รูปภาพของละเอียด พุ่มพู
ประหยัดพลังงานในโรงเรียน
โดย ละเอียด พุ่มพู - อังคาร, 4 เมษายน 2017, 02:24PM
 

โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านที่สองของเรา หากนับเวลาเป็นชั่วโมงอย่างน้อยหนึ่งในสามของแต่ละวันส่วนใหญ่ของเราอยู่ที่โรงเรียน และเวลาอยู่บ้านอีกสองส่วนก็ใช้สำหรับการนอนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเวลาที่เราทำงาน ต้องใช่พลังานส่วนใหญ่เราจึงอยู่โรงเรียน เพราะฉะนั้นเราต้องรักโรงเรียนให้เหมือนกับรักบ้านของเรา  เราต้องช่วยกันสอดส่องดูแลความเรียบร้อย โดยถือเป็นหน้าที่อย่ามองว่าไม่ใช่หน้าที่ ก่อนกลับบ้านให้หันไปมองรอบๆ ว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดไม่ได้ปิดบ้าง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน ไฟส่องสว่างดวงไหนไม่ปิดหรือเปิดโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์  ก๊อกยังมีน้ำไหลอยู่หรือไม่ หรือปิดก็กอน้ำสนิทหรือไม่ หากเรายังไม่ดำเนินการให้ดำเนินการปิดให้เรียบร้อย เป็นการฝึกหรือปลูกฝังนิสัยประหยัดให้เป็นนิสัยแก่ตัวเราเอง การประหยัดไม่ใช่คิดประหยัดแค่พลังงานเท่านั้น ต้องช่วยกันประหยัดทรัพยากรในทุกอย่างของโรงเรียนด้วย  เช่น เครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ ของโรงเรียนของเราด้วย อย่าคิดว่าไม่ใช่เงินของเรา เรามีวิธีประหยัดให้กับโรงเรียนของเรามากมาย และเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้ และสามารถนำไปใช้กับที่ไหนก็ได้รวมทั้งบ้านเราด้วย และนำไปสอนนักเรียนเกี่ยวกับการประหยัดได้ด้วย ดังนี้
                    - ถ้าใช้ลิฟต์ให้กดลิฟต์เพียงครั้งเดียว
                             - เดินขึ้นบันไดแทนขึ้นลิฟต์ ถ้าขึ้นเพียง 2 ชั้น
                             - ปิดไฟทุกครั้งเมื่อเลิกใช้
                             - ปิดไฟตอนพักกลางวัน ถ้าไม่มีคนอยู่
                             - ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อกลับบ้าน
                             - ไม่นำของร้อนแช่ตู้เย็น
                             - ดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้งเมื่อเลิกใช้

- ไม่ต้มน้ำเสียบไฟฟ้าตลอดเวลา

- เลื่อนตู้เย็นห่างฝาผนัง 15 ซม. พร้อมทั้งดูแลอย่าให้น้ำแข็งเกาะข้างช่องน้ำเข็ง
          - ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 - 26 องศาเซลเซียส
          - หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ
          - กำหนดเปิดแอร์ช้าลง และปิดแอร์เร็วขึ้น
          - ไม่ใช้โทรศัพท์ของโรงเรียนอย่างฟุ่มเฟือย
          - ไม่ควรชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือส่วนตัวในโรงเรียน
          - โต๊ะทำงานที่มีแสงสว่างเพียงพอไม่ควรเปิดไฟ ควรใช้แสงธรรมชาติ
          - ถ้าใช้ไฟที่เป็นแผง โดยในแผงมีหลายหลอดควรเอาหลอดออกบ้าง
          - ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่า โดยนำมารีไซเคิล
          - พริ๊นงานเท่าที่จำเป็น
          - ตรวจสอบงานให้เรียบร้อยก่อนพริ๊น
          - ไม่เล่นเกมออนไลน์ หรือ แชตออนไลน์

จากที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่พอสำหรับการประหยัดพลังงานยังมีแนวทางการประหยัดพลังงาน ที่ต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง เพราะทุกวันนี้ เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากมาย เช่น ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบน้ำประปา และอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ดังนั้นเราทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานต่างๆ ด้วย ที่จะกล่าวเป็นอีกวิธี หรือแนวทางหนึ่งที่เพิ่มเติมจากที่กล่าวมา เราก็สามารถเลือก และสร้างความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังานได้เช่นกัน

 

ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

1. ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกราการใช้งานหรือหมดความจำเป็นต้องใช้งาน การปิดสวิตซ์ไฟบ่อยๆไม่ทำให้เปลืองไฟฟ้าแต่อย่างใด

2. เปิดม่านหรือหน้าต่างหรือติดตั้งกระเบื้องโปร่งแสงเพื่อรับแสงสว่างจาก ธรรมชาติ แทนการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ

3. กำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดไฟให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ใช้งาน

4. จัดระบบสวิตซ์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ปรับ เป็นสวิตซ์เปิดปิดแบบแยกแถว แยกดวง เป็นต้น

5. ติดสติ๊กเกอร์บอกตำแหน่งไว้ที่สวิตซ์เปิดปิดหลอดไฟเพื่อเปิดใช้งานได้อย่าง ถูกต้อง

6. ใช้อุปกรณ์และหลอดไฟชนิดประหยัดพลังงานที่ได้รับ การรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดนีออน) แบบผอม แทน หลอดแบบธรรมดา (ประหยัดไฟฟ้าร้อยละ 30) หรือหลอด LED

7. ใช้หลอดคอมแพ็กฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ) แทนหลอดไส้ (ประหยัด ไฟฟ้าร้อยละ 75) ใช้โคมสะท้อนแสงแบบประสิทธิภาพสูง และใช้บัลลาสต์ อิเล็กทรอนิกส์แทนบัลลาสต์แบบธรรมดา

8. ทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพราะฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ จะทำให้แสงสว่างน้อยลงและอาจท าให้ต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้ได้แสง สว่างเท่าเดิม

9. เมื่อพบว่าหลอดไฟ สายไฟ ชำรุดหรือขาหลอดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำควรเปลี่ยนทันทีเพื่อป้องกันอัคคีภัย เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร

10. รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แสงสว่างอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ด นิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น อย่ำลืมปิดไฟทุกครั้ง เมื่อไม่ใช้งำนนะครับ

 

 ระบบเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศ

1. ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีเมื่อไม่ต้องการใช้งาน และเมื่อต้องการปิด เครื่องใหม่อีกครั้ง ควรอย่างน้อย 15 นาที

2. ปิดเครื่องปรับอากาศทันทีหากไม่อยู่ในห้องนานกว่า 1 ชั่วโมง และปิด ก่อนเวลาเลิกงานเนื่องจากยังคงมีความเย็น อยู่จนถึงเวลาเลิกงาน

3. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ต่ำกว่าที่ 25 องศาเซลเซียส เนื่องจาก หากตั้งอุณหภูมิให้สูงขึ้นทุก 1 องศา จะประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

4. แยกสวิตซ์ปิดเปิดเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศออกจากกัน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศไว้ตลอดเวลาที่ใช้ เครื่องปรับอากาศ

5. เปิดหน้าต่างให้ลมพัดเข้ามาในห้องช่วงที่อากาศไม่ร้อนแทนการเปิด เครื่องปรับอากาศ จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นการถ่ายเท อากาศอีกด้วย

6. ตรวจวัดประสิทธิภาพการไหลเวียนหรือการถ่ายเทของอากาศในห้องปรับ อากาศหากมีการไหลเวียนของอากาศไม่เพียงพอให้แก้ไขโดยติดตั้งพัดลม ระบายอากาศ โดยขนาดของพัดลมระบายอากาศต้องมีความเหมาะสมกับ ขนาดของห้อง

7. ไม่นำต้นไม้มาปลูกในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะต้นไม้จะคายไอน้ำทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้น

8. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องถ่าย เอกสาร เป็นต้น ออกไว้นอกห้องปรับอากาศโดยเฉพาะเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะปล่อยความร้อนออกสู่ห้องปรับอากาศทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้า แล้วผงหมึกจากเครื่องจะฟุ้งกระจายอยู่ในห้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายของผู้ปฏิบัติงานบริเวณนั้น

9. ตรวจสอบและอุดรอยรั่วที่ผนัง ฝ้าเพดาน ประตู ช่องแสง เพื่อป้องกัน ความเย็นรั่วไหลจากห้องปรับอากาศ

10. ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่เสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จะ ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ ร้อยละ 5-7

11. กำหนดตารางการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และมีคู่มือปฏิบัติงาน

12. รณรงค์สร้างจิตส านึกในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการใช้ เครื่องปรับอากาศอย่างจริงจังและต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติด สติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ด นิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น

 

ระบบอุปกรณ์สำนักงานและอุปกรณ์อื่น

1. ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์เมื่อไม่มีการใช้งานนานเกินกว่า 15 นาที หรือตั้ง โปรแกรมพักหน้าจอ

2. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เมื่อไม่มีการใช้งานติดต่อกันนาน กว่า 1 ชั่วโมง และปิดเครื่องทุกครั้งหลังเลิกการใช้งานพร้อมทั้งถอดปลั๊ก ออก

3. เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน เพราะใช้กำลังไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงานและควรใช้จอภาพขนาดที่ไม่ใหญ่ เกินไป เช่น จอภาพ ขนาด 14 นิ้ว จะใช้พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25

4. ตรวจแก้ไขเอกสารบนจอภาพแทนการตรวจแก้ไขบนเอกสารที่พิมพ์จาก เครื่องพิมพ์ จะช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงาน กระดาษ หมึกพิมพ์ และ การสึกหรอของเครื่องพิมพ์ได้มาก

5. ติดตั้งเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องพิมพ์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ ร่วมกันจะช่วยลดความสิ้นเปลืองทั้งด้านพลังงานและการซ่อมบำรุง

6. ถ่ายเอกสารแบบสองหน้าเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ

7. ปิดเครื่องถ่ายเอกสารทุกครั้งหลังเลิกงานพร้อมถอดปลั๊กออก

8. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในส านักงานเมื่อเลิกใช้งาน หรือเมื่อไม่มีความต้องการใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง

9. ปฏิบัติตามค าแนะน าการใช้อย่างเคร่งครัดเพื่อประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

10. มีแผนการตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. ใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว

12. รณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์สำนักงาน อย่างจริงจังและ ต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ติดสติ๊กเกอร์ประชาสัมพันธ์ จัดบอร์ด นิทรรศการ เสียงตามสาย หรือให้ความรู้โดยการจัดอบรม เป็นต้น ควรใช้จอภำพขนำดที่ไม่ใหญ่เกินไป เช่น จอภาพ ขนาด 14 นิ้ว จะใช้ พลังงานน้อยกว่าจอภาพขนาด 17 นิ้ว ถึงร้อยละ 25 นะ

สิ่งที่กล่าวมาเป็นแนวทางการประหยัดพลังานที่ทั้งบุคลากร และผู้บริหารต้องนำไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งปรับอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆที่จะเอื้อต่อการให้บุคลากรได้ร่วมประหยัดพลังงานรวมทั้งผู้บริหารต้องเป็นต้นแบบ และต้องคอยกำกับและติดตามการประหยัดพลังงานของบุคลากรอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่องและจริงจัง