รูปภาพของวารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล
ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติ
โดย วารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 10:25AM
 

รูปแบบบทความวิจัย (Research Article Form)

ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

Study the satisfaction of Mathayom 6/1 students regarding the use of registration andStatistics of Assumption College Nakhon Ratchasima, academic year 2023

มิสวารุณี ไชยทวีวิวัฒน์กุล : ธุรการ-การเงิน : บุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในปรับปรุงพัฒนาบริการด้านต่างๆ ของงานทะเบียนและสถิติให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ศึกษาปัญหาและ อุปสรรคในการให้บริการของงานทะเบียนและสถิติ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการของงานทะเบียนและสถิติ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล

ผลจากการศึกษาวิจัย ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติ

ด้านที่ 1 การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness) พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการด้วยความสุภาพอ่อนน้อม และเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 4.68 ซึ่งมีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด

ด้านที่ 2 ความเอาใจใส่ (Empathy) พบว่า นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่สามารถ ตอบคำถาม ได้อย่างถูกต้องชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 4.82 ซึ่งมีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด

สรุปผลการวิจัย นักเรียนมีความพึงพอใจในด้านความเอาใจใส่ (Empathy) มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.64 และด้านการให้บริการในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness) มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.58 ซึ่งในภาพรวมนั้นนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 4.61

คำสำคัญ : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

* หัวหน้างานทะเบียนและสถิติ ฝ่ายธุรการ การเงิน

E-mail : mommamacn@gmail.com

บทนำ

1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย

สภาพปัญหา โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจาก การจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังมีหน่วยงานที่รองรับการดำเนินกิจการของโรงเรียนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนที่คอยขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาระบบการศึกษา ซึ่งแผนกทะเบียนและสถิติ เป็นอีกหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการแก่ครู ผู้ปกครอง นักเรียนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มีหน้าที่ให้บริการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา ให้กับผู้เรียนทุกระดับชั้น และรายงานข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคคลากร สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ามาใช้บริการ และมีความสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานให้บริการได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการแก่นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียน เป็นอย่างดีเพื่อเป็นที่พึงพอใจแก่ ผู้ที่เข้ามาติดต่อ

ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษา ความพึงพอใจต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติในภาพรวม เพื่อจะไดนำผลจากการวิจัยนั้นมาพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด รวมไปถึงการ พัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทะเบียนและสถิติต่อไป

2) การทบทวนวรรณกรรม

ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สักรินทร์ อยู่ผ่อง (2545) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาที่มีต่อการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้ สวพ. มทร.สุวรรณภูมิ หน้า | 24

1. ด้านเอกสาร พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มาใช้บริการบัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความคิดเห็นพึงพอใจในด้านเอกสารอยู่ในระดับมาก

2. ด้านความสะดวกรวดเร็ว พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มาใช้บริการบัณฑิต วิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความคิดเห็นพึงพอใจด้านความสะดวกรวดเร็ว

3. ด้านข้อมูลข่าวสาร พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้บริการบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยรวมมีความคิดเห็นพึงพอใจในระดับปานกลาง

4. ด้านบุคลากร พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความคิดเห็นว่า หัวข้อเรื่องให้ข้อมูลและชี้แนะเกี่ยวกับ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมีความพึงพอใจมากที่สุด

5. ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มาใช้ บริการบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความคิดเห็นพึงพอใจ

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการใช้บริการห้องสมุด พบว่า สามารถจำแนกผลการวิจัย ตามลักษณะเนื้อหาออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (นพพร เพียรพิกุล. 2547 : 112-120 ; สุรีย์ บุหงามงคลและคณะ. 2546 : 53-61 ; เดชศักดิ์ ศานติวิวัฒน์. 2547 : 28-36)

1. ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย ความเหมาะสมใน เรื่อง การจัด และตกแต่งภายใน ความเพียงพอ บรรยากาศเหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้

2. ด้านทรัพย์กร ประกอบด้วย ความพอเพียงของทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ ความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ ความพอเพียงของทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อ โสตทัศน์ความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศน์

3. ด้านการเข้าถึงสารสนเทศประกอบด้วย การสืบค้นจาก Web OPAC การสืบค้นสารสนเทศ จากฐานข้อมูลออนไลน์ ข้อมูลที่สืบค้นตรงต่อความต้องการ ความเหมาะสมของเวลาเปิด-ปิดบริการ ของห้องสมุด

4. ด้านบุคลากรผู้ให้บริการประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจ และความสามารถของบุคลากร ผู้ให้บริการ ท่าทีที่เต็มใจของบุคลากรผู้ให้บริการความกระตือรือร้นในการให้บริการ

5. ด้านการบริการ พบว่า มีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านบริการต่างๆ ของ ห้องสมุด

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

อุทัย พรรณสุดใจ (2545) ได้กล่าวถึง ความพึงพอใจว่า เป็นความรู้สึกรักชอบยินดีเต็มใจ หรือมีเจตคติที่ดีของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความพอใจจะเกิดเมื่อได้รับตอบสนองความต้องการ ทั้ง ด้านวัตถุและด้านจิตใจ ความพึงพอใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และทัศนะของบุคคล อัน เนื่องมาจากสิ่งเร้าและสิ่งจูงใจ โดยอาจเป็นไปในเชิงประเมินค่า ว่าความรู้สึกหรือทัศนคติต่อ สิ่งเหล่านั้น เป็นไปในทางลบหรือบวก

Applewhite (1965) ได้กล่าวถึง ความพึงพอใจ เป็นความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลในการ ปฏิบัติ งานซึ่งรวมไปถึงความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลในการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมไป ถึงความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้วย การมีความสุขที่ทำงานร่วมกับคนอื่นที่เข้ากัน ได้มีทัศนคติที่ดีต่องานด้วย

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการให้บริการ

วีรพงษ์ (2539) ให้ความหมายของบริการ คือ พฤติกรรม กิจกรรม การกระทำ ที่บุคคลหนึ่งทำให้หรือส่งมอบอีกบุคคลหนึ่ง โดยมีเป้าหมายและมีความตั้งใจในการส่งมอบอันนั้น

พงษ์เทพ (2546) รายงานว่าหลักของการให้บริการนั้น ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลส่วนใหญ่ได้แต่ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินการไปโดยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเท่าเทียมกันทุกคน

3) กรอบแนวคิดการวิจัย (เป็นแผนภาพที่ชัดเจน)

ตัวแปรอิสระ

นักเรียน

- เพศ

- จำนวนครั้งของการมาใช้บริการ

ตัวแปรตาม

ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการให้บริการทั้ง 2 ด้าน

- การตอบสนองต่อลูกค้า

- ความเอาใจใส่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานทะเบียนและสถิติโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในปรับปรุงพัฒนาบริการด้านต่างๆ ของงานทะเบียนและสถิติให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3. เพื่อศึกษาปัญหาและ อุปสรรคในการให้บริการของงานทะเบียนและสถิติ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพต่อไป

4. ศึกษาระดับความพึงพอใจเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการให้บริการของงานทะเบียนและสถิติ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล

วิธีวิจัย

1. ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ คุณลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2566

ประกอบด้วย

§ เพศ

§ จำนวนครั้งของการมาใช้บริการ

ตัวแปรตาม ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการของงาน

ทะเบียนและสถิติ ได้แก่

§ ความพึงพอใจต่อการให้บริการใน 2 ด้านคือ

§ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness)

§ ความเอาใจใส่ (Empathy )

§ เจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงาน

ทะเบียนและสถิติ

§ ความพึงพอใจนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงาน

ทะเบียนและสถิติ

2. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้น ม. 6/1 ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน

1) ประชากร

§ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

2) กลุ่มตัวอย่าง

§ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 โดยวิธีเลือกวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน

3) ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ คุณลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2566ประกอบด้วย

§ เพศ

§ จำนวนครั้งของการมาใช้บริการ

ตัวแปรตาม ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการของงาน

ทะเบียนและสถิติ ได้แก่

§ ความพึงพอใจต่อการให้บริการใน 2 ด้านคือ

§ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness)

§ ความเอาใจใส่ (Empathy )

§ เจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6/1ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติ

§ ความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียน และสถิติ

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

โดยมีรายละเอียดของแบบสอบถาม ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียน เพื่อสอบถามเกี่ยวกับเพศ จำนวนครั้งที่ใช้บริการ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ที่มีต่อการให้บริการในด้านต่างๆ 2 ด้าน ดังนี้

§ ด้านที่ 1 การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness)

§ ด้านที่ 2 ความเอาใจใส่ (Empathy)

ลักษณะของแบบสอบถามเป็นข้อความแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ช่วงคะแนน ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งมีเกณฑ์ในการแปรผลการให้คะแนน โดยกำหนดคะแนนตํ่าสุดให้มีค่าไม่ตํ่ากว่า 1.00 และคะแนนสูงสุดให้มีค่าไม่เกิน 5.00 มีรายละเอียดดังนี้

§ คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจต่อบริการของงานทะเบียนสถิติ น้อยที่สุด

§ คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจต่อบริการของงานทะเบียนสถิติ น้อย

§ คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจต่อบริการของงานทะเบียนสถิติ ปานกลาง

§ คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจต่อบริการของงานทะเบียนสถิติ มาก

§ คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจต่อบริการของงานทะเบียนสถิติ มากที่สุด

สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

1. ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่

1.1 หาค่าร้อยละ โดยใช้สูตร (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 59)

1.2 หาค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) โดยใช้สูตร (ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2541 : 40)

1.3 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้สูตร(ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2541 : 74)


  1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 โดยวิธีการแจกแบบสอบถาม ให้กับนักเรียนชั้น ม.6/1 ทุกคน ที่มาใช้บริการในห้องทะเบียน โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ในช่วงปีการศึกษา 2566 จากนั้นเก็บรวบรวมแบบสอบถาม เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยสามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน

  1. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

§ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

§ จำแนกข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างลงใน โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์

§ วิเคราะห์สถานภาพของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามโดยหาค่าร้อยละ

§ วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนด


ผลการวิจัย

จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 82.14 ส่วนจำนวนครั้งที่มาติดต่องานนักเรียนมาติดต่องานห้องทะเบียน มีจำนวนนครั้งน้อยกว่า 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 57.14 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด

จากการศึกษาเกี่ยวกับ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่มีต่อการใช้บริการงานทะเบียนและสถิติโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าด้านความเอาใจใส่ (Empathy) มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.64 รองลงมาเป็นด้านการให้บริการในการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness) มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.58 ซึ่งในภาพรวมนั้นนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 4.61

ผลการวิเคราะห์ด้านที่ 1 การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการด้วยความสุภาพอ่อนน้อม และเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 4.68 ซึ่งมีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการมีความเอาใจใส่ กระตือรือร้น และเต็มใจให้บริการของเจ้าหน้าที่งานทะเบียนและสถิติ คิดเป็นร้อยละ 4.57 มีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด และด้านการรับฟังปัญหาหรือข้อซักถามของผู้รับบริการอย่างเต็มใจของเจ้าหน้าที่นั้น คิดเป็นร้อยละ 4.50 มีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด

ซึ่งโดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้บริการของงานทะเบียนด้าน การตอบสนองต่อผู้รับบริการ (Responsiveness) คิดเป็นร้อยละ 4.58 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

ผลการวิเคราะห์ด้านที่ 2 ความเอาใจใส่ (Empathy) จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่สามารถ ตอบคำถาม ได้อย่างถูกต้องชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 4.82 ซึ่งมีระดับความความพึงพอใจมากที่สุด ด้านเจ้าหน้าที่ยินดีให้บริการนั้น คิดเป็นร้อยละ 4.57 มีระดับความความพึงพอใจมาก และเจ้าหน้าที่ห้องท

(แก้ไขโดย ชูเกียรติ ไชยทวีวิวัฒน์กุล - จันทร์, 18 มีนาคม 2024, 08:34AM)