รูปภาพของปรีย์นันท์ ลองจำนงค์
ประสิทธิภาพสารสกัดจาก ขิง
โดย ปรีย์นันท์ ลองจำนงค์ - พุธ, 6 มีนาคม 2013, 01:27PM
 

          ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 50-60 ปีที่รับประทานขิงเป็นประจำมีประสิทธิภาพของ สมอง ดีขึ้น "ขิง มีส่วนช่วยให้ neuroprotective function ดีขึ้น" นอกจากนี้การใส่ขิงป่น 100 กรัมลงไปในสลัดหรือผัดผักที่ท่านรับประทานเป็นประจำก็เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับอาหารได้อย่างดีเยี่ยม นอกจาก จะช่วยบำรุงสมองแล้ว ขิงยังมีฤทธิ์เป็น ยาแก้ปวด ได้อีกด้วย ขิงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งอาการอักเสบของข้อต่อและกล้ามเนื้อ เปรียบเสมือนยาบรรเทาปวด ( Analgesic) " สำหรับการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ , การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยขิงในส่วนผสมควบคู่กับการรับประทานยาปฏิชีวนะ ช่วยให้อาการปวดกล้ามเนื้อหายได้ไวขึ้น สำหรับประโยชน์ของน้ำขิงก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน การดื่มน้ำขิงอุ่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการคัดจมูกและบรรเทาอาการหวัดได้ การใส่น้ำมะนาว แล้วน้ำผึ้งผสมกับชาขิงร้อนๆก็มีสรรพคุณเป็นยาที่ดีมากมาย รวมไปถึงอาการปวดท้องจาก อาการลำไส้แปรปรวน ( IBS) ท้องอืดท้องเฟ้อ การดื่มน้ำขิงอุ่นๆ ทุกเช้าสามารถช่วยให้ลำไส้ของท่านทำงานได้ดีมากขึ้นขิงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และอาจช่วยต่อต้านโรคเบาหวานได้ ขิงช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงการทำงานของช่องท้องและลำไส้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตและหัวใจของเรา และอวัยวะเหล่านี้ก็จะทำงานดีขึ้นหากได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากขิง ขิงช่วยป้องกันไม่ให้ bad cholesterol LDL แข็งเป็นแผ่น ซึ่ง bad cholesterol นี้จะส่งผลเสียกับระบบโลหิตภายในร่างกายและเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ การรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากขิงเป็นประจำ สามารถช่วยบำรุงร่างกายของท่านได้ดีเยี่ยม

          ขิง เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้เพื่อรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในประเทศจีน สารสกัดจากขิงอาจมีฤทธิ์ในการต้านอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการออกฤทธิ์ทั้งภายในสมองและที่ทางเดินอาหาร ขิงมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังผ่าตัด และ ลดการเกิดอาการอาเจียนภายหลังผ่าตัด

อ้างอิง : ข้อมูลจาก

งานวิจัย ประสิทธิภาพสารสกัดขิง รศ . ดร . ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์ และคณะ

http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=2642&sub_id=95&ref_main_id=2#ixzz2MjhjJLzQ

บทความ โดย นางสาวปรีย์นันท์ ลองจำนงค์