รูปภาพของจุฑารัตน์ ศรีวิโรจน์
“อาณาจักรแห่งความกลัว...ท้อแท้จะครอบงำเรา ตราบที่เรายังไม่กล้าเปิดตาตัวเอง”
โดย จุฑารัตน์ ศรีวิโรจน์ - ศุกร์, 5 เมษายน 2013, 10:12AM
 

“อาณาจักรแห่งความกลัว...ท้อแท้จะครอบงำเรา ตราบที่เรายังไม่กล้าเปิดตาตัวเอง”

เหมือนจะบดหัวใจให้เป็นแผล

 

                   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    หลอกใครก็หลอกได้ แต่อย่าหลอกตัวเอง

 

                อย่างพฤติกรรมคนเรา บางครั้งหัวเราะ ไม่ใช่ว่ามีความสุข ทุกข์มาก ๆ ก็อาจหัวเราะได้ และขณะร้องไห้ ก็ไม่ใช่จะเสียใจ คนร้องไห้ยามดีใจก็มีมาก ดังนั้น การคบหาเพื่อนฝูง ญาติมิตร การเพ่งโทษ การถือสาจะลดลงไป ความบาดหมางแตกร้าวจะไม่เกิดง่าย ถ้าเราตั้งใจเรียนรู้ พฤติกรรมของคนรอบข้าง ก็จะทำให้เราเข้าใจ และเห็นใจเขามากขึ้น

          ความล้มเหลวของชีวิตคนเรา เกิดขึ้นเพราะ เราอยู่กันอย่างถือสา..มากกว่าศึกษา อยู่กันอย่างคิดว่าใครจะทำประโยชน์ให้แก่เรา มากกว่า คิดว่าเราจะทำดีกับใคร ทัศนคติแบนี้ คนเราจึงมือบอด

          การมีความจริงใจต่อผู้อื่น ถือเป็นคุณธรรมของสัตบุรุษ แต่ถ้าเราไม่มีความจริงใจต่อตนเอง พยายามหาเหตุผลอื่น ๆ มากลบเกลื่อน เหตุผลอันแท้จริงของตน อย่างเช่นหาคำต่าง ๆ ที่เป็นเท็จ เพื่อให้คนอื่นเชื่อถือเรา เข้าข้างเรา คนประเภทนี้กลายเป็น “สัตวบุรุษ”

          ผู้ไม่มีความจริงต่อตัวเอง จะไม่มีความเจริญ ความเบิกบานสดใสของตน ความทุกข์ ความเศร้าหมอง ยังอยู่กับชีวิตของเขาผู้นั้น

          ไม่มีใคร “ผิด” เลย ในโลกนี้โดยความสัตย์จริง ทุกคนต่างทำตามสติปัญญา ความคิด ความอ่านของแต่ละคน

“ความผิด” จึงไม่ใช่การที่เราจะต้องโกรธ

“ความถูก” ไม่ใช่เราจะต้องสร้างความชื่นใจ ความพอใจ

          เมื่อสิ่ง ๆ หนึ่งเกิดขึ้น อาจจะทำให้ชีวิตของผู้หนึ่งหน้าหงิกงอ ขณะเดียวกัน เรื่องเดียวกัน เมื่อเกิดกับอีกคนหนึ่ง ชีวิตนั้นมีแต่ยิ้ม

          ความยึดถือ ความยึดมั่น ในหัวใจของแต่ละชีวิตนั้นต่างหาก ที่ก่อให้เกิดการหน้าหงิกงอ หรือการยิ้ม

          สภาพแวดล้อม หรือสิ่งที่เกิดรอบ ๆ ตัวเราคือ เครื่องทดสอบธาตุแท้แห่งจิตใจ

ความจนคือ เครื่องมือพิสูจน์ความเห็นแก่ตัว

ความรวยคือ เครื่องมือที่พิสูจน์ความเห็นแก่ตัว

          วิกฤติการณ์ ทำให้เรารู้จักกับคำว่าเพื่อนแท้ / ความอร่อย ทำให้เรารู้จักกับความตะกละ

          ความจริงต่อตัวเอง จึงเปรียบเสมือนประทีปส่องชีวิตให้เดินโดยไม่ผิดทาง ผู้หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง จึงคือผู้ทวนกระแสแห่งโลกุตระโดยสิ้นเชิง ปิดประตูนิพพานอย่างเด็ดขาดสมบูรณ์

 

 

 

 

 

 

แนวทางแก้ความคับข้องใจหรือความอยาก มี 5 หลัก ดังนี้

 

1. ความกลัว จิตไม่กล้าสู้ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริง มันก็ย่อมเกิดความกลัวเป็นธรรมดา ไม่ว่าเรื่องอะไร จะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ปล่อยให้เป็นเรื่องของมัน คิดเสียว่าเราทำกรรมอะไรไว้ในปัจจุบัน สิ่งที่คนกลัวมากคือ ความจน กลัวลำบาก กลัวไม่ได้แต่งงาน กลัวน้อยหน้า  กลัวเสียเปรียบ  กลัวเสียเหลี่ยม

          ความกลัวเป็นส่วนเกินของชีวิตที่แท้จริง เพราะความกลัวไม่สามารถช่วยแก้ไขอะไรได้ ผู้มีความกลัวอยู่ เนื่องจากยังติดอยู่ใน “กามคุณ” ผู้ลดละกามคุณให้น้อยลงได้มากเท่าได ความกลัวมันก็ลดลงเท่านั้น ผู้ที่ยังติดสุข หลงระเริงในสุข ย่อมเป็นผู้หวาดสะดุ้ง กลัวภัยได้ง่ายดาย กลัวการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก

2.ความกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ  ช่วงการรอคอย  จึงต้องตกมาที่ความกระสับกระส่าย หรือกระวนกระวาย ยิ่งกลัวมากก็ยิ่งทุรนทุรายมาก อยากมากก็กระวนกระวายมาก

3.ความป่วยไข้ ความกลัวทำให้กังวล ยิ่งกังวลก็ยิ่งเจ็บป่วยง่าย สุภาษิตจีน “เมื่อใจนิ่ง ไข้ก็หาย” ส่วนใหญ่ ป่วยกันที่จิตใจกันก่อน ใจยังขุ่นมัว ไม่แจ่มใส ไม่เบิกบาน เมื่อใจเป็นโรคเสียแล้ว จะมีภูมิต้านทานต่อสภาพแวดล้อมได้อย่างไร  การใช้อารมณ์ตัวเอง เข้าแก้ปัญหา มันจะแก้ดีได้อย่างไร?

4 สู้ เป็นการเผชิญเข้าหาปัญหา บางคนสู้ไม่จริง เช่น

-           สู้แบบเรียกร้องความสนใจ

-          ลงโทษหรือป้ายความชั่วให้คนอื่น พวกที่ไม่เคยทำอะไรผิดเลย ถ้ามีอะไรผิด จะโทษโน่นโทษนี่ จะไม่มองตัวเอง ชอบป้ายสีให้แก่โลกอื่น ๆ เสียเรื่อย แก้ปัญหา แก้ที่ตนก่อน

-          ทำตัวกลบเกลื่อน เช่น คนที่เกลียดแม่มาก ๆ แทนที่จะทำร้าย แต่เอาอกเอาใจเสียเหลือเกินจนดูล้น และคนที่มีความอำมหิตในจิตใจ บทพูดหวานละก็น้ำตาลสู้ไม่ได้

-          การแสดงความก้าวร้าว พวกที่มีความถือสาแรง มานะทิฐิจัด,ชอบพาล เป็นการแก้ปัญหาไม่มีวันสำเร็จ เพราะไม่ได้ใช้สติปัญญาเข้าพิจารณา เช่นลูกน้องจะขอลา ก็ไม่ให้,ไม่อนุมัติ

-          เลียบแบบผู้อื่น

-          เปลี่ยนแปลงไปสู่ความประเสริฐ สรุปง่าย ๆ ความต้องการของตน สังคมไม่ยอมรับ ก็จะหาทางเปลี่ยนให้สังคมยอมรับ เช่น วัดนี้ห้ามดูหมอ รดน้ำมนต์ ก็จะไปหาอยู่วัดอื่น

-          การชดเชย การแก้ความคับข้องใจ โดยใช้กิจกรรมอื่น ๆ มาชดเชย เป็นการสู้ความล้มเหลว เช่น เรียนไม่เก่งก็เล่นกีฬาเก่ง

-          อ้างเหตุผลประกอบ ผู้ใดก็ตามพยายามหาเหตุผลอื่นมาปิดบังเหตุผลที่แท้จริงของตนเอง ก็เท่ากับว่าเป็นผู้ไม่มีสัจจะ ซึ่งตัวเองและผู้อื่น

5. การหลบหนี ผู้หลบหนีปัญหาที่เกิด จะเป็นผู้อ่อนแอ กว่าผู้หันหน้าเผชิญต่อสู้

 

                                                         

                  

แหล่งที่มา : บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด

 

ผู้สรุป มิสจุฑารัตน์  ศรีวิโรจน์  ตำแหน่ง ครูเจ้าหน้าที่งานพัสดุ/ผู้ช่วยหัวหน้างานโภชนาการ