ปัจจุบันภาษาอังกฤษ ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร และจะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้มีโรงเรียนหลายแห่งจัดให้มีโครงการสองภาษา หรือ โครงการ English Program ที่จัดการเรียนการสอนโดยครูเจ้าของภาษาหรือครูชาวต่างประเทศเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าสังเกตการจัดการเรียนการสอนของครูชาวต่างประเทศในทุกระดับชั้น ทำให้ผู้เขียนสังเกตว่า ในระหว่างที่นักเรียนสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างประเทศนั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะใช้คำหรือประโยคภาษาอังกฤษที่ผิดอยู่บ่อย ๆ ผู้เขียนจึงได้พยายามบันทึกคำหรือประโยคเหล่านั้นลงในสมุด และถามครูเจ้าของภาษาว่า จริง ๆ แล้วนักเรียนควรจะพูดว่าอย่างไร ซึ่งคำหรือประโยคที่นักเรียนมักพูดผิดบ่อย ๆ มีดังนี้
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “ฉันไม่มีดินสอ” นักเรียนมักพูดว่า “I no have pencil.”
นักเรียนควรพูดว่า “I don’t have a pencil.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “คุณครูครับ ผมขออนุญาตเข้าห้องน้ำ” นักเรียนมักพูดว่า “Teacher, I go to toilet.”
นักเรียนควรพูดว่า “May I go to the toilet, please?”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “ฉันขอโทษที่มาสาย” นักเรียนมักพูดว่า “I sorry I late.”
นักเรียนควรพูดว่า “I’m sorry to be late.” หรือ “I apologize for being late”
** เมื่อครูถามนักเรียนว่า “Why were you absent yesterday?” นักเรียนมักตอบว่า “I sick.” หรือ “I go to Bangkok with my mother.”
นักเรียนควรพูดว่า “I was sick.” หรือ “I went to Bangkok with my mother.”
** เมื่อครูถามนักเรียนว่า “Where did you go on Songkran holidays?” นักเรียนมักพูดว่า “No, I stay home.”
นักเรียนควรพูดว่า “I didn’t go anywhere. I stayed at home.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “ฉันเคยไปเชียงใหม่” นักเรียนมักพูดว่า “I ever go to Chiangmai.”
นักเรียนควรพูดว่า “I have ever been to Chiangmai.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “เวลาว่าง ฉันชอบเล่นเฟซบุ้ค” นักเรียนมักพูดว่า “When I free, I like to play Facebook.”
นักเรียนควรพูดว่า “I like to spend my free time on Facebook.” หรือ “I like to play on Facebook when I’m free.”
** เมื่อนักเรียนต้องการบอกเพื่อนว่า “หยุดพูด” นักเรียนมักพูดว่า “Stop your mouth!”
นักเรียนควรพูดว่า “Be quiet!”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “คุณครูอย่าบังกระดาน ผมมองไม่เห็นครับ” นักเรียนมักพูดว่า Teacher, please don’t hide the board. I don’t see.
นักเรียนควรพูดว่า “Excuse me, teacher. I can’t see the board.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “คุณครูครับ ผมร้อนมาก เปิดเครื่องปรับอากาศได้ไหมครับ” นักเรียนมักพูดว่า “Teacher, I’m very hot. Can you open the air-con?
นักเรียนควรพูดว่า “It’s very hot. Could you please turn on the air-con?
** เมื่อนักเรียนต้องการถามคุณครูว่า “คุณมาจากประเทศอะไร” นักเรียนมักพูดว่า “Where you come from?”
นักเรียนควรพูดว่า “Where do you come from?” หรือ “Where are you from?”
** เมื่อนักเรียนต้องการถามคุณครูว่า “คุณมีสัญชาติอะไร” นักเรียนมักพูดว่า “What is your country?”
นักเรียนควรพูดว่า “What is your nationality?
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “เธอเป็นคนทันสมัยตามแฟชั่น” นักเรียนมักพูดว่า “She’s in trend.”
นักเรียนควรพูดว่า “She’s trendy.” หรือ “She’s fashionable.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “เขาพูดเกินจริง” นักเรียนมักพูดว่า “He is over.”
นักเรียนควรพูดว่า “He is exaggerating.”
** เมื่อคุณครูพูดว่า “Thank you” นักเรียนมักพูดว่า “Never mind” หรือ นิ่งเฉย ไม่พูดอะไร
นักเรียนควรพูดว่า “You’re welcome.” หรือ “My pleasure”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “เหมือนกัน” นักเรียนมักพูดว่า “Same same”
นักเรียนควรพูดว่า “It’s the same.” หรือ “Same thing.”
** เมื่อนักเรียนต้องการพูดว่า “ฉันชอบเล่นคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ” นักเรียนมักพูดว่า “I like to play the computer. หรือ “I like to play my phone.”
นักเรียนควรพูดว่า “I like to play on the computer.” หรือ “I like to play on my phone /cell phone / mobile phone.”
ประโยคเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้จากการสังเกตการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับครูชาวต่างประเทศ จริง ๆ แล้ว คำหรือประโยคที่นักเรียนใช้ผิดข้างต้น เป็นคำที่คนไทยหลาย ๆ คน ในปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่ แม้กระทั่งตัวผู้เขียนเอง ก็ยังเคยใช้ ซึ่งสาเหตุที่นักเรียนนำคำหรือประโยคผิด ๆ เหล่านี้มาใช้ อาจเป็นเพราะเคยได้ยินได้ฟังต่อ ๆ กันมา โดยไม่รู้ว่ามันผิด หรือไม่ควรใช้ หรืออาจเกิดจากการแปลมาจากภาษาไทย ตรง ๆ คำต่อคำ ซึ่งทำให้การสื่อความหมายนั้นผิดเพี้ยน ขาดอรรถรส หรือไม่สุภาพ ดังนั้น การพัฒนาตนเองด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ จึงเป็นเรื่องที่นักเรียนควรให้ความสนใจ และควรเรียนรู้ที่จะใช้ให้ถูกต้อง หมั่นพูดคุยกับครูชาวต่างประเทศบ่อย ๆ หมั่นสังเกตและจดจำ เมื่อรู้ว่าผิดต้องแก้ไข ทั้งนี้ เมื่อนักเรียนใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องแล้ว คำหรือประโยคที่เคยใช้ผิดกันบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ หมดไปในที่สุด ซึ่งจะทำให้การสื่อสารของคนไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง เข้าใจตรงกันทั้งผู้ฟังและผู้พูด และท้ายที่สุดคนไทยก็จะกล้าใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ