รูปภาพของจตุรงค์ นัดสันเทียะ
เรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจซื้อเลนส์
โดย จตุรงค์ นัดสันเทียะ - อังคาร, 7 เมษายน 2015, 11:20AM
 
  
 

ม.จตุรงค์ นัดสันเทียะ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์

การเลือกเลนส์ที่จะใช้ควรจะดูที่การใช้งานเป็นหลัก รวมถึงความต้องการคุณภาพของภาพที่ได้ นอกจากจะต้องศึกษาเรื่องประเภทของเลนส์ว่ามีอะไรบ้าง อย่างที่ได้พูดถึงไปในบทความเรื่อง ประเภทของเลนส์ แล้วก็ควรจะมีความเข้าใจหลักพื้นฐานของค่าตัวเลขต่าง ๆ ที่ระบุอยู่บนเลนส์กันก่อน

เริ่มจากเรื่องทางยาวโฟกัสของเลนส์ ค่าทางยาวโฟกัสของเลนส์หมายถึงระยะห่างของชิ้นเลนส์ถึงระนาบฟิลม์ หรือระนาบตัวเซ็นเซอร์รับภาพ (CCD หรือ CMOS) เลนส์ที่มีค่าทางยาวโฟกัสแตกต่างกันก็จะให้ผลลัพธ์ของภาพที่ถ่ายออกมาแตกต่างกัน โดยเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้น ๆ หรือค่าตัวเลขน้อย ๆ ก็จะให้องศาการรับภาพที่กว้างกว่า ในขณะที่เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมาก ๆ ก็จะให้องศาการรับภาพที่แคบลง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่าเลนส์ตัวนั้นเหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพแบบใด ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ นอกจากทางยาวโฟกัสจะมีผลต่อองศาการรับภาพแล้วยังมีผลกับระยะชัดลึกของภาพ (Dept of Field) ด้วย เลนส์ที่มี focal length ยาวเท่าไหร่ก็จะให้ระยะชัดลึกหรือ Dept of Field น้อยลง ทำให้ฉากหลังละลายได้มากขึ้นเท่านั้น แม้จะถ่ายภาพนั้น ๆ ที่รูรับแสงหรือ f เดียวกัน ก็จะส่งผลให้ภาพที่ได้ในส่วนวัตถุที่โฟกัสลอยเด่นออกมา (เช่นเดียวกับการถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอหรือชัดตื้นโดยใช้ค่า f stop ควบคุม) เลนส์ที่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างกว่า (ค่า f ตัวเลขน้อย) จะมีความสว่างมากกว่า นั้นคือสามารถถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีกว่า ทำให้ไม่จำเป็นตัวใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ ในการถ่ายภาพ รวมถึงยังสามารถทำให้ฉากหลังเบลอ (เทคนิคยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพบุคคคล แบบหน้าชัดหลังเบลอ หรือที่เรียกกันว่าการถ่ายภาพแบบชัดตื้น) ได้ง่ายกว่าในเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวกันที่มีค่า f เริ่มต้นมากกว่า เลนส์ที่มีรูรับแสงค่าเดียว หรือค่า f คงที่ (เช่น เลนส์ 70-200mm f2.8) อาจจะมีราคาค่าตัวที่ค่อนข้างจะสูงกว่าเลนส์ที่มีค่ารูรับแสงสองค่า (75-300 mm f4-5.6) เนื่องจากการออกแบบที่ซับซ้อนกว่า และการผลิตที่ยุ่งยากกว่า

อย่างไรก็ตาม เลนส์ทุกตัวสามารถลดค่า f (เพิ่มตัวเลขของ f) หรือหุบรูรับแสงได้ เช่น เลนส์ 70-200mm f2.8 นั้น เป็นเลนส์ที่มีค่า f กว้างสุดคงที่ แต่เราก็สามารถหุบรูรับแสงลงเป็น f4 f5.6 f8 f11 f16 หรือ f22 เพื่อรับแสงให้น้อยลงได้ เพียงแต่เลนท์ทุกตัวจะไม่สามสารถเพิ่มรูรับแสงให้ใหญ่ กว่าค่าของรูรับแสงที่เขียนอยู่ที่เลนส์ตัวนั้น ๆ ได้ (เช่นเลนส์ 75-300 mm f4-5.6 จะไม่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างกว่าค่า f4 อีกแล้ว) จึงอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกเลนส์ การเลือกใช้เลนส์ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ หรือวัตถุที่จะถ่าย และสามารถดึงความสามารถของเลนส์ที่ใช้ออกมาให้มากที่สุด จึงน่าจะเป็นวิธีการเลือกใช้เลนส์ที่ดีก

 

 

 

เครดิตข้อมูลประกอบ : หนังสือถ่ายภาพสวยด้วยกล้อง DSLR โดย คุณณัฐวุฒิ ปิยบุปผชาติ, คุณ neoscuba จากเว็บไซต์ bicycletripthai.com , คุณ bokeh จากเว็บไซต์ taklong.com