รูปภาพของสุวัฒนา อิทธิวิศวกุล
ศิลปะการทำงานให้มีความสุข
โดย สุวัฒนา อิทธิวิศวกุล - พฤหัสบดี, 31 มีนาคม 2016, 09:24AM
 

 ศิลปะการทำงานให้มีความสุข  

หัวข้อทำงานอย่างไรให้มีความสุข ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ทำงานที่ใจรัก เพราะถ้าเราทำงานที่ใจรักทุก ๆ  วันจะเป็นวันแห่งความสุข  เราไม่ต้องรอว่าความสุขจะมาถึงเราวัน

   เสาร์-อาทิตย์ แต่ทุกวันที่เราทำงานจะเป็นวันแห่งความสุขของเราเพราะว่าเราทำด้วยความรัก
2. ทำงานทุกชิ้นให้เต็มที่ให้ดี เพราะเมื่อเราสร้างงาน งานจะย้อนกลับมาสร้างคน งานคือเวทีแสดงออกซึ่งศักยภาพใน

    การทำงานของเราทุกครั้งที่เราทำงานให้เต็มที่และทำอย่างดีที่สุด    คนก็จะเห็นคุณค่าของเราว่ามีมากน้อยเพียงไร

    ดังนั้นเมื่อเราตั้งใจสร้างงาน งาน 1 ชิ้นก็จะย้อนกลับมาสร้างคน
3. ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต     โปร่งใสเพราะเมื่อเราทำงานด้วยความสุจริตก็ไม่ต้องมานั่งระแวงภัยที่จะตามมาใน

    อนาคตซึ่งเกิดจากการตามจับผิด โดยหน่วยงานของทางการต่างๆ ถ้าเราทำวันนี้ให้ถูกต้องก็ไม่ต้องนั่งกังวลว่าวันวาน

    มันจะผิด
4. เป็นนักประสานสิบทิศ อย่ามัวแต่ทำงานจนหลงลืมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีใครเก่งอยู่ได้คนเดียว

    แท้ที่จริงเราจะต้องอาศัยผู้ร่วมงานจากทุกฝ่ายอยู่เสมอ ดังนั้นอย่ามัวแต่ทำงานแต่จงทำคนด้วย เพื่อก่อให้เกิดสภาวะ

    งานก็สำเร็จ ชีวิตก็รื่นรมย์ คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ ใครทำงานได้อย่างนี้คน ๆ นั้นจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จใน

    การทำงาน จนกล่าวได้ว่า งานก็สำเร็จ ชีวิตก็รื่นรมย์
5. ถ้าไม่ได้ทำงานที่เรารักจะมีความสุขหรือเปล่า
          ตอบได้อย่างนี้ ถ้าไม่ได้ทำงานที่เรารัก วิธีคิดที่ดีคือการมองเชิงบวก เวลาเจองานหนักก็ให้บอกตัวเองว่านี้คือ

    การฝึกตัวเอง เวลาเจอปัญหาซับซ้อนก็บอกตัวเองว่ายิ่งปัญหาซับซ้อนเราก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น เวลาเจอเจ้านายที่

    ละเมียดละไมเหลือเกินก็ให้บอกตัวเองว่า นายที่รอบคอบแบบนี้จะฝึกเราให้สมบูรณ์แบบ ฉะนั้นถ้าเรามองเชิงบวก

    ให้เป็นถึงแม้เราจะไม่ได้ทำงานที่เรารักแต่เราก็จะมีความสุขเสมอ ในเมื่อไม่มีสิ่งที่เราชอบ เราก็ควรชอบสิ่งที่เรามี

    เพราะในโลกนี้ไม่มีใครได้อะไรอย่างใจหวัง และจะไม่มีใครพลาดหวังทุกอย่างไป ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะทำมีแง่ดีแง่

    งามอยู่เสมอขอให้เรามองให้เห็น ถ้ามองเห็นเราก็จะเป็นสุขกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
วิธีการมองเห็นทำอย่างไรถึงจะมองเห็นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
          คุณสมบัติที่จะเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุขนั้น มี 2 อย่าง
1. สังเกต สังเกตหาแง่ดีแง่งามของสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำอยู่ให้เจอ เช่น งานของพระอาจารย์เป็นงานที่ต้องเดินทางบ่อยมาก

    ไปเทศน์ไปสอนตลอด หลายคนก็บอกว่าเหนื่อยมากๆ ถ้ามาถามพระอาจารย์จะบอกว่ามันเหนื่อยก็จริงแต่มีความสุข

    มากเพราะได้เดินทางไปทั่วโลก ได้เจอผู้คน ได้พบภูมิประเทศใหม่ ๆ   ได้สานสัมพันธ์ใหม่ ๆ   ตลอดเวลา  ฉะนั้นใน

    ความเหนื่อยเราก็ได้เดินทางท่องไปทั่วทั้งโลก   นี่คือแง่ดีแง่งาม   แต่ส่วนใหญ่คนมักจะมองอยู่จุดเดียวมองแค่ว่าเรา

    กำลังเหนื่อยหนักจริง ๆ เหนื่อยก็แค่ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่ดีเมื่อพิจารณาจริง ๆ แล้วมันมีมากกว่า ให้เราสังเกตอย่างนี้

    รู้จักสังเกต รู้จักพินิจ พิจารณา เราจะเห็นความแตกต่างเสมอ
2. สังเกตแล้วต้องสังกาให้ตั้งคำถามว่า   เราจะสร้างสรรค์งานที่เราทำอยู่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร   ถ้าเราถามว่า ทำไม ทำไม

    ทำไม... ก็จะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาทุกครั้งไป กาลิเลโอก็ดี  นิวตั้นก็ดี  ประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะว่าเขา

    ชอบตั้งคำถามว่าทำไม นั่นแหละเคล็ดลับในการทำงาน
ทำงานที่ชอบแต่เงินเดือนน้อยมองอย่างไรให้เป็นสุข
          ถ้าเงินเดือนน้อยก็ต้องลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของเราทิ้งไป  แทนที่จะไปเรียกร้องเงินเดือนให้สูงขึ้นกว่าจะได้ก็

ช้ามาก ก็ใช้วิธีปรับวิธีในการบริโภคของเราลง ที่จะบริโภคต่างความอยาก ซึ่งเติมอย่างไรก็ไม่เต็มมาบริโภคตามความจำเป็น ดีกว่ามุ่งประโยชน์ใช้สอยอย่างมุ่งประโยชน์ใช้สวย ถ้าเราจับจ่ายใช้สอยในการถือหลักประโยชน์ใช้สวยมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ แต่ถ้าเราถือหลักจับจ่ายใช้สอย คือจำเป็นแค่ไหนก็จับจ่ายใช้สอยแค่นั้น พอกินพอใช้ ถึงแม้ไม่รวยแต่ก็ไม่ถึงขั้นตกต่ำย่ำแย่ แทนที่เราจะเรียกร้องเงินเยอะ ๆ ทำไมเราไม่ลดหรือเปลี่ยนวิธีในการบริโภคของเราแทน บริโภคต่างตัณหาทำให้เรามีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ แต่บริโภคตามปัญญาถึงเงินไม่มากมายอะไรแต่เราก็มีความสุขตามสมควร...
                                                                                    ว.วชิรเมธี ทำงานอย่างไรให้มีความสุข (ไทยรัฐ)