รูปภาพของ	ธรรมนูญ 	คำสัตย์
การศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
โดย ธรรมนูญ คำสัตย์ - พุธ, 20 มีนาคม 2024, 10:41AM
 


A study of waste disposal behavior of students of

Assumption College Nakhonratchasima

นายธรรมนูญ คำสัตย์ : ฝ่ายบริหารทั่วไป : คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้อำนวยการ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำแนกตาม เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 317 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (Independent t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way Analysis of Variance) ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย เทากับ 1.34 และ (2) นักเรียนชายและหญิงมีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ต่างกันมีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย ไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ : พฤติกรรม , การทิ้งชยะมูลฝอย , โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สังกัด ฝ่ายบริหารทั่วไป

คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้อำนวยการ

E-mail : Coachart29@gmail.com

บทนำ

 ปัจจุบันขยะกำลังเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก ดังนั้นหลายประเทศให้ความสำคัญและสนใจในการแก้ปัญหาขยะที่กำลังก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่าง ๆ ตามมาอย่างมากมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวล้วนเกิดมาจากมนุษย์ โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ขยะพลาสติกที่ไหลลงสู่ทะเลกลายเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งขณะนี้หลายประเทศให้ความสนใจและร่วมมือกันหาวิธีแก้ไข ทั้งการกำหนดนโยบายในการจัดการขยะ รวมถึงมาตรการลด เลิกใช้ถุงพลาสติก และการรณรงค์รีไซเคิล เพื่อร่วมมือกันกำจัดหรือลดจำนวนขยะพลาสติกลง และหันมาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (กรมพัฒนาพลังงานทุดแทนและอนุรักษ์พลังงาน,2563) การจัดการขยะจึงควรให้ความสำคัญหรือควรแก้ปัญหาตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียนเพราะเป็นสถานที่ฝึกอบรมนิสัยและให้ความรู้เพื่อที่จะนำไปปรับ ใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป

การจัดการศึกษาตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในหมวด 4 มาตรา 22 กล่าวถึงการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ นอกจากนี้ในมาตรา 23 กำหนดให้การจัดการศึกษา

ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และการบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งเชื่อมโยงกับมาตรา 24 (4) ที่กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกระบวนการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศเจตนารมณ์ลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ ตามนโยบาย “มาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ” โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ให้ความสำคัญในการคัดแยกขยะมูลฝอยในสถานศึกษา สอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ การรณรงค์ให้นักเรียน ครู และบุคลากรในเรื่องการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง การทิ้งขยะในถังขยะที่ถูกประเภท มีการดำเนินการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิดโดยการแยกขยะเป็น 3 ประเภท คือ ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย และนำแนวคิดการลดปริมาณขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้แนวคิดการลดปริมาณขยะ 7 แนวทาง คือ การใช้ซ้ำ (Reuse) การซ่อมแซม (Repair) การแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) การเลี่ยงใช้ (Reject) การลดขยะ (Reduce) การเลือกใช้สินค้าชนิดเติม (Refill) และการเลือกใช้สินค้าที่ส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ (Return) จากการดำเนินการที่กล่าวมานั้น พบว่า นักเรียนยังมีการแยกทิ้งขยะมูลฝอยไม่ถูกต้อง และยังมีขยะมูลฝอยทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน และยังพบเห็นพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องของนักเรียนในสถานที่ต่าง ๆ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา มาเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนให้มีความถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ทบทวนวรรณกรรม

 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความรูทั่วไปเกี่ยวกับขยะมูลฝอย

 ความหมายของคําวา ขยะ หรือมูลฝอย หรือขยะมูลฝอย ผู้วิจัยได้สรุปความหมายของคำว่าขยะมูลฝอยจากแนวคิดของทวีสิทธิ์ สิทธิกร (2531 : 115) สำนักรักษาความสะอาด (ม.ป.ป. : 1) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2525 : 650) พิชิต สกุลพราหมณ (2535 : 334) สามารถสรุปได้วา ขยะมูลฝอย หมายถึง วัสดุ สิ่งของที่เหลือทิ้งจากการใชงาน เช่น เศษกระดาษ เศษวัสดุที่หอหุมสินคา พลาสติก เศษแกว โลหะ กระปอง เศษอาหารและเศษวัสดุอื่น ๆ

ปัจจัยในการเกิดและแหล่งที่มาของปญหาขยะมูลฝอย ตามแนวคิดของวินัย วีระวัฒนานนท.(2540 : 20) และจตุพร บุนนาค (2540 : 99 - 102) สรุปได้ว่า ปัจจัยในการเกิดปญหาขยะมูลฝอย เกิดจากกิจกรรมตาง ๆ ของมนุษย์ที่กระทำ ดังนั้นถาประชาชนอาศัยอยู่รวมกันมาก อยูรวมกันย่างหนาแน่น ก็สามารถกอใหเกิดปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น

ประเภทของขยะมูลฝอย ตามแนวคิดของระเบียบ ชาญช่าง (2541 : 21 - 22) ได้แบ่งประเภทของขยะมูลฝอยออกเป็น 12 ชนิด ได้แก่ 1.ขยะมูลฝอยสด (Garbage) 2. ขยะมูลฝอยแหง (Rubbish) 3. เถ้า (Ashes) 4. ขยะมูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial refuse) 5. ซากสัตว (Dead animals) 6. ขยะมูลฝอยจากถนน (Street refuse) 7. ขยะมูลฝอยจากการเกษตรกรรม (Agricultural refuse) 8. ของใชที่ชํารุด (Bulky waste) 9. ซากรถยนต์ (Abandoned vehicles) 10. เศษสิ่งปลูกสร้าง (Construction & Demolition wastes) 11. ขยะมูลฝอยพิเศษ (Special wastes) และ 12. กากตะกอนและน้ำโสโครก (Sewage treatment residues) ส่วนสำนักคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ได้จําแนกประเภทของขยะมูลฝอยตามกิจกรรม ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ขยะมูลฝอยจากชุมชน (Community wastes) 2. ขยะมูลฝอยจากการเกษตรกรรม (Agricultural wastes) และ 3. ขยะมูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial wastes) ผู้วิจัยได้สรุปการจําแนกประเภทของขยะมูลฝอยออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ขยะมูลฝอยเปียก ได้แก เศษอาหาร เศษพืชผัก เศษเนื้อสัตว เศษผลไม้ และ 2. ขยะมูลฝอยแหง ได้แก่ กระดาษ พลาสติก เศษไม้ ผา แกว กระปอง เนื่องจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

มีการแยกทิ้งขยะมูลฝอยออกเป็น 2 ประเภท คือ ขยะมูลฝอยเปียก และขยะมูลฝอยแหง

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม จากประภาเพ็ญ สุวรรณ (2527 : 15) สิทธิโชค วรานุสันติกุล (2529 : 4) ชลิดา ถนอมวงษ (2537 : 10) สมจิตต สุพรรณทัสน (2540 : 97) สรุปได้ว่า

พฤติกรรม คือ กิจกรรมหรือปฏิกิริยาการตอบสนองของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยพฤติกรรมภายในซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ แต่สามารถวัดได้โดยใชเครื่องมือพิเศษ และพฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตได้โดยตรง

กรอบแนวคิด

 จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย ซึ่งจากตัวแปร ที่คาดวาจะมีผลตอพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ดังภาพประกอบ 1

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม


ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

วัตถุประสงค์การวิจัย

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำแนกตาม เพศ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง

วิธีวิจัย

 การวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 317 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียน ซึ่งลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียน มีลักษณะคําตอบเป็นแบบมาตราสวนประมาณคา (Rating scale) 3 ระดับ คือ ปฏิบัติประจำ ปฏิบัติเป็นบางครั้ง และไม่เคยปฏิบัติ จำนวน 18 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน ที่ตอบแบบสอบถาม โดยการคำนวณหาค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียน โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียน จำแนกตามเพศ โดยการวิเคราะห์ค่าที (Independent t-test) เปรียบเทียบพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียน จำแนกตามระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครองโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way Analysis of Variance)

ผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย เทากับ 1.34 และ (2) นักเรียนชายและหญิงมีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ต่างกันมีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอย ไม่แตกต่างกัน

อภิปรายผล

ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบวาอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนไม่ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับปญหาสิ่งแวดลอมและการทิ้งขยะเท่าที่ควร จึงไม่ใสใจในการปฏิบัติและรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ถูกตอง สภาพแวดลอมรอบตัวของนักเรียนที่ไม่เอื้ออํานวยตอการปฏิบัติ เชน ไม่มีการจัดเตรียมภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีการแยกทิ้งประเภทขยะมูลฝอย ความพอเพียงของภาชนะที่จะรองรับปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละวัน และแต่ละสถานที่ที่มีการเกิดปริมาณขยะที่ไม่เทากัน นอกจากนี้ยังรวมถึงการขาดความรู เจตคติ และการกระตุนจากครู เพื่อน และผู้ปกครอง การปลูกฝงจิตสํานึกที่ดีในการรักษาความสะอาดใหกับนักเรียน ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคลองกับผลการวิจัยของวิชาญ มณีโชติ (2537 : บทคัดยอ) ที่ได้ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษสิ่งแวดลอมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปที่ 3 ในจังหวัดสงขลา ผลการวิจัย พบวา นักเรียนสวนมากมีพฤติกรรมการอนุรักษสิ่งแวดลอมอยู่ในระดับพอใช (2) นักเรียนชายและหญิง มีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบวานักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยสูงกวานักเรียนชาย ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะมีแบบแผนแหงการพัฒนาเฉพาะตามแบบแผนของแต่ละคน ซึ่งเพศชายและหญิงจะมีความแตกต่างกัน ทั้งร่างกายและจิตใจ เป้าหมายของชีวิต พฤติกรรมทางสังคม ความคิดเห็น ค่านิยมในการอบรมเลี้ยงดูลูกผู้หญิง ที่มีความละเอียดอ่อนมากกวาลูกผู้ชาย ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคลองกับการศึกษาของ อมรรัตน รีกิจติศิริกูล (2530 : บทคัดยอ) ที่ได้ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตนในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบวา นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมในโรงเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการปฏิบัติตอสิ่งแวดลอมในโรงเรียนดีกวานักเรียนชาย (3) นักเรียนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการทิ้งขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการได้รับความรูจากแหล่งการเรียนรูที่คล้ายกัน จึงมีความแตกต่างกันไม่มากเท่าที่ควร และนักเรียนอยู่ในสภาพแวดลอมเดียวกัน การปฏิบัติจึงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจ