รูปภาพของมนทิรา อำภาวงษ์
ยุค DIGITAL ต้อง PR อย่างไร
โดย มนทิรา อำภาวงษ์ - ศุกร์, 27 มีนาคม 2020, 10:37AM
 
3

ยุค DIGITAL ต้อง PR อย่างไร

เลือกเครื่องมือสื่อสารตรงวัตถุประสงค์
จากพฤติกรรมการสื่อสารของคนไทยในปี 2561 โดยข้อมูลจาก ETDA ระบุว่า คนไทยมีการบริโภคสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตในปี 2561 มากถึง 10 ชั่วโมง 5 นาที ต่อวัน ซึ่งแต่ละช่องทางการบริโภคก็จะมีปริมาณการใช้งานแตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล โดยผู้สื่อสารจำเป็นจะต้องรู้จักช่องทาง และเครื่องมือการสื่อสารให้ดีเสียก่อน

รู้จักสื่อ
ประเภทของสื่อในการประชาสัมพันธ์ในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ผู้คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะบริโภคสื่อออนไลน์มากกว่าสื่อออฟไลน์ ด้วยเงื่อนไขด้านความรวดเร็วและความสะดวกสบาย ทั้งนี้ทั้งนั้นสื่อสองประเภทนี้ก็มีกรอบการใช้งานที่แตกต่างกัน สื่อบางประเภทหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์แบบออฟไลน์ก็จะเข้าถึงผู้ใช้ได้มากกว่าในบางรูปแบบ เพราะฉะนั้นผู้ทำประชาสัมพันธ์จะต้องรู้จักประเภท รูปแบบและขอบเขตการใช้งานอย่างถูกต้อง จึงจะเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งจำเป็นจะต้องรู้วิธีการทำงานของสื่อ เวลาปิดข่าว การประชุมข่าว การคัดเลือกข่าว เพื่อให้ผู้ทำประชาสัมพันธ์สามารถส่งข่าวเข้าไปให้สื่อได้ทันท่วงที รวมถึงรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับข่าว เช่น ข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าวโทรทัศน์ หรือออนไลน์


ความต้องการของสื่อมวลชนในด้านข้อมูลข่าวสาร

แหล่งข่าวของผู้สื่อข่าวในประเทศจะมีอยู่ 2 แหล่ง หลัก ๆ ก็คือ

งานแถลงข่าว คือ การจัดงานสื่อมวลชนโดยผู้ให้ข่าวเชิญนักข่าวมารับข่าว ในการแถลงข่าวนั้นอาจมีผู้ให้ข่าวจำนวนหนึ่งคนหรือมากกว่า ที่อาจให้ผู้รายงานข่าวถามคำถาม โดยข้อมูลคร่าว ๆ ที่ผู้สื่อข่าวต้องการ ก็คือ รายละเอียดที่จะแถลง แหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิง ผลวิจัย จุดประสงค์และเป้าหมายโครงการ และผลกระทบที่มีต่อสังคม

ข่าวในกระแส คือ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม หรือกรณีที่เกี่ยวข้องกับองค์กร หน่วยงานบริษัท โดยสื่อจะใช้วิธีการสอบถามความคิดเห็น ผลกระทบ แผนการรับมือกับประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม

นอกจากนี้ ยังมีแหล่งข่าวอื่นๆ ที่ผู้สื่อข่าวจะใช้หาข้อมูลนำเสนอ

สัมภาษณ์พิเศษ คือ บุคคลใดก็ตามที่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข่าวที่จะต้องการนำเสนอ

โซเชียลมีเดีย จะเป็นแหล่งข่าวที่ผู้สื่อข่าวจะใช้นำมาประกอบการพิจารณากระแสข่าวที่อยู่ในสังคม

เว็บไซต์ จะเป็นแหล่งที่ผู้สื่อข่าวใช้หาข้อมูลเชิงลึกในองค์กร หรือ บริษัท ที่เกี่ยวข้องกับข่าว

เอกสาร จะเป็นแหล่งที่สื่อใช้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ

3

คุณสมบัติของข่าวที่ดี

ความถูกต้อง (Accuracy) ทั้งในด้านเนื้อหาและระยะเวลาที่เหมาะสม
ความสมดุล (Balance) ไม่เอียนเอียง หรือมีเนื้อหาเอื้อประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพิเศษ
ความเที่ยงตรง (Objectivity) ไม่บิดเบือนเนื้อหาข่าว
เข้าใจง่าย ชัดเจน (Conside) สั้น กระชับ เข้าใจง่าย
ความใหม่สด (Fresh) ทันต่อเหตุการณ์
ข่าวต้องมี 5W 1H คือนำเสนอให้ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร

3