รูปภาพของวิไลพร อินทร์นอก
พัฒนา ทักษะการอ่าน อย่างจริงจัง จะช่วยให้เราเข้าใจหนังสือที่มีเนื้อหายากๆ ได้
โดย วิไลพร อินทร์นอก - พฤหัสบดี, 4 เมษายน 2019, 09:29AM
 

พัฒนา ทักษะการอ่าน อย่างจริงจัง จะช่วยให้เราเข้าใจหนังสือที่มีเนื้อหายากๆ ได้

   บทความโดย มิสวิไลพร ทวยจัด

 เราคงชอบที่จะอ่านหนังสือสบายๆ อ่านแล้วเพลิดเพลิน แต่เวลาที่เราต้องอ่านบทความงานวิจัยหรือหนังสือที่ไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจ เราต้องฝืนทนอ่านมันให้จบ ซึ่งมันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนี้ มันมีวิธีที่จะทำให้เราอ่านหนังสือพวกนั้นได้ง่ายและเร็วขึ้น หนังสือ How to read a book จะช่วยให้เราอ่านหนังสือได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียนหรือนิยายเล่มหนา

บันทึกการอ่าน ข้อคิดดีๆ

1. เรียนรู้การฝึกทักษะการอ่าน

2. รู้จักระดับของการอ่าน การอ่านขั้นพื้นฐาน อ่านเพื่อตรวจสอบ อ่านเพื่อวิเคราะห์ และอ่านเพื่อเปรียบเทียบ

3. เวลาอ่านหนังสือ เราจะต้องตั้งใจอ่าน มีสมาธิในการอ่าน จะได้เข้าใจเนื้อหาจากหนังสือ

4. การอ่านเพื่อตรวจสอบ อ่านแบบผ่านๆ เพื่อให้รู้ว่าควรซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่

5. การอ่านเพื่อวิเคราะห์ เราต้องอ่านและเข้าใจเนื้อหาให้ละเอียด

6. เราควรวิจารณ์หนังสือด้วยความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่โน้มเอียง ไม่เข้าข้าง เราไม่ควรวิจารณ์หนังสือถ้าเรายังไม่เข้าใจสิ่งที่คนเขียนต้องการจะสื่อ

7. การอ่านเพื่อเปรียบเทียบ เป็นการอ่านข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานหรือบทความที่เราจะเขียน

8. การฝึกทักษะการอ่าน จะช่วยให้เราเข้าใจหนังสือที่มีเนื้อหายากๆ ได้ 

ทักษะการอ่าน
 การจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการอ่านหนังสือสักเล่ม เราต้องอ่านอย่างจริงจังตั้งใจและมีทักษะการอ่านเวลาอ่านนิยาย เวลาที่เราอ่านหนังสือที่เราชอบ บางทีเราจะหลุดเข้าไปในโลกของนิยาย ทำให้เราเพลินจนไม่รู้ตัว นั่นเพราะว่าเราอ่านหนังสือด้วยความสนุกเพลิดเพลิน เราไม่ต้องคาดหวัง เราจะรู้สึกผ่อนคลายและแทบจะไม่ต้องใช้ความพยายามในการอ่านเลย แต่หลายครั้งที่เราต้องอ่านหนังสือเพราะเราต้องทำความเข้าใจเนื้อหาให้ได้ เช่น ต้องอ่านเพื่อไปสอบ และสำหรับบางคนการอ่านหนังสือมันคือยานอนหลับดีๆ นี่เอง แต่ถ้าเราฝึกฝนการอ่านให้ดี เราก็จะได้รับความรู้หรือแรงบันดาลใจจากหนังสือได้อย่างเต็มที่ การอ่านหนังสือให้ได้ดี เราจะต้องตั้งใจและมีสมาธิ ไม่ใช่แค่อ่านเพื่อรับรู้ข้อมูล แต่ต้องเข้าใจคนเขียน ต้องวิเคราะห์ รู้จักสงสัย เพราะมันจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น ครั้งแรกที่เราอ่านหนังสือที่มีเนื้อหายากๆ ให้เราอ่านตลอดทั้งเล่มโดยที่ไม่ต้องหยุด ถึงแม้ว่าจะมีบางอย่างที่เราไม่เข้าใจ ทักษะการอ่านแบ่งออกเป็นหลายระดับ แต่ละระดับมีความต่อเนื่องกัน

การอ่าน ขั้นพื้นฐาน
 เป็นการอ่านโดยที่เราสามารถจำและรู้ความหมายของคำ เข้าใจโครงสร้างประโยค และเข้าใจความหมายที่เปลี่ยนไปของคำที่อยู่ในแต่ละสภาพแวดล้อมหรือเงื่อนไขที่ต่างกัน เมื่อเราอ่านได้ในระดับนี้ มันก็พอที่จะทำให้เราอ่านหนังสือเพื่อรับรู้ข้อมูลหรือเพื่อความสนุก แต่การที่เราจะอ่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เราจะต้องฝึกทักษะการอ่านขั้นสูงกว่านี้ สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ เราจะต้องตั้งใจอ่าน มีสมาธิในการอ่าน เหมือนที่เราเล่นโยนลูกบอล คนเขียนหนังสือคือคนโยน และคนอ่านคือคนรับ ถ้าเราไม่ตั้งใจรับ เราก็จะรับบอลไม่ได้ เราก็จะไม่เข้าใจสิ่งที่คนเขียนต้องการสื่อ ดังนั้นเราจะอ่านแบบฉื่อยๆ แล้วคาดหวังว่าข้อมูลที่สำคัญมันจะไหลเข้าหัวเราได้เอง มันเป็นไปไม่ได้ การจะเข้าใจเนื้อหาจากหนังสือ คนอ่านจำเป็นต้องตั้งใจและฝึกฝนทักษะการอ่าน

การอ่านเพื่อตรวจสอบ การอ่านจับใจความสำคัญ
เวลาที่เราเลือกหนังสืออยู่ที่ร้าน ในเวลาสั้นๆ ที่เราต้องตัดสินใจว่าควรจะซื้อดีไหม เราจะใช้การอ่านเพื่อตรวจสอบ อ่านแบบผ่านๆ เพื่อให้รู้ว่าควรซื้อหรือไม่ หลังจากนั้นเราค่อยอ่านให้ละเอียดอีกที เริ่มด้วยการตรวจดูชื่อหนังสือหรือคำนำ ก็พอจะรู้ว่าเป็นหนังสือแบบไหน อ่านสารบัญหรือคำนิยมที่มันจะเผยให้เรารู้ว่าเนื้อหาในหนังสือเกี่ยวกับอะไร ทำให้เรารู้ว่าเราควรจะซื้อเล่มนั้นหรือเปล่า ถึงตอนนี้เราอาจจะรู้แล้วว่ามีบทไหนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราสนใจ ใช้เวลาสั้นๆ เพื่ออ่านบทนำและบทสรุป จับใจความสำคัญในข้อความแต่ละย่อหน้า เปิดข้ามไปแล้วสุ่มอ่านบางบท บางประโยค และอ่านหน้าท้ายๆ ที่คนเขียนมักจะสรุปเนื้อหาหรือประเด็นสำคัญของหนังสือ

แหล่งที่มาโด : www.nicetofit.com/ทักษะการอ่าน/
วันที่เข้าถึงข้อมูล
: 28 มีนาคม พ.ศ. 2562