รูปภาพของปรีย์นันท์ ลองจำนงค์
ประวัติข้าวหอมมะลิ
โดย ปรีย์นันท์ ลองจำนงค์ - อังคาร, 4 เมษายน 2017, 09:23AM
 

ข้าวหอมมะลิ นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิ และส่งออกมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ ที่ปลูกในพื้นที่นา น้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ 15 เท่านั้น ในปี 2493 – 2494 มีการออกไปเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคตะวันออก ในอำเภอบางคล้า รวงข้าวจำนวน 199 รวง เป็นข้าวที่มีความหอม และเรียกกันว่าข้าวหอมมะลิ ทั้งหมดถูกเก็บ และระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ตามลำดับ จากนั้นจึงส่งไปปลูกเพื่อคัดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงจังหวัดลพบุรีต่อมาในปี 2500 พันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ผ่านการคัดเป็นพันธุ์บริสุทธิ์ แล้วถูกนำไปปลูกทดลอง และทดสอบในพื้นที่ปลูกข้าวภาคต่าง ๆ พบว่า ในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิ ที่เป็นรวงหมายเลขที่ 105(หนึ่งร้อยห้า) เป็นรวงที่ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ดินทรายภาคอีสานเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์ ความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บ

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เบ่งบานอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นเวลาหลายปีแต่เมื่อถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม โดยภาครัฐสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่ มีการประชาสัมพันธ์ จนกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ขยายผลได้ ในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นที่รู้จักกันไปทั่ว พื้นที่ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้รับความสนใจมาเป็นเวลานาน ว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมาก เพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะปรากฏว่าดินจะมีความเค็ม สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ ธรรมชาติในภาคอีสานนี้ ถ้าบอกว่า พื้นที่ฝนแล้งที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ภาคอีสาน และพื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมในฤดูก็อยู่ในภาคอีสานอีกเช่นกัน

ข้าวหอมมะลิในปัจจุบันที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15 ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวหอมมะลิราคาตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เนื่องจาก ข้าวพันธุ์ ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 80-100 ถัง/ไร่ ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลาง ขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 นั้นจะให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถัง/ไร่ และปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้น ทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนา เน้นการปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ

 

อ้างอิง : ข้อมูลจาก

http://www.b-herbs.com/index.php?option=com_content&view=article&id=117&Itemid=183&lang=th

บทความ  โดย    นางสาวปรีย์นันท์    ลองจำนงค์