ทั้งทางโลกและทางธรรม) เป็นที่น่าเจริญใจ ควรเอาเป็นตัวอย่าง
4. ฉลาดพูดแนะนำตักเตือน รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ หาโอกาสฝึก พูดให้เหตุให้ผล ให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส)
5. อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมจะรับฟังคำปรึกษาซักถามอยู่เสมอ อดทนฟังได้แม้เรื่องไร้สาระ ไม่เบื่อหน่าย ไม่รำคาญ จึงต้องอดทนให้อภัย รักษาอารมณ์ให้เยือกเย็นอยู่เสมอ) และพร้อมรับกับข้อเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์
6. แถลงเรื่องที่ลึกล้ำได้ อธิบายเรื่องที่เข้าใจอยากให้คนอื่นเข้าใจได้ พร้อมกันก็เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ให้ ลึกซึ้งขึ้นไป
7. ไม่ชักนำไปในสิ่งที่เสื่อม ประพฤติปฏิบัติอยู่ในธรรม ไม่ยอมทำเรื่องที่เป็นการเสื่อมเสีย พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ไม่มีเบื้องหน้า ไม่มีเบื้องหลัง

แหล่งอ้างอิง :
1. http://www.kalyanamitra.org/kal/kal_page2.html, สืบค้นเมื่อวันที่ 19/1/2558
2. http://adisony.blogspot.com/2012/10/elton-mayo.html, สืบค้นเมื่อวันที่ 19/1/2558
3. http://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/07/01/entry-1, สืบค้นเมื่อวันที่ 22/1/2558
4. http://www.wachum.com/eBook/1065106/doc9-1.html, สืบค้นเมื่อวันที่ 22/1/2558
5. http://doodee01loveyou.wordpress.com/2013/12/06/การทำงานเป็นทีม/, สืบค้นเมื่อวันที่ 22/1/2558
6. http://www.rmuti.ac.th/faculty/production/ie/html/leader.htm, สืบค้นเมื่อวันที่ 24/1/2558
7. http://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=421797, สืบค้นเมื่อวันที่ 24/1/2558