รูปภาพของรัตนา วงษ์พุฒ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพ
โดย รัตนา วงษ์พุฒ - ศุกร์, 22 มีนาคม 2013, 02:50PM
 
 

สาระน่ารู้ของการนอนหลับ แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาสดชื่น นอนตะแคงขวาช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก บรรเทาอาการปวดหลัง ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้าย อาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่ แนะกอดหมอนข้างพร้อมพาดขา ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย

 

นพ.ชนินทร์ กล่าวว่า สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่น ๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ. สุขภาพดี คุณเอง เป็นผู้กำหนด  

ความจริงที่ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ยังเป็นคำพูดที่ไม่ล้าสมัย เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการได้ลาภเป็นเงินเป็นทองด้วยซ้ำไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีคืนมาได้ สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีใคร นอกจากตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่เราได้เลือกแล้วหรือยัง มองย้อนกลับไปดูว่าที่ผ่านมา เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเปล่า เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวัน ๆ หรือเรามีความสุขกับการกินจนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องรีบปรับตัว และไม่ปล่อยปละละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว อาจสายเกินแก้ เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ เรื่องอาหารการกินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น ดังนั้น การจัดปรับ พฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง ถูกหลักโภชนาการที่ดี กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ กินเป็นเวลา ที่สำคัญ คือ กินให้พอดีและ กินให้หลากหลาย ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ในการทำความเข้าใจเรื่องการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการกินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองสำรวจตัวเองว่ามีพฤติกรรมการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน  

จากโภชนบัญญัติ 9 ข้อต่อไปนี้  

 

1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอของสารอาหารและไม่สะสมสารพิษ ในร่างกาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว

 

2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ และเพื่อคุณค่าที่มากกว่าขอแนะ  

3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสารป้องกันอนุมูลอิสระ  

 

4. กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพควรกินเป็นประจำ

 

5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมที่ไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง จะให้ประโยชน์มากทำให้ไม่มีไขมันสะสม  

6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ลดการกินอาหารผัดและทอด ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง อบ แทน

7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  

 

8 . กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เลือกซื้ออาหารปรุงสุกใหม่ ๆ ล้างผักให้สะอาดก่อนปรุง 9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะบั่นทอนสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โภชนบัญญัติ

 

 

9 ข้อ นี้ บอกถึงการกินดี กินอย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องการนำไปปฏิบัติจริงๆ เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ ปริมาณของอาหารที่จะกินให้เหมาะสมด้วย ใครควรจะกินมากกินน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ และกิจกรรมที่ต้อง มีการใช้พลังงาน มากน้อยต่างกันของแต่ละคน ซึ่งจะติดตามได้ต่อไป

 

 

ที่มา : บทความมติชน ตอนที่ 3 ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 ต.ค .46 โดย รศ . ดร . ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล