รูปภาพของชฎาพร โฉมประเสริฐ
สิ่งผิดพลาด 15 อย่าง ที่คนเพิ่งหัดถ่ายภาพชอบทำ
โดย ชฎาพร โฉมประเสริฐ - ศุกร์, 31 มีนาคม 2017, 04:42PM
 

สิ่งผิดพลาด 15 อย่าง ที่คนเพิ่งหัดถ่ายภาพชอบทำ

มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะพัฒนาฝีมือตัวเองโดยที่ไม่เคยทำผิดพลาดมาก่อน ถ้าจะให้พูดให้ถูก มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสนุกในการเรียนรู้การถ่ายภาพ หากไม่ได้ผิดพลาดมาก่อน อันที่จริงแล้วอะไรที่คุณทำผิดแหละ มันจะตามมาด้วยการปรับปรุงตัวแบบทันทีเลยละ

นี่เป็นบางสิ่งที่ฉันจำได้เมื่อเริ่มหัดถ่ายรูป บางอย่างคุณอาจทำอยู่ หรือบางทีมันอาจบอกคุณว่าคุณมาไกลแค่ไหนแล้ว

1) ไม่สนใจ White Balance เลย

ไม่รู้ว่าเป็นแค่ฉันหรือเปล่า แต่มันผ่านไปนานมาก กว่าฉันจะรู้ความสำคัญของมันเมื่อเย็นวันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วงฉันได้เข้าไปในป่าแถวๆบ้าน เกิดเปลี่ยน white balance ไปเป็น shade โดยบังเอิญ ถ่ายมาปุ๊ป คุณพระช่วยใบไม้เป็นสีแดงๆส้มๆเต็มไปหมดเลย แต่สุดท้ายฉันก็ค้นพบอีกว่า การถ่าย Raw มา ทำให้เปลี่ยน temperature ของภาพได้อีกด้วย

2) แต่งรูปโคตรหนักมือเลย

ให้ตายเถอะซาร่า ฉันแค่อยากได้รูปทุ่งหญ้าที่แสน อบอุ่น นี่มันเริ่มหลอนแล้วนะเนี่ยฉันคิดว่านี่เป็นสิ่งผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดของช่างภาพมือใหม่เลยก็ว่าได้ มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ฉันเสียใจมากที่สุด บางภาพของฉันถ่ายมาซะดิบดี แต่ต้องมาโดนปู้ยี่ปู้ยำ ด้วยการแต่งภาพแบบหนักมือของฉันเอง แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ฉันคนเดียวแน่ที่เคยทำ

เมื่อคุณเริ่มที่จะแต่งภาพเป็น คุณก็อยากแต่งให้มันไปสุดๆ จนสูญเสียความเป็นธรรมชาติของภาพ บางภาพดูเกินจริง ดูหลอกเอามากๆ (ส่วนตัวแล้วคิดว่า การทำ HDR )

สุดท้ายฉันก็ตระหนักว่า รูปที่ฉันชอบในพอร์ตของคนอื่นส่วนใหญ่นั้นเป็นรูปที่โพรเซสไม่หนักมือจนเกินไป Photoshop เป็นเครื่องมือที่ทำให้ภาพของคุณนั่นดีเท่าที่มันจะดีได้ ไม่ใช่เปลี่ยนมันซะขนาดหนัก

3) กลัวที่จะเพิ่ม ISO

เมื่อฉันรู้ว่า ISO สูงจะทำให้เกิด NOISE ฉันก็หลีกเลี่ยงมัน และครูของฉันก็เคร่งครัดในเรื่องนี้มาก แต่ปัญหาคือ ฉันต้องจบลงกับ ชัตเตอร์สปีด ที่ช้ามากด้วย การถ่ายภาพด้วยมือ(ไม่ใช้ขาตั้ง) ภาพก็เบลอ มันหนักกว่า Noise ซะอีกนะเนี่ย
          ช่างภาพระดับพระกาฬส่วนใหญ่ ยินดีที่จะเพิ่ม ISO มากขึ้น ขอเพียงแต่ภาพไม่เบลอก็พอ ตอนนี้ฉันก็ได้ใช้กด อย่างนึงคือให้ focal length = 1/shutterspeed เช่น ใช้เลนส์ระยะ 35 mm shutter speed อย่างต่ำต้อง 1/30 , 200mm ใช้ shutter speed 1/200 เป็นอย่างต่ำ (ในกรณีที่ไม่มีขาตั้งกล้อง)

4) ไม่เคยล้างเซนเซอร์เลย

5) ไม่ลงทุนที่จะซื้อสายลั่นชัตเตอร์

หลังจากที่ฉันซื้อขาตั้งกล้องมาก่อนหน้านี้ มันวิเศษมากฉันสามารถถ่ายได้อย่างที่ฉันต้องการมากขึ้น มันสะดวกมากเลย มันทำให้ฉันถ่าย long exposures ได้ ทั้ง ชายหาด ทั้งพลุ และ การจราจร

แต่ฉันก็ตะหนักได้ว่า นิ้วที่กดลงปุ่มชัตเตอร์ของฉันมันอาจทำให้ภาพสั่นได้ มันจะลดคุณภาพของการถ่ายlong exposure
          ฉันเลยตั้งเวลาในกล้อง มันได้ผล แต่ไม่ดีพอ เพราะ คุณจะพลาดจังหวะดีๆไปได้ สายลั่นชัตเตอร์จะช่วยคุณได้เยอะเลยทีเดียว

6) เขินเมื่อไปถ่ายในที่สาธารณะ

ฉันรู้สึกเขินๆ กลัวๆ ว่าคนเหล่านั้นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เมื่อฉันหันกล้องไปหาเขา จะโกรธเราไหม เราสังเกตุเห็นนเราไหม สุดท้ายเราพลาดโอกาสดีๆไป การใช้ เลนส์ระยะไกลมากเกิน บางทีก็ไม่เหมาะกับการถ่าย street มากนัก

อย่างนึงที่ช่วยฉันได้ คือไปดูคลิปใน Youtube ของ Steve McCurry

ส่วนมาก Steve McCurry จะไปทำความรู้จักกับคนที่เขาถ่าย เขาเคารพคนที่เขาถ่าย และคนส่วนมากก็ยินดีให้เขาถ่าย

7) ไม่ได้ Backup รูปที่ถ่ายไว้

มันเป็นหนึ่งในบทเรียนที่ต้องจ่ายด้วยราคาที่แพง  ฉันเข้าคอร์สถ่ายรูป 8 เดือน แล้วรูปครึ่งหนึ่งของฉันก็หายไปอย่างลึกลับ และฉันต้องส่งรูป พวกนั้นในอีกสองอาทิตย์ ฉันของขึ้นมาก กับโน๊ตบุ๊คเก่าๆของฉัน ฉันต้องใช้เวลาอีกสองอาทิตย์ ในการถ่ายใหม่ สุดท้ายก็ผ่านมันมาได้ หลังจากนั้นฉันซื้อ Hard-drive มา backup และซื้อ memory card มาจำนวนมาก ฉันจะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก

8) ทำตามกฎจนเกินไป

มีกฎมากมายในการถ่ายรูป เยอะแยะไปหมด ฉันพยายามดูดซับทุกอย่างที่เรียนมาและมาใช้กับทุกรูป
บางครั้ง ความสนุกในการถ่ายภาพคือการได้ถ่ายอะไรที่คุณเห็นในแบบแนวทางของคุณเอง อย่างที่ Henri Cartier-Bresson กล่าวไว้ว่า

ในการถ่ายภาพนั้น กฏเกณฑ์ในการจัดการมุมมองต่างๆนั้น มันอาจปิดกั้นสัญชาตญาณที่ดีของเราก็ได้ ดังนั้น หากคุณเจออะไรเจ๋งๆในมุมที่คิดว่าดี ก็จงถ่ายมันซะ

 9) เมื่อใช้แต่การวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพในที่ต่างๆกัน

หิน และไม้ป้องกันชายฝั่งเหล่านั้นสวยงามมาก แต่ดูดวงอาทิตย์ซิ มันดูไม่ค่อยเจ๋งเลย

การวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ คือเอาแสงที่ผ่านช่องมองภาพมาเฉลี่ย หลายสถานการณ์ก็เหมาะสม เช่นต้องการความรวดเร็ว หรือต้องรีบเก็บช๊อตในแต่ละโมเมนต์นั้น แต่ จะใช้ทุกสถานการณ์นั้นไม่ดีแน่

การวัดแสงแบบอื่นๆ เฉลี่ยหนักกลาง วัดแสงเฉพาะจุดนั้นมันก็มีเหตุผลในการมีอยู่ของมัน  ตัวอย่างเช่น ถ่ายคนที่มีแสงจากด้านหลังค่อนข้างมาก หรือ ถ้าฉาก ที่มี contrast สูง เมื่อแก้ปัญหาตรงนี้ได้แล้ว ฉันก็ได้ภาพที่เสียน้อยกว่าเดิม

10) ใช้กระเป๋าสะพายข้าง

ฉันใช้กระเป๋าสะพายข้าง เพื่อใส่ กล้องและเลนส์อีกสองตัว แต่เมื่อไปออกทริปถ่ายรูปต้องเดินทางนานๆ น้ำหนักอุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้ไหล่ฉันเจ็บมากๆ ฉันประหยัดเงิน เพื่อที่จะซื้อเลนส์ตัวใหม่ แต่มันเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเลย เมื่อต้องแลกกับสุขภาพ ฉันเลยตัดสินใจซื้อกระเป๋าเป้ใส่กล้องดีๆ มันทำให้อาการดีขึ้นมาก

11) ใช้โหมด Manual ตลอด

อันนี้ดูเหมือนเป็นรายการ ความผิดพลาด ที่แปลกๆ ซะหน่อย เพราะ manual mode มันให้คุณควบคุมได้มากที่สุด หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับ aperture, shutter speed และ ISO ฉันลืมโหมดอื่นไปเลย ใช้แต่ manual

แต่เมื่อคุณต้องแนว กีฬา, สัตว์ป่า, สารคดี มันต้องการการจับภาพที่รวดเร็ว มันจะดีกว่าถ้าใช้โหมด aperture priority หรือ shutter priority ปัจจุบัน ฉันชอบใช้ aperture priority เพราะมันยอมให้ฉันควบคุมระยะชัด ได้ มันเร็วกว่า โหมด manual มาก

 

 

 12) ถ่ายหลาย shot เกินไป

คุณคงได้ยินคำที่คุ้นหูมาก นั่นคือ ทุกวันนี้เขาใช้ กล้องดิจิตอลแล้วไม่ใช่กล้องฟิลม์ กดๆ ไปเถอะ แต่ผ่านมาระยะนึง ฉันก็สงสัยว่าความรู้สึกดีๆในการกดรูปสวยๆ ของฉันอยู่ไหน ในเมื่อฉันถ่ายมา 250 รูปในมุมที่ต่างกัน แล้วสุดท้ายก็เลือกมาแค่รูปเดียว

มันทำให้ฉันเรียนรู้ที่จะ มองการมองและรับรู้ความสวยงามในที่นั้นๆ ก่อนที่จะถ่ายมันออกมา มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพัฒนาขึ้นไปได้มาก

การถ่ายหลายๆช๊อต โดยไม่ได้คิด และ มอง ซะก่อนนั้น นั้นยังมีข้อเสียอีกมาก เช่น แบต หมดเร็ว หน่วยความจำเต็มเร็ว ต้องมานั่งเลือกภาพในการแต่งภาพทีหลังอีกจำนวนมากเกินไปด้วย

13) ถ่ายสิ่งที่ไม่ได้น่าสนใจเลย แต่คิดว่ามันดูดี

การถ่ายรูปมันไม่เหมือนกับการวาดรูป คุณอาจมองเห็นสิ่งต่างๆ แล้วมโนขึ้นมาว่ามันสวยจังเลย

คุณมีสิทธิ์ที่จะจินตนาการเหล่านั้น แต่ความจริงก็คือความจริง คุณไม่สามารถเปลี่ยนน้ำเปล่าให้เป็นไวน์ได้หรอก

ฉันเคยคิดกับตัวเองว่าฉันรู้การควบคุมกล้องอย่างดี ฉันต้องได้รูปสวยแน่ๆ แต่ฉันก็ยังคงถ่ายรูปขยะๆ รูปน่าเบื่อ ก่อนที่จะเข้าใจว่าการหา subject ที่จะถ่ายนั้นสำคัญอย่างไร

14) ไม่เคยวางแผนก่อนกดชัตเตอร์เลย

ฉันไม่ได้พูดถึงว่าต้องวางแผนให้รอบคอบทุกกระเบียดนิ้ว วางแผนทุกขั้นตอนให้เป๊ะๆ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คงไม่มีใครใช้เวลาขนาดนั้น

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวอย่างน้อยควร เช็คสภาพอากาศ เช็คแบตเตอรรี่ พก memory card อย่างน้อย สองตัว เช็คอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ND Filter , Remote เสื้อผ้าสำรอง เช่น ไปถ่ายชายหาด อาจต้องพกถุงเท้าสำรอง อย่างน้อยพวกนี้ก็เป็นการเตรียมตัวที่ดี หลังจากนั้นคุณก็คิดแผนว่าจะถ่าย อะไรยังไงต่อไป

15) ถ่ายเพื่อนและครอบครัวน้อยเกินไป

คุณคงได้ยินบ่อยๆว่า ให้ถ่ายสิ่งที่น่าสนใจจริงๆ ซึ่งหลายคนอาจละเลยที่จะถ่ายเพื่อนหรือครอบครัว
รีบถ่ายซะ ขณะที่คุณยังมีโอกาส เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะได้ไม่ต้องมาเสียดายทีหลัง

Credits : photography-art-cafe