รูปภาพของสมบูรณ์ สุขชัย
Information and Communication Technology Readiness’s Teachers of Assumption College Nakhonratchasima
โดย สมบูรณ์ สุขชัย - พฤหัสบดี, 29 กุมภาพันธ์ 2024, 08:38AM
 

ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
Information and Communication Technology Readiness’s Teachers of Assumption College Nakhonratchasima

สมบูรณ์ สุขชัย* : หัวหน้าสำนักผู้อำนวยการ : สำนักผู้อำนวยการ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแบ่งเป็นคำถามปลายปิด ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นแบ่งเป็นระดับความคิดเห็น (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-Test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้

ครูที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81 เป็นเพศชาย ร้อยละ 19 อายุส่วนใหญ่ของครูอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 53.3 น้อยกว่า 31 ปี ร้อยละ 26.7 มากกว่า 40 ปี มีเพียงร้อยละ 20 ครูส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนของครู มากกว่า 5 ปี ถึงร้อยละ 70 และร้อยละ 13.3 ที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ครูที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สอนวิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 36.7 รองลงมา สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 26.7 และมีเพียง ร้อยละ 3.3 ที่สอนวิชาสังคมศึกษา

ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ความพร้อมของครูในด้านสมรรถนะในการ ใช้เทคโนโลยีของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.73 โดยในเรื่องที่ครูมีความพร้อมมากที่สุด คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.98 รองลงมาคือด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ และความพร้อมทางด้านการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีการศึกษา ที่ค่าเฉลี่ย 3.73 และ 3.36 ตามลำดับ

ด้านทัศนคติของครูต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.04 โดยอันดับที่ครูมีทัศนคติที่ดีมากต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มากที่สุดคือ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ที่ค่าเฉลี่ย 4.53 รองลงมา คือ การเข้าไปศึกษาได้ทุกสถานที่ เช่น บ้าน ที่ทำงาน ค่าเฉลี่ย 4.47 และเป็นสิ่งใหม่น่าสนใจทำให้โรงเรียนได้รับประโยชน์มากทำให้ได้รับการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ยที่เท่ากัน ที่ 4.40 ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติของครูต่อที่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เข้ากับการเรียนรู้ของคนไทย โดยที่มีค่าเฉลี่ยที่ 2.93 เป็นอันดับที่ต่ำสุดที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเช่นนั้น ในส่วนที่มีทัศนคติต่อนโยบายการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.73 และค่าใช้จ่ายในการสร้างเนื้อหา ข้อมูลต้องใช้เวลาค่าเฉลี่ยที่ 3.57

ด้านพฤติกรรมของครูต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.86 โดยอันดับที่ครูมีพฤติกรรมที่ดีมากต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มากที่สุด คือ จะจัดสรรเวลาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ค่าเฉลี่ย 4.23 รองลงมาคือ จะช่วยผลักดัน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เห็นประโยชน์ คุณค่า จากที่โรงเรียนนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในห้องเรียน ครูพร้อมที่จะพัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีเป็นประจำ ที่ค่าเฉลี่ย 4.20 และ 4.13 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม พฤติกรรมของครูต่อการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านจะจัดสรรงบประมาณเพื่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยที่มีค่าเฉลี่ยที่ 3.47 เป็นอันดับที่ต่ำสุดที่ครูส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเช่นนั้น ในส่วนความสนใจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาก แต่ไม่มีเวลาในการพัฒนา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.60 และจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อการใช้เทคโนโลยี ค่าเฉลี่ยที่ 3.57

คำสำคัญ : เทคโนโลยี การสื่อสาร ความพร้อมของครู

บทนำ

ในประเทศไทยการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีแนวโน้มในการแข่งขันที่สูงมาก คุณภาพการจัดการเรียนสอน โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนของครู และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก็เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา ปัจจัยที่มีส่วนในความก้าวหน้าของนักเรียน นั่นคือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งความสนใจในการเรียนของนักเรียนนั่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้นักเรียนจะได้รับการพัฒนาหรือไม่เพียงใด นั่นเป็นประเด็น การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมในระบบการเรียนการสอนปกติ เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน และเพิ่มความก้าวหน้าของนักเรียนในการเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และความสำเร็จในการนำเทคโนโลยี มาใช้ในห้องเรียนนั้น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในความสำเร็จ นั่นคือ ความสามารถหรือความพร้อมของครูในการใช้เทคโนโลยี ดังนั้น จึงควรที่จะมีการเตรียมความพร้อมของครูเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

จากนโยบายโรงเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนรู้คุณค่าและประโยชน์จากเทคโนโลยี และมีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งโรงเรียนจะต้องเร่งรัดดำเนินการพัฒนาทางด้านวิชาการ ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และให้บริการอย่างต่อเนื่อง เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การศึกษานี้ มุ่งศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ว่ามีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ จะเป็นการศึกษาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้ทราบถึงระดับความพร้อมของครู ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารโรงเรียนสามารถที่จะนำข้อมูลไปพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร และกำหนดทิศทางและวางแผนในการลงทุนต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

จำแนกตามลักษณะของครู (Personal Identification Data)

3. เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาครูทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร

วิธีการวิจัย

1) ประชากร ครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 94 คน

2) กลุ่มตัวอย่าง -

3) ตัวแปรที่ศึกษา

 ตัวแปรอิสระ คือ ความสามารถในการใช้ ICT

ทัศนคติต่อการใช้ ICT

พฤติกรรมต่อการใช้ ICT

ตัวแปรตาม คือ ความพร้อมของครู

4) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยแบ่งเป็นคำถามปลายปิด ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นแบ่งเป็นระดับความคิดเห็น (Rating Scale) 5 ระดับ

5) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. นำแบบสอบถาม ที่ขออนุญาตจากผู้อำนวยการในการอนุญาตให้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากครู

โดยที่ผู้วิจัยจะแจกให้ครูตอบแบบสอบถาม

2. หลังจากเก็บแบบสอบถามที่แจกแล้ว จะนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้องทุกชุด

หากชุดใดไม่สมบูรณ์ก็จะคัดทิ้ง/ทำเป็นค่า Missing

3.นำแบบสอบถามทุกชุดที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แล้ว มาลงรหัสตัวแปร แล้วนำข้อมูลไปกรอกลงในโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

6) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อผู้วิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกชุดและลงรหัสในแบบสอบถามตาม คู่มือลงรหัสที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสถิติเพื่อการวิเคราะห์ คำนวณและประมวลผลข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติดังต่อไปนี้

1.การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและคำถามปลายเปิด ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive) ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าสถิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.ระดับความพึงพอใจ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

3. การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่าง ทดสอบด้วยค่า One-way /ANOVA

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและสะท้อนผล

ผลการวิจัย

จากการวิจัยเชิงสำรวจ ความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ผู้วิจัยได้สรุปการวิจัย ดังต่อไปนี้

ครูที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81 เป็นเพศชาย ร้อยละ 19 อายุส่วนใหญ่ของครูอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 53.3 น้อยกว่า 31 ปี ร้อยละ 26.7 มากกว่า 40 ปี มีเพียงร้อยละ 20 ครูส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนของครู มากกว่า 5 ปี ถึงร้อยละ 70 และร้อยละ 13.3 ที่จบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ครูที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สอนวิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 36.7 รองลงมา สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 26.7 และมีเพียง ร้อยละ 3.3 ที่สอนวิชาสังคมศึกษา

ความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา พบว่า สมรรถนะในการ ใช้เทคโนโลยีของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.73 โดยในเรื่องที่ครูมีความพร้อมมากที่สุดคือ ด้านการใช้เทคโนโลยีด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.98 รองลงมาคือด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ และความพร้อมทางด้านการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีการศึกษา ที่ค่าเฉลี่ย 3.73 และ 3.36 ตามลำดับ

ด้านทัศนคติของครูต่อการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่

4.04 โดยอันดับที่ครูมีทัศนคติที่ดีมากที่สุด คือ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ที่ค่าเฉลี่ย 4.53 รองลงมา คือ การเข้าไปศึกษาได้ทุกสถานที่ เช่น บ้าน ที่ทำงาน ค่าเฉลี่ย 4.47 และเป็นสิ่งใหม่น่าสนใจ ทำให้โรงเรียนได้รับประโยชน์มาก ทำให้ได้รับการพัฒนาตนเอง มีค่าเฉลี่ยที่เท่ากัน เท่ากับ 4.40 ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติของครูต่อที่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เข้ากับการเรียนรู้ของคนไทย โดยที่มีค่าเฉลี่ยที่ 2.93 เป็นอันดับที่ต่ำสุดที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเช่นนั้น ในส่วนที่มีทัศนคติต่อนโยบาย การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.73 และค่าใช้จ่ายในการสร้างเนื้อหา ข้อมูล ต้องใช้เวลา ที่ค่าเฉลี่ย 3.57

ด้านพฤติกรรมของครูต่อการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร ภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.86 โดยอันดับที่ครูมีพฤติกรรมที่ดีมากต่อการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร มากที่สุด คือ จะจัดสรรเวลาในการใช้เทคโนโลยี ที่ค่าเฉลี่ย 4.23 รองลงมาคือ จะช่วยผลักดัน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และ เห็นประโยชน์ คุณค่า จากที่โรงเรียนนำเทคโนโลยีมา พร้อมที่จะพัฒนาตนเองทางด้าน ICT เป็นประจำ ที่ค่าเฉลี่ย 4.20 และ 4.13 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม พฤติกรรมของครูต่อการใช้เทคโนโลยี ด้านจะจัดสรรงบประมาณเพื่อการใช้เทคโนโลยี โดยที่มีค่าเฉลี่ยที่ 3.47 เป็นอันดับที่ต่ำสุดที่ครูส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเช่นนั้น ในส่วนความสนใจเทคโนโลยี มาก แต่ไม่มีเวลาในการพัฒนา ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.60 และจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อการใช้ ค่าเฉลี่ยที่ 3.57

จากการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย ด้าน เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานของครู ระดับการศึกษาของครูและ และ วิชาที่สอนของครูที่แตกต่างกัน ในรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ซึ่งทั้งหมดไม่มีผลต่อความพร้อมของครูในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

อภิปรายผลและสะท้อนผล

จากผลการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารของครูโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา สามารถอภิปรายผลการวิจัยครั้งนี้ ได้ดังนี้ ด้าน เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงานของครู ระดับการศึกษาของครูและ และ วิชาที่สอนของครูที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความพร้อมของครูที่จะใช้เทคโนโลยี และโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี หากจำแนกเป็นรายข้อ จะพบว่า ความพร้อมของครูในด้านสมรรถนะในการ ใช้เทคโนโลยีของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยในเรื่องที่ครูมีความพร้อมมากที่สุดคือ ด้านการใช้เทคโนโลยีด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังมีความพร้อมทางด้านการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีการศึกษา ในส่วนของทัศนคติของครูต่อการใช้เทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยครูส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีมากต่อการใช้เทคโนโลยี มากที่สุดคือ จะทำให้ครูมีความรู้เพิ่มขึ้น และสามารถที่จะเข้าไปศึกษาได้ทุกสถานที่ เช่น บ้าน ที่ทำงาน และเป็นสิ่งใหม่น่าสนใจ ทำให้โรงเรียนได้รับประโยชน์มาก ทำให้ได้รับการพัฒนาตนเอง ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติของครูต่อที่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เข้ากับการเรียนรู้ของคนไทย เป็นอันดับที่ต่ำสุดที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเช่นนั้น ในส่วนที่มีทัศนคติต่อนโยบาย การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐบาล และค่าใช้จ่ายในการสร้างเนื้อหา ข้อมูล ต้องใช้เวลา ยังอยู่ในระดับที่ครูยอมรับได้ ซึ่งอยู่ในระดับที่ดี

ด้านพฤติกรรมของครูต่อการใช้เทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับดี จะจัดสรรเวลาในการใช้เทคโนโลยีและยังจะช่วยผลักดัน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี โดยเห็นประโยชน์ คุณค่า จากที่โรงเรียนนำเทคโนโลยีมาและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีเป็นประจำ ในทางตรงกันข้าม ครูส่วนใหญ่ยังไม่มีงบประมาณในการจัดสรรเพื่อการใช้เทคโนโลยี แต่ก็ยังมีความสนใจในเทคโนโลยีอยู่มาก แต่ไม่มีเวลาในการพัฒนา และจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนในห้องเรียน

ข้อเสนอแนะ

1. ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบกับประเด็นเดียวกันกับการศึกษา

2. ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาตัวแปรอิสระอื่น ๆ เพิ่มเติม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผลของการวิจัยจะเป็นข้อมูลเพื่อทราบความพร้อมของครูและความสามารถของครู ในการใช้เทคโนโลยี ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี

2. เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีในห้องเรียน เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

บรรณานุกรม (Bibliography)

กาญจนา วัธนสุนทร. “การวิจัยในชั้นเรียนและคุณภาพการเรียนการสอน” . (เอกสารอัดสำเนา)

กิตติพร ปัญญาภิญโญผล รศ . รูปแบบของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน : กรณีศึกษาสำหรับครู

มัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2541.

รุ่ง แก้วแดง ดร.“ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ไม่ยาก”. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช ,

2544.

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ ดร.,ไพจิตร สดวกการ . “การวิจัยในชั้นเรียนและคุณภาพการเรียนการสอน” .

(เอกสารอัดสำเนา)

Assessing the Awareness and Perceptions of Academic Staff in Using E-learning Tools
for Instructional Delivery in a Post-Secondary Institution: A Case Study.
Retrieved
July 25, 2014, from http://www.innovation.cc/scholarly-style/agboola4k.pdf

K-12 Online Learning A Survey of U.S. School District Administrators. Retrieved July 25,
2014
, from,http://www.sloan-c.org/publications/survey/pdf/K-12_Online_Learning.pdf

Teacher ICT Readiness in Ghana. Retrieved August 4, 2014, from, http://www.rocare.org/

ChangingMindsets/pdf/ch11-ICTandChangingMindset.pdf

Teacher Training In ICT-Based Learning Settings : Design And Implementation Of An

On-Line Instructional Model For English Language Teachers. August 4, 2014, from,

http://www.tdr.cesca.es/TESIS_URV/AVAILABLE/TDX-0703107-

142708/tesiMarCamacho.pdf

Technology Acceptance Model and E-learning. August 4, 2014, from,
http://eprints.utm.my/5482/1/MaslinMasrom2006_Techn.pdf