รูปภาพของชัญญานุช บางปา
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566
โดย ชัญญานุช บางปา - เสาร์, 30 มีนาคม 2024, 11:13AM
 

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ปีการศึกษา 2566

Increasing the Efficiency of Procurement Management

Of Assumption Nakhon Ratchasima School,Academic Year 2023.

ชัญญานุช บางปา : หัวหน้างานจัดซื้อ จัดจ้าง พัสดุครุภัณฑ์ และทรัพย์สิน

ฝ่าย ธุรการ – การเงิน โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารงานจัดซื้อของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ ปีการศึกษา 2566 ประชากร ได้แก่ พนักงาน ครู บุคลากรทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่กำลังศึกษา/ ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามปลายปิด คำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริหารงานจัดซื้อ แบ่งความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

ผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.0 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 38.0 มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.0 มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.0 มีอายุการทำงาน 11- 15 ปี

ระดับความพึงพอใจการบริหารงานจัดซื้อความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดพบแต่ละข้อ พบว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 3.82 อยู่ในระดับมาก เจ้าหน้าที่มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ ค่าเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับ าก เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 3.65 อยู่ในระดับมาก ระยะเวลาการให้บริการมีความเหมาะสมค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ในระดับมาก ได้รับความรวดเร็วในการให้บริการค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมาก วิธีการให้บริการ (เรียงตามลําดับก่อนหลัง) ค่าเฉลี่ย 3.56 อยู่ในระดับมาก ได้รับบริการตรงตามความต้องการ ค่าเฉลี่ย 3.50 อยู่ในระดับปานกลาง และขั้นตอนการให้บริการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความคล่องตัว ค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับปานกลาง 

3. จากการสำรวจข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการให้บริหารงานจัดซื้อพบว่า ควรจัดซื้อสิ่งของตรงกับความต้องการ (รายละเอียดเฉพาะของสินค้า) ขั้นตอนและกระบวนการในการจัดซื้อ ขั้นตอน ในการดำเนินการควรน้อยลง จัดอบรมผู้ให้บริการให้มีความชำนาญและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกคนเข้าใช้งานอย่างทั่วถึง

คำสำคัญ : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ

บทนำ

ในอดีตหลายองค์กรต่างเข้าใจว่าการจัดซื้อเป็นงานที่ง่ายมาก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียง ติดต่อผู้ขายให้เสนอราคาและส่งมอบให้หน่วยงานที่ต้องการใช้เท่านั้น ก็ถือว่าเสร็จสิ้นงานของ จัดซื้อแล้ว แต่ปัจจุบันงานจัดซื้อ (Purchasing) และจดัหา (Procurement) นับว่าเป็นหน่วยงานที่มี ความสำคัญมากต่อผลประกอบการขององค์กร เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินในการจัดซื้อ วัตถุดิบ สินคา้ หรือบริการ เพื่อให้ตรงตามความต้องการหรือตรงตามคุณลกัษณะของผลิตภัณฑ์์ (Specifications) ของหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว จัดซื้อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้ต้นทุนของ องค์กรลดต่ำลงสร้างความสามารถทางการแข่งขันด้วยการวางกลยุทธ์การจัดซื้อและการบริหาร จัดการด้านลดต้นทุน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับองค์กรในการซื้อวัตถุดิบ สินค้าเข้า สู่องค์กร (สิทธิชัย ฝรั่งทอง, 2552)

ปัจจุบันการจัดซื้อ/จัดหา ได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากองค์กรต่างๆ เริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการงานจัดซื้อ งานจัดซื้อที่มีคุณภาพจะสามารถลดต้นทุนของสินค้าและบริการ จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัย จึงสนใจการให้บริการเกี่ยวกับงานจัดซื้อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารงานจัดซื้อของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ปีการศึกษา 2566

2. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริหารงานจัดซื้อของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

วิธีการวิจัย

1. ประชากร /ตัวอย่างประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ พนักงาน ครู บุคลากรทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่กำลังศึกษา/ ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 100 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดแบบตรวจสอบรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับและแบบปลายเปิด (Open ended) จำนวน 3 ตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบไปด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน

 ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการงานจัดซื้อ โดยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และ น้อยที่สุด

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยวิธีการและขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยได้แจ้งขออนุญาตหัวหน้าฝ่าย 6 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายธุรการ การเงิน ฝ่ายสำนักผู้อำนวยการ ฝ่ายปฐมวัย และฝ่ายบริหารทั่วไป เพื่อขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลจากบุคลากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

2. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างดำเนินการกรอกข้อมูลด้วยตนเอง

3. ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนแล้วนำไปวิเคราะห์ต่อไป

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติดังนี้

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และคำนวณหาค่าร้อยละ

2. ระดับความพึงพอใจการบริหารงานจัดซื้อโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่คำนวณหาค่าร้อยละ

3. วิเคราะห์เนื้อหาในคำถามปลายเปิด เกี่ยวกับสิ่งที่อยากให้โรงเรียนส่งเสริม /สนับสนุน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจัดซื้อ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยนำเสนอในภาพรวม

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและสะท้อนผล

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 69.0 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 31.0 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.0 มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี รองลงมาร้อยละ 35.0 มีอายุไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 15.0 มีอายุ 41 – 49 ปี และร้อยละ 12.0 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.0 มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 46.0 มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 6 มีวุฒิการศึกษาปริญญาโท ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.0 มีอายุการทำงาน 11 – 15 ปี รองลงมาร้อยละ 24.0 มีอายุการทำงาน 16 – 20 ปี ร้อยละ21.0 มีอายุการทำงน 6-10 ปี ร้อยละ 13.0 มีอายุการทำงาน 1-5 ปี และน้อยที่สุดร้อยละ 10.0 มีอายุการทำงาน 21 ปีขึ้นไป

ความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดพบแต่ละข้อ พบว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 3.82 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือเจ้าหน้าที่มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ ค่าเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับมาก เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 3.65 อยู่ในระดับมาก ระยะเวลาการให้บริการมีความเหมาะสมค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ในระดับมาก ได้รับความรวดเร็วในการให้บริการค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมาก วิธีการให้บริการ (เรียงตามลําดับก่อนหลัง) ค่าเฉลี่ย 3.56 อยู่ในระดับมาก ได้รับบริการตรงตามความต้องการ ค่าเฉลี่ย 3.50 อยู่ในระดับปานกลาง และขั้นตอนการให้บริการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความคล่องตัว ค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับปานกลาง 

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการให้บริหารงานจัดซื้อพบว่า ควรจัดซื้อสิ่งของตรงกับความต้องการ (รายละเอียดเฉพาะของสินค้า) ขั้นตอนและกระบวนการในการจัดซื้อ ขั้นตอน ในการดำเนินการควรน้อยลง และจัดอบรมผู้ให้บริการให้มีความชำนาญและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกคนเข้าใช้งานอย่างทั่วถึง

อภิปรายผล

จากตารางที่ 5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 3.62 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดพบแต่ละข้อ พบว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ มีค่าเฉลี่ย 3.82 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือเจ้าหน้าที่มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ ค่าเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับมาก เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 3.65 อยู่ในระดับมาก ระยะเวลาการให้บริการมีความเหมาะสมค่าเฉลี่ย 3.60 อยู่ในระดับมาก ได้รับความรวดเร็วในการให้บริการค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมาก วิธีการให้บริการ (เรียงตามลําดับก่อนหลัง) ค่าเฉลี่ย 3.56 อยู่ในระดับมาก ได้รับบริการตรงตามความต้องการ ค่าเฉลี่ย 3.50 อยู่ในระดับปานกลาง และขั้นตอนการให้บริการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความคล่องตัว ค่าเฉลี่ย 3.48 อยู่ในระดับปานกลาง 

3. จากการสำรวจข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการให้บริหารงานจัดซื้อพบว่า ควรจัดซื้อสิ่งของตรงกับความต้องการ (รายละเอียดเฉพาะของสินค้า) ขั้นตอนและกระบวนการในการจัดซื้อ ขั้นตอน ในการดำเนินการควรน้อยลง และจัดอบรมผู้ให้บริการให้มีความชำนาญและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกคนเข้าใช้งานอย่างทั่วถึง

ข้อเสนอแนะ

1.ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้

1. ควรมีการควบคุมในด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการทำงาน เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดซื้อ

2. ให้ความสำคัญกับการควบคุมการซ่อมแซม เครื่องใช้งานต่างๆ ให้เพียงพอต่องานเพิ่มขึ้น 3. การมีระบบการติดตาม ตรวจสอบ สถานะ และจำนวน ของสินค้าคงคลัง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้เร็ว ถูกต้อง แม่นยำขึ้น

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. การศึกษาในครั้งต่อไปควรศึกษาการเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ ในการบริหารการจัดซื้อ เพื่อจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผล ในส่วนของการบริหารการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. ควรมีการศึกษาลักษณะองค์กรอื่น เพื่อเปรียบเทียบในเรื่องของการบริหารการจัดซื้อ

10. รายการอ้างอิง

กฤติกา ทองเพ็ชร. (2551). การกำหนดนโยบายการสั่งซื้อโดยการวิเคราะห์วัสดุคงคลังด้วยระบบ

สิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2553). ขบัเคลื่อนโลจิสติกส์ด้วยการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ธรรกมลการ พิมพ.์การแบ่งประเภทความสำคัญของวัตถุดิบคงคลังตามมูลค่าของวัตถุดิบคงคลังที่หมุนเวียน

ขนิษฐา ไชยพันธุ์, รุ้งสินี เขียวงาม และ มานพ แก้วโมราเจริญ. (2560). การเพิ่มการรับรู้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ..2560 สำหรับบุคลากร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). การจัดการขนส่ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิชั่นพรีเพรส.

แจ่มจิต ศรีวงษ์. (2558). การจัดซื้อจัดหาวัสดุด้วยการจัดแบ่งกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตแก้ว จำกัด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). ห่วงโซ่อุปทาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.