รูปภาพของกิตติศักดิ์ เดินสันเทียะ
วิธีรับมือพวกมิจฉาชีพทางโทรศัพท์
โดย กิตติศักดิ์ เดินสันเทียะ - จันทร์, 3 เมษายน 2017, 01:51PM
 

สังคมสมัยนี้ใช้เทคโนโลยีเขามีส่วนในชีวิตอย่างมากอย่างเช่น โทรศัพท์ ภัยใกล้ตัวที่คุณเองก็อาจจะยังไม่รู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณควรระวัง เพราะสามารถทำให้คุณเสียเงินเสียทองเป็นจำนวนมากได้ วิธีรับมือพวกมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ในยุคปัจจุบันที่มีเครื่องโทรศัพท์ติดตามตัวกันทุกคน ทำให้อะไรๆ ก็ดูง่ายไปเสียหมด ไม่ว่าจะสั่งของ หรือชอปปิ้ง ทางโทรศัพท์ก็สามารถสั่งกันได้ง่ายๆ ...จึงทำให้พวกมิจฉาชีพที่ชอบหาโอกาสจากสิ่งเหล่านี้เขามามีโอกาสในการนำเงินของคุณไปจากตัวคุณได้ง่ายๆ แต่ถ้าคุณมีสติในการรับโทศัพท์จากเบอร์แปลกปลอมที่โทรเข้ามาก็จะทำให้คุณนั้นรอดปลอดภัย แต่ถ้าคุณไม่ได้สงสัยกับพวกมิจฉาชีพเหล่านี้คุณก็จะต้องเสียเงินเสียทองไปเป็นจำนวนมาก ลองมาหาวิธีในการรับมือกับพวกมิจฉาชีพเหล่านี้กัน

4 วีธีรับมือมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ เพื่อให้ทุกคนสามารถ ตั้งรับเหล่ามิจฉาชีพพวกนี้ได้อย่างมีสติ

1. ตั้งสติก่อนเสียสตางค์

แกงค์มิจฉาชีพส่วนมาก มักเล่นกับความโลภ หรือความกลัวของเหยื่อ เช่น คุณเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเงินสดจำนวน ...จากการจับฉลากของเรา หรือ ทางตำรวจสืบพบว่าบัญชีของคุณเป็นบัญชีที่ผิดกฏหมาย ฯลฯ ซึ่งทำให้ผู้รับมีอาการดีใจ หรือตื่นตกใจ จนไม่ทันคิดถึงความเป็นไปได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมีสติ ไม่ไหลไปกับสิ่งที่ปลายสายกำลังพูด ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใครก็ตามก่อนรับโทรศัพท์ให้หายใจเข้าลึกๆ 2-3 ครั้งก่อน อย่ารีบรับในทันที ทั้งนี้เพื่อฝึกเรียกสติให้เป็นนิสัย และเมื่อใดที่ได้รับโทรศัพท์ประเภทนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อน ที่สำคัญคืออย่าได้พาตัวเฉียดกรายไปใกล้ตู้เอทีเอ็มเด็ดขาด !

2. ทำตัวเป็นนักสืบ(ชั่วคราว)

ระหว่างที่คุยโทรศัพท์กับปลายสายที่เราไม่แน่ใจว่าเป็นมิจฉาชีพหรือเปล่า ให้ลองทำตัวเป็น คนช่างสังเกต' ดูว่า บุคคลปลายสาย มีลักษณะดังนี้ หรือไม่ไม่เปิดโอกาสให้เรามีสติพอที่จะคิดหรือเปล่า เช่น /คุณต้องรีบโอนเงินตอนนี้ ไม่งั้นจะเสียสิทธิ์ /คุณต้องเสียภาษีภายในเย็นวันนี้ ไม่งั้นถูกดำเนินคดี /ห้ามบอกคนอื่นเพราะเป็นความลับของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯมีคำพูดจูงใจน่าคล้อยตาม แต่มีข้อแม้ที่ชวนสับสน เช่น คุณได้รับรางวัลมูลค่า 1 แสนบาท แต่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายภายในตอนนี้ ส่วนของรางวัลจะตามมาทีหลังเมื่อใดที่เราเริ่มตั้งข้อสงสัยหรือถามข้อมูลกลับมากๆ ปลายสายจะเริ่มบอกปัด หรือรีบวางสาย และจะไม่มีการ ทิ้งเบอร์ติดต่อกลับอย่างเด็ดขาด (ยกเว้นในกรณีที่เหยื่อหลงเชื่อ มิจฉาชีพก็จะทิ้งเบอร์ไว้เพื่อให้เหยื่อติดต่อกลับ ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งส่วนมาก มักเป็นเบอร์พวกเดียวกัน!)

เจ้าหน้าที่(ตัวปลอม) มักหลอกถามเหยื่อในหัวข้อสำคัญๆ ซึ่งหากคุณให้ข้อมูลเพียงบางส่วน ก็สามารถทำให้คุณตกเป็นเหยื่อได้แล้ว เช่นชิ่อ- นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด เลขบัตรประชาชน

หมายเลขโทรศัพท์/ หมายเลขบัตรเครดิต หรือ รหัสหลังบัตร 3 ตัว ซึ่งรหัสนี้สามารถนำไปซื้อสินค้า online ได้ทันทีกรณีที่ไม่มีบัตรเครดิตธนาคาร ปลายสายจะแจ้งว่า คุณอาจถูกปลอมเอกสาร ดังนั้นคุณจะต้อง fax เอกสารบัตรประชาชน หรือเอกสารสำคัญอื่นๆ เช่นหน้าสมุดบัญชี เพื่อแจ้งขอคืนเงิน หรือบางครั้งก็จะขอให้คุณไปกดรหัสที่ตู้ ATM แต่รหัสที่บอกกลับเป็นรหัสที่ใช้ในการโอนเงินให้เขาแทน !!ที่อยู่เพื่อจัดส่งเอกสาร ที่อยู่ตามใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต และวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

3. (หลอก )ถามข้อมูลกลับ

หากคุณเริ่มเอะใจ แต่ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า ปลายสายเป็นมิจฉาชีพ100 เปอร์เซนต์ ขอแนะนำให้คุณหลอกถามข้อมูลของฝ่ายมิจฉาชีพกลับบ้าง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตอนนี้ใครเป็น ประธานของธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ เอาให้รู้กันไปเลยว่า ใครแน่กว่าใคร !วิธีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ในการติดตามจับคนร้ายกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เริ่มจาก หมายเลขบัญชีธนาคาร.. เพราะ ข้อมูลอื่น ที่คนร้ายให้มาจะไม่มีเรื่องจริงเลย ยกเว้น หมายเลขบัญชีอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อปลายสายเริ่มหลอกให้ ไป โอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ให้คุณเตรียมปากกา จดหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคาร ชื่อธนาคาร จากนั้นคุณก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งความกับสน.ต่างๆได้ทันที

4. ติดต่อไปยังแหล่งที่มา(ของจริง!)

กลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ส่วนมาก มักอ้างบริษัท ห้างร้าน ธนาคาร สถาบัน ที่เป็นที่รู้จักและ น่าเชื่อถือ หรืออ้างชื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงสังคม ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังโดนหลอกหรือไม่ ให้ลองติดต่อสอบถามไปยังแหล่งที่ปลายสายอ้างถึง โดยอาจเสิร์ชดูหมายเลขโทรศัพท์ในอินเตอร์เนต หรือสอบถามจาก 1113ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 0-2283-5353กระทรวงพาณิชย์ 02-507-8000สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 022514730 หรือ191

บทความของ นายกิตติศักดิ์ เดินสันเทียะ

 

ที่มาhttp://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3497&sub_id=95&ref_main_id=2