รูปภาพของวารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล
“โรคออนไลน์” ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับอินเตอร์เน็ต
โดย วารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล - จันทร์, 21 มีนาคม 2016, 05:16PM
 

“โรคออนไลน์” ปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต, Facebook, Twitter, Instagram, Youtube, เกมส์ออนไลน์เว็บไซต์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยุคนี้ไปแล้ว ไม่ว่าจะใช้ในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร หรือเพื่อความบันเทิง ลองนึกดูว่าทุกวันนี้คุณใช้เวลาไปกับชีวิตออนไลน์นานแค่ไหนในหนึ่งวัน

 

รู้สึกปวดตา ปวดหัว ปวดไหล่ ปวดข้อมือ ผิวหน้าหมองคล้ำ อาการเหล่านี้อาจจะดูไม่ร้ายแรง เมื่อเทียบกับความสุขความบันเทิงชั่วคราวที่เราได้รับจากชีวิตออนไลน์ แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าอาการเล็กๆเหล่านี้ มักเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ได้เช่นกัน ถ้าคุณติดชีวิตออนไลน์มากจนเกินไปนั้น สิ่งที่คุณคิดว่าจะให้ความบันเทิงและผ่อนคลายจากการทำงานหนักมาทั้งวัน อาจจะกลับกลายเป็นตัวการที่ทำร้ายร่างกายของตัวคุณเองก็เป็นได้


ลองสังเกตุพฤติกรรมเหล่านี้ที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะติดชีวิตออนไลน์


อยู่เฉยๆ ได้ไม่นานก็รู้สึกว่าต้องเข้าไปเล่น Facebook, Twitter เข้าเว็บไซต์ ทั้งๆที่อาจจะมีงานอื่นที่ต้องทำ

    - หากทราบว่าจะไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ จะเกิดอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า หรือโมโหขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้

พูดคุยหรือติดต่อกับคนรอบข้างน้อยลง แม้กระทั่งนั่งอยู่ด้วยกันยังสนใจกับชีวิตออนไลน์มากกว่าชีวิตจริงด้วยซ้ำ

- เมื่อมีปัญหา ผิดหวัง มักจะออนไลน์เพื่อระบายความรู้สึกเหล่านั้นลงในชีวิตออนไลน์

 

เป็นเรื่องน่าตกใจมาก ที่ปัจจุบันเราใช้อินเตอร์เน็ต ท่องอยู่ในโลกออนไลน์ เฉลี่ยถึง 8-10 ชั่วโมงต่อวัน และที่น่าตกใจไปกว่านั้นเราใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวันไปกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebookที่กำลังได้รับความนิยมสูงสุด ที่ทำให้เราสามารถมีตัวตนอีกแห่งหนึ่งได้อย่างสะดวกสบาย และเป็นตัวเราในแบบที่เราอยากให้เป็นได้ จนทำให้หลายๆ คนนั้นรู้สึกว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความสุขได้ง่ายมาก เพราะทั้งมีเพื่อนที่เพิ่มขึ้น คลายเหงาได้ หรืออย่าง Twitter ที่ให้เราสามารถพิมพ์ข้อความสั้นๆ ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกหรือคิดอย่างไร ทำให้เรารู้สึกว่าไม่ขาดการติดต่อจากโลกออนไลน์

 

แต่ทุกอย่างในโลกก็มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น เราจำเป็นต้องแบ่งเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตให้เหมาะสม และรู้จักการป้องกันโรคที่เกิดจากการเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานด้วย เพราะหากเรานั่งมองหน้าจอเป็นเวลานาน โดยไม่รู้จักการป้องกันอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมาได้ ดังนี้


1. ดวงดา อวัยวะสำคัญที่ควรได้รับการปกป้องและรักษาอย่างดี


การท่องอยู่ในชีวิตออนไลน์นั้นทำให้เราเพลิดเพลินจนเวลาผ่านไปเร็วมาก จนหลายคนไม่มีโอกาสได้สังเกตว่าเรากระพริบตาน้อยครั้งกว่าปกติมาก สวนทางกับสิ่งที่ร่างกายต้องทำก็คือการกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา พฤติกรรมนี้จะทำให้เกิดอาการที่แบ่งได้คร่าวๆ คือ

- ตาแห้ง เกิดจากการไม่กระพริบตาเป็นเวลานานๆ

- ตาอักเสบ

ตาเสื่อม ซึ่งก็เหมือนกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่หากเราใช้งานหนักโดยไม่บำรุงรักษา ก็จะต้องเสี่อมลงไปเร็วกว่าปกติ

- เกิดรอยคล้ำรอบดวงตา มีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้้ตา

- ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อดวงตา ทำให้ปวดกระบอกตา และปวดศรีษะตามมาในที่สุด

 

หากเกิดอาการเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เคยทำให้เรามีความสุข เพลิดเพลิน จะกลับกลายเป็นตัวการที่ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและมีปัญหาสุขภาพตามมาก็เป็นไปได้ ฉะนั้นวิธีป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ การไม่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานจนเกินไป ควรพักออกจากหน้าจอ 5 นาที ทุกๆ หนึ่งชั่วโมง หรืออาจจะใช้วิธีการบังคับตัวเองโดยวางแก้วน้ำไว้ข้างๆ ตัวและจิบน้ำบ่อยๆ จะทำให้เราต้องลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำถี่กว่าปกติ ก็ถือเป็นการพักออกจากหน้าจอไปในตัว และควรกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อรักษาความชื้นในดวงตา

 

     2. คลื่นรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์


รังสีและคลื่นจากจอคอมพิวเตอร์แม้จะอยูในระดับที่ปลอดภัย แต่ถ้าใช้งานจนเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ หลายคนคงสังเกตได้ด้วยตัวเองจากผลกระทบเฉพาะหน้า คือหลายคนหน้าแดง คล้ำขึ้นหลังจากอยู่หน้าจอนานๆ ถึงขั้นมีการแนะนำกันว่าควรทาครีมกันแดดก่อนอยู่หน้าจอเสียด้วยซ้ำ เพื่อป้องกันแสงจากจอมีรังสีอัลตราไวโอเลตออกมากระทบผู้ใช้งานโดยตรง

นอกจากนี้ยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพทย์แนะนำว่าผู้ที่ติดตั้งท้องในช่วง 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงการอยู่หน้าคอมพิวเตออร์นานๆ เพราะอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์ให้เติบโตผิดปกติ

 

     3. ปวดศรีษะ หลัง ไหล่ แขน จนถึงข้อมือ


มักเกิดจากท่านั่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ เช่น ควรนั่งหลังตรงและระดับสายตาอยู่สูงกว่าขอบบนของจอภาพประมาณ 4 นิ้ว เมื่อวางแขนลงบนโต๊ะให้ลองจับที่หัวไหล่ดูว่ากล้ามเนื้อตึงหรือไม่ หากตึงก็แปลว่ากล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่ทำงานอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นควรปรับท่าการวางแขนใหม่ วิธีจัดท่าการวางแขนง่ายๆ คือ นั่งและปล่อยแขนลงแนบลำตัว จากนั้นยกแขนเฉพาะส่วนที่อยู่ต่ำกว่าข้อศอกขึ้นมาให้ขนานกับพื้น วิธีนี้จะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายที่สุด ในสมัยนี้บางคนนั่งผิดหลักสรีระศาสตร์มาเป็นเวลานานจนถึงขึ้นต้องได้รับการผ่าตัดก็มีจำนวนไม่น้อย

 

     4. เชื้อโรคจากคอมพิวเตอร์


บางคนคาดไม่ถึงว่าคอมพิวเตอร์เป็นแหล่งเชื้อโรคที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง ในการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือตามร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เพราะมีคนใช้งานจำนวนมากทำให้มีเชื้อโรคต่างๆ รวมไปถึงเชื้อราและเชื้อหวัด คนกลุ่มที่ใช้บริการร้านเหล่านี้ มักจะได้รับการติดเชื้อเป็นประจำ มีงานวิจัยบอกว่าคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ในร้านอินเตอร์เน็ตมีเชื้อโรคเฉลี่ยสูงกว่าฝารองนั่งชักโครกเสียอีก มาถึงตอนนี้หลายๆ คนคงคิดว่าตัวเองใช้งานแต่คอมพิวเตอร์ที่บ้านคงปลอดภัย แต่อย่าลืมว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์มีไฟฟ้าสถิตหลักการเดียวกับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ จึงทำให้มีฝุ่นมาเกาะที่หน้าจอเป็นจำนวนมาก และเราก็หายใจเอาผุ่นละอองเหล่านั้นเข้าปอด นั่นก็เป็นตัวการของโรคภูมิแพ้นั่นเอง


วิธีป้องกันโรคออนไลน์


  • ควรหยุดพัก 5-10 นาที ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง โดยการลุกขึ้นยืน หลับตา หรือมองไปที่ไกลๆ มองต้นไม้สีเขียว บริหารดวงตาด้วยการกลอกตาเป็นวงกลม 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางแตะหัวตาแต่ละข้าง คลึง กดจุด 1-2 วินาที

 

  • ตั้งจอคอมพิวเตอร์ห่างจากสายตา 20-24 นิ้ว ขึ้นอยู่กับขนาดของจอ จอขนาดใหญ่ก็ต้องยิ่งตั้งห่างจากสายตา และขอบบนของจอตั้งระดับต่ำกว่าสายตาประมาณ 4 นิ้ว

 

  • จัดท่านั่งให้ถูกต้อง เช่น เวลาพิมพ์ข้อศอกกับคีย์บอร์ดอยู่ในระดับเดียวกัน ขาสองข้างวางเรียบกับพื้น นั่งตัวตรง อย่าให้ข้อมือโก่ง โค้งผิดปกติ ใช้ตัวอักษรสีดำ บนพื้นสีขาวเป็นหลัก หลีกเลี่ยงพื้นสีเข้ม

 

  • ควรออกกำลังกาย เช่น กำมือ คลายมือ นวดไหล่ ต้นคอ ยืดแขน ลุกขึ้นยืนขยับตัวเป็นระยะ ๆ

 

  • หมั่นทำความสะอาดปัดฝุ่น เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้

อ้างอิง : https://sites.google.com/site/phaykiltaw/