รูปภาพของสุทิศา ภมรพล
การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ
โดย สุทิศา ภมรพล - จันทร์, 4 มีนาคม 2013, 10:29AM
 

บทความเรื่อง การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ

จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การรักษาสถานะขององค์กรให้อยู่รอดเป็นเรื่องที่สำคัญแต่เท่านั้นยังไม่เพียงพอ องค์กรจะต้องเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง จึงจะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จขององค์กร แล้วจะทำอย่างไรองค์กรจึงจะเจริญเติบโตอย่างมั่นคงทรัพยากรบุคคล ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กร ดังนั้น องค์กรควรให้ความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ เพราะบุคลากรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีคุณภาพ จะเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวิธีคิด และวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพ การพัฒนาให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อยๆ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง มั่นคง และมีศักยภาพการแข่งขันที่เหนือคู่แข่ง

ปัจจัยสู่ความสำเร็จการพัฒนาองค์กรเรียนรู้

1. การพัฒนาภาวะผู้นำ ( Leadership) ให้กับบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับ ภาวะผู้นำไม่ได้มีเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้บริหารผู้จัดการ หรือหัวหน้างานเท่านั้นแต่ภาวะผู้นำสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับพนักงานระดับปฏิบัติการการพัฒนาภาวะผู้นำนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการพัฒนาการทำงานเป็นทีม

2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ( Team Learning) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม จะช่วยพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เท่าเทียมและทันกัน

3. ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ( System Thinking) คือ การที่บุคลากรภายในองค์กรสามารถเข้าใจภาพรวมขององค์กร และเห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ องค์กรต้องสร้างรูปแบบและแนวคิดการคิดอย่างเป็นระบบไว้ให้ทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งกระตุ้นให้บุคลากรทุกระดับได้ตระหนักถึง

การเรียนรู้ส่วนตัว ประกอบด้วย รูปแบบจิตใจ การควบคุมตนเอง และการคิดเป็นระบบ
สำหรับการเรียนรู้ของทีม เซ็งกี้ให้เพิ่มอีกสององค์ประกอบคือ วิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้เป็นทีม
ไมเคิล มาร์ควอตท์ เสนอ ว่าองค์กรใฝ่เรียนรู้ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้ในองค์กร เป็นการเรียนรู้ระดับบุคคล ระดับทีม ระดับองค์กร วินัย ทักษะ การเรียนรู้

2. เปลี่ยนรูปแปลงโฉมองค์กรให้เป็นเลิศในการเรียนรู้ โดยกำหนด วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร

3. การมอบสิทธิอำนาจและทำให้คนสามารถเรียนรู้ คนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และชุมชน

4. การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge management) การได้ความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บและเรียกความรู้ออกมา การถ่ายโอนและการใช้ความรู้

5. เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ การเรียนรู้อิงเทคโนโลยี ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยี

การพัฒนาการคิด

กรอบความคิดของการคิด ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการคิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ทักษะความคิด หรือทักษะการคิดพื้นฐาน ที่มีขั้นตอน การคิดไม่ซับซ้อน

กลุ่มที่ 2 ลักษณะการคิด หรือการคิดขั้นกลาง/ระดับกลาง เป็นการคิดที่มีลักษณะการคิดแต่ละลักษณะอาศัยการคิดขั้นพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง

กลุ่มที่ 3 กระบวนการคิดหรือการคิดระดับสูง คือ มีขั้นตอนในการคิดซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะความคิดและลักษณะความคิดเป็นพื้นฐานในการคิด กระบวนการคิดมีอยู่หลายกระบวนการ เช่น กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการตัดสินใจ

การพัฒนากระบวนการคิดต้องอาศัยตัวร่วมขณะคิด 4 ตัวร่วมดังนี้

ตัวร่วมที่ 1 กรอบโลกทัศน์/ชีวทัศน์ คือตัวร่วมสำคัญที่ผสมผสานในระหว่างที่เราคิด เราคิดอย่างไร จะสรุปความคิดของเราออกมาเช่นไร จะยึดกรอบเดิมหรือกรอบใหม่

ตัวร่วมที่ 2 นิสัย คือ นิสัยมีผลเชื่อมโยงกับรูปแบบวิธีคิดของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวกำหนดการคิด และการแก้ปัญหาของเรา

ตัวร่วมที่ 3 อารมณ์ คือ เมื่อเราเกิดอารมณ์ใดก็ตามสมองของเรามักจะสร้างภาพในใจหรือเกิดจินตนาการถ่ายทอดอารมณ์นั้น

ตัวร่วมที่ 4 แรงจูงใจ คือ การที่เราตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงเรามักจะกระตุ้นด้วยแรงขับภายใน ได้แก่ แรงขับความต้องการพื้นฐาน แรงขับความอยากรู้อยากเห็นกระบวนการแก้ปัญหา

แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/pasawutt/2008/12/12/entry-1 วันที่ 4 มีนาคม 2556

ผู้สรุป มิสสุทิศา อมรดิษฐ์ ตำแหน่ง บุคลากรทางการศึกษา