โซเชียล
เน็ตเวิร์ก (Social
Network)
“ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน”
ทุกวันนี้คำว่า "เว็บไซต์ โซเชียล
เน็ตเวิร์ก" หรือ "เครือข่ายสังคมออนไลน์"
ไม่ใช่คำใหม่ในสังคมอีกแล้ว
โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน
ทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว
ทว่า
การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน " ดาบสองคม "
ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง
ในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน
"โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ครูผู้สอน
และนักเรียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเวลาที่อยู่ในห้องเรียน
ดังเช่นที่
"คณะกรรมการด้านการศึกษา" ของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐฯ
เพิ่งจะมีมติไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ในการเห็นชอบที่จะกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
เกี่ยวกับการนำเอา "โชเชียล เน็ตเวิร์ก"
มาใช้ในฐานะเครื่องมือการเรียนการสอน
ยกตัวอย่างในกรณีของ
"เฟชบุ๊ก" หรือ "มาย สเปช"
เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่า
แทนที่บรรดาเด็กนักเรียนจะอาศัยเว็บไซต์เครือข่ายฯ เหล่านี้ ในการพูดคุย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้เป็นพื้นที่ในการบอกกล่าวความรู้สึก ของตนต่อคนรอบข้างเพียงอย่างเดียว
แต่แอพลิเคชั่น หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์เหล่านี้
ยังสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับสถาบันการศึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนได้ด้วย เช่น
การสั่งรายงาน ส่งการบ้าน หรือแม้กระทั่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาสอบ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน
การที่ครูเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้เป็นหูเป็นตา
ในการสอดส่องดูแลผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดนนี้ เข้ามาสร้างความเสียหาย หรือก่อภัยคุกคาม
โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศแก่พวกเด็กๆได้ ดังที่มีข่าวครึกโครมอยู่บ่อยๆ กรณีของ
"คิมิยะ ฮากิกิ" นักเรียนสาววัย 17 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับเกรด 11
ของโรงเรียนแลงเลย์ ไฮสคูล
ก็อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้
โดยก่อนหน้านี้เธอมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเช่นเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ
" อ.อูเบรย์ ลุดวิก " ทว่าครูผู้สอนของเธอได้แนะนำให้เธอ
และเพื่อนในชั้นเรียนใช้ " ทวิตเตอร์ " ส่งข้อความหากัน
แล้วผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อปัญหาการเขียนที่เคยเยิ่นเย้อ
และประณีตเกินไปก่อนหน้าได้รับการแก้ไข อันเป็นผลจากการ " ทวิต "
ข้อความซึ่งมีการจำกัดอักขระอยู่ที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งเท่านั้นนั่นเอง
อ้างอิงข้อมูลจาก
: สยามรัฐ
บทความโดย : มิสวารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล