รูปภาพของลัดดาวัลย์ กุลนา
การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
โดย ลัดดาวัลย์ กุลนา - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 11:33AM
 

การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

NUTRITION STATUS AND FOOD CONSUMPTION BEHAVIOR IN PRIMARY STUDENTSGRAD 1 3 OF ASSUMPTION COLLEGE NAKHONRATCHASIMA

ลัดดาวัลย์ กุลนา : บริหารทั่วไป : หัวหน้าตามโครงสร้าง

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารใน

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา 2) เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และการบริโภคอาหารในนักเรียน 3) เพื่อประเมินภาวะโภชนาการในนักเรียน 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 410 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 มีอายุอยู่ระหว่าง 79 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.6 ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 49.8 ระดับความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.9 คะแนนเฉลี่ย 15.29 คะแนน (SD = 4.46 คะแนน) ทัศนคติในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.1 คะแนนเฉลี่ย 3.63 คะแนน (SD = 0.81 คะแนน) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกาย 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที การนอนหลับ 6 8 ชั่วโมง ร้อยละ 74.24 ด้านการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่รับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อต่อวัน โดยเลือกจากคุณค่าทางโภชนาการ นักเรียนรับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น และอาหารระหว่างมื้อ ร้อยละ 83.3, 98.5, 93.4 และ 80.3 ตามลำดับ โดยมีปริมาณอาหารที่บริโภคในวันหยุดมากกว่าวันปกติ ภาวะโภชนาการ ด้านน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ส่วนใหญ่สมส่วน ร้อยละ 76.8 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 6.0 ด้านน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ 86.4 ด้านส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์ ร้อยละ 84.3 และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 4.5 ดังนั้นควรส่งเสริมการให้ความรู้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและการบริโภคอาหาร รวมทั้งส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม รู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารที่หลากหลาย และมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีสุขภาพสมบูรณ์ขึ้นต่อไป

คำสำคัญ : ภาวะโภชนาการ ความรู้ในการบริโภคอาหาร ทัศนคติในการบริโภคอาหาร

*หัวหน้างานโภชนาการและร้านค้าโรงเรียน สังกัด ฝ่ายบริหารทั่วไป

E-mail : laddawan.kulna63@gmail.com

บทนำ

โภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชีวิต ในขณะเดียวกัน

ปัญหาทางด้านโภชนาการก็ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศเช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคคลโดยตรง และยังเป็นเครื่องชี้วัดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาและการสาธารณสุขของประชาชนในประเทศ ทั้งนี้เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาสุขภาพเด็กและเยาวชนให้มีสุขภาวะทางกาย จิตใจ ปัญญาและสังคม โดยการสนับสนุนพฤติกรรมบุคคล และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพที่ดีของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม เป็นแนวทางที่ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจนในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ที่ว่า สุขภาพเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนและระบบสุขภาพต้องให้ความสำคัญสูงกับการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนและการพึ่งตนเองได้ของประชาชนนอกจากนั้นพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาดรา 6 ระบุเกี่ยวกับ แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน ข้อหนึ่งว่า ให้เด็กมีสุขภาพและพลานามัยแข็งแรง รู้จักการป้องกันตนเองจากโรคและสิ่งเสพติด

 จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเด็กวัยเรียน ยังมีปัญหาโภชนาการที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือภาวะอ้วนในเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นความท้าทายในการจัดการปัญหา รายงานการสำรวจสุขภาพของประเทศไทยในปี 2546 - 2552 พบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.4 เป็นร้อยละ 9.7 เด็กที่เริ่มอ้วน และอ้วนจะมีผลต่อพัฒนาการทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม การเป็นโรคอ้วนตั้งแต่วัยเด็กเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูง

ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัญหาด้านภาวะโภชนาและการพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ปกครองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนส่งเสริมภาวะโภชนาการในวัยนี้ ตลอดจนสร้างความตระหนักให้กับครูและผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา และให้มีความรู้ที่ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของเด็กในวัยนี้ต่อไป

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

กรอบแนวคิดวิจัย

เพศ

อายุ

ระดับชั้น

ความรู้ด้านการบริโภคอาหาร

เจตคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3


 การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

 การได้รับเงินจากผู้ปกครองในแต่ละวัน

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

3. เพื่อประเมินภาวะโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

4. เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

1. ตัวแปรที่ศึกษา

1.1 ตัวแปรต้น ประกอบด้วย

1.1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้น

1.1.2 องค์ประกอบด้านพฤติกรรม

- ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

- ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ

- เจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

1.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของนักเรียน

2. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 มีครูทั้งหมด

จำนวน 410 คน โดยจะทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 198 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 6 ข้อ ดังนี้

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบคำถาม แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลด้านอายุ เพศ ระดับชั้น จำนวนเงินที่ได้มาโรงเรียน การรับรู้รูปร่างของตนเอง แหล่งข้อมูลทางโภชนาการ และความชอบรสชาติอาหาร

2. แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง คือ น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ โดยมีเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง

3. แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในการบริโภคอาหาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับสารอาหาร ความสะอาด ความปลอดภัย และถูกหลักโภชนาการ เป็นการเลือกตอบ 1 คำตอบ มี 3 ตัวเลือก คือ ใช่ ไม่ใช่ ไม่แน่ใจ จำนวน 22 ข้อ คะแนนเต็ม 22 คะแนน โดยใช้การวัดแบบอิงเกณฑ์

ระดับความรู้ คะแนน

ระดับสูง หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป

ระดับปานกลาง หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ 60-79.9

ระดับต่ำ หมายถึง ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60

4. แบบสอบถามทัศนคติในการบริโภคอาหาร โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสารอาหาร ความสะอาด ปลอดภัย และถูกหลักโภชนาการ เป็นแบบประมาณค่า การประเมินมี 5 ระดับ คือ เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 20 ข้อ จัดระดับคะ