รูปภาพของณฐมน แฝงฤทธิ์
Study of student satisfaction with using the system Line official account library Junior high school level Assumption College Nakhon Ratchasima, academic year 2023
โดย ณฐมน แฝงฤทธิ์ - พฤหัสบดี, 7 มีนาคม 2024, 11:40AM
 

การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าใช้ระบบ Line Official Account ห้องสมุด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

Study of student satisfaction with using the system Line official account library

Junior high school level Assumption College Nakhon Ratchasima, academic year 2023

มิสกชภัส มะเริงสิทธิ์ : ฝ่ายวิชาการ : บุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับการเข้าใช้ระบบ Line Official Account ห้องสมุดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2566 เพื่อนำมาพัฒนาแก้ไขปรับปรุงและดำเนินงานห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่างนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2566 ทั้งหมด จำนวน 521 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมตอนต้น จำนวน 100 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลับมา 100 ชุด และทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 5 ข้อ และข้อเสนอแนะอื่นๆ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ

การสุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 100 คน โดยการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าใช้ระบบ Line Official Account ห้องสมุด ปีการศึกษา 2566 ขั้นที่จะต้องปรับปรุงใน การประชาสัมพันธ์การใช้ระบบ Line Official Account ห้องสมุดมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 ข้อมูลข่าวสารจาก ระบบ Line Official Account ห้องสมุดมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ในภาพรวมของห้องสมุดมีความพร้อมและให้บริการได้ทันสมัยและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา ห้องสมุดจะต้องพัฒนาในเรื่องของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริการค้นคว้าและจัดเก็บข้อมูลวัสดุสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้ผู้ให้บริการจะต้องพัฒนาในด้านการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาให้บริการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นแหล่งศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานตามระบบของห้องสมุดโรงเรียน

คำสำคัญ : ความพึงพอใจการใช้ Line Official Account ห้องสมุดโรงเรียน

งานห้องสมุด สังกัด ฝ่ายวิชาการ

E-mail : amirimusicmilan@gmail.com

บทนำ

สภาพปัญหา

การสื่อสาร เป็นเครื่องมือที่เป็นสื่อกลางที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ การสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายทอดความรู้วิทยาการ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมมวลมนุษย์จากยุคสู่ยุคต่อๆกันมา การสื่อสารนั้นมีลักษณะกระบวนเป็นกระบวนการคือ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง(ประทุม ฤกษ์กลาง, ม.ป.ป)

การสื่อสารในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคของโลกดิจิตอลเทคโนโลยีการสื่อสารช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมสะดวกสบายมากขึ้นช่องว่างในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารมีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย ด้วยการพัฒนารูปแบบของเทคโนโลยีที่พกติดตัวผู้ใช้อยู่ตลอดเวลาอย่างสมาร์ทโฟน (Smartphone) และแอพพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้ใช้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารมากกว่าการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ด้วยการสนทนาผ่านข้อความ(Chat) บนแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นพร้อมกัน รูปแบบของแอพพลิเคชั่นสำหรับการแชทนั้นมีหลายแบบ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยมากกว่า 18 ล้านคนซึ่งถือเป็นจำนวนประชากรถึงหนึ่งสามของประเทศไทย

ไลน์ (LINE) หมายถึง แอพพลิเคชั่นสำหรับการสนทนาบนอุปกรณ์การสื่อสารรูปแบบต่างๆเช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต (Tablet) ผู้ใช้สามารถสื่อสารด้วยการพิมพ์ข้อความจากอุปกรณ์การสื่อสารเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถหลากหลายเพื่อรับรองการใช้งานของผู้ใช้หลายๆด้าน จุดเด่นที่ทำให้ไลน์แตกต่างกับแอพพลิเคชั่นสำหรับการสนทนารูปแบบอื่นๆคือรูปแบบของ สติ๊กเกอร์(sticker) ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ที่หลากหลาย เช่น สติ๊กเกอร์แสดงความรู้สึกขั้นพื้นฐาน สติ๊กเกอร์ตามเทศกาลและวันสำคัญ สติ๊กเกอร์ของตราสินค้าต่างๆและสติ๊กเกอร์ที่มีชื่อเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามไลน์ยังคงเป็นแอพพลิเคชั่นใหม่ในอุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนที่เพิ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา

ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฏีความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์

ทฤษฏีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ และความพึงพอใจ (The Uses and Gratification Theory) เป็นทฤษฏีที่เน้นความสำคัญที่ผู้รับสาร แคทซ์บลัมเบอร์ และ กูริวิทซ์ (แสงรพี ภัทรกิจกลธร, 2543น.38) The Uses of Mass Communiction, Unpaged โดยเน้นว่าผู้รับสารจะเป็นตัวจักรในการตัดสินใจเลือกใช้ประเภทของสื่อ และเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการ ของแต่ละบุคคลโดยอาศัยพื้นฐานความต้องการของตัวเองเป็นหลักซึ่งการตัดสินใจเลือกรับสื่อนั้นผู้รับสานจะดูในแง่ที่ว่า คนต้องการอะไร จากสื่อใด สารประเภทไหนและสารนั้นตอบสนองความต้องการของตนอย่างไร ถือได้ว่าเป็นการเน้นความสำคัญของผู้รับสาร ในฐานะผู้กระทำการสื่อสาร โดยผู้รับสารไม่ได้เป็นเพียงผู้รับเอาอิทธิพลจากสื่อมวลชนเท่านั้น ยังต้องการการตอบสนองประโยชน์ และความพึงพอใจของตนอีกด้วย

การศึกษาในแนวการใช้ประโยชน์ และสนองความพึงพอใจจากสื่อมวลชนเน้นความเชื่อค่านิยม ทัศนคติ และความคิดเห็นส่วนบุคคลการศึกษาทฤษฎีนี้เน้นความติองการ และสาเหตุของความต้องการของประชาชนผู้ใช้สื่อมวลชนอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการทางสังคม และจิตวิทยาของผู้ใช้ ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ และความพึงพอใจนี้อธิบายว่า ในการสื่อสารแต่ละครั้งจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ควรจะเตรียมสารและเตรียมสื่อให้เหมาะสมกับผู้รับสาร กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ในการให้ข่าวสารเพื่อให้ความรู้หรือการศึกษา เพื่อชักจูงใจ หรือให้ความบันเทิง ดังนั้น เพื่อสามารถเตรียมสารและสื่อให้เหมาะสมกับผู้รับสาร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการวิเคราะห์ผู้รับสาร

วิธีการใช้สื่อ (Media Use) ตัวแปรต่อมาที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อหลังจากที่ผู้ใช้มีความต้องการและแรงจูงใจ และจะเปิดรับสื่อแล้ว ก็คือ แล้วผู้ใช้จะเปิดรับสื่ออย่างไร หรือที่เรียกว่า วิธีการใช้สื่อ แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวมาจากผลการวิจัยที่ค่อยๆสะสมมาเช่น Mark Levy(1978, อ้างถึงใน กาญจนา แก้วเทพ, 2553) ได้จัดกลุ่มเหตุผลของการดูข่าวโทรทัศน์แล้วแบ่งวิธีการใช้สื่อออกเป็น 2 วิธีคือ

1) ใช้แบบ Active กลุ่มนี้จะรวมคำตอบประเภทที่ว่า เป็ดดูข่าวเพราะคุณภาพของข่าว เพราะชอบรูปแบบรายการ เพราะชื่นชอบผู้ประกาศข่าวเป็นต้น

2) ใช้แบบ Passive กลุ่มนี้จะรวมคำตอบประเภทที่ว่าดุเพราะเป็นความเคยชิน เปิดดูสถานีช่องนี้อยู่แล้ว ดูไปเรื่อยๆ ไม่มีเหตุผลอะไร เป็นต้น

เมื่อนำแนวคิดเรื่องวิธีการใช้สื่อทั้ง 2 แบบมาใช้กับการศึกษาสื่อใหม่แล้ว มีข้อน่าสังเกตว่า จากคุณลักษณะของสื่อใหม่ตามทัศนะที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ใช้สื่อใหม่นั้นน่าจะต้องมีแนวโน้มที่จะมีวิธีการใช้สื่อแบบ Active มากกว่าPassive (ซึ่งอาจจะเป็นแบบแผนที่ตรงกันข้ามกับวิธีการใช้สื่อมวลชล) ทั้งนี้เพราะสื่อใหม่มีลักษณะเป็นการสื่อสารสองทางที่เรียกร้องการกระตุ้นให้ผู้ใช้ต้อง Active อยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวนี้ยังเป็นโจทย์การวิจัยที่น่าศึกษาค้นคว้าต่อไปว่า รูปแบบการใช้สื่อรูปแบบใหม่แบบใดที่ผู้ใช้จำเป็นต้อง Active(เช่น การเล่นเกมส์ออนไลน์ที่ผู้เล่นต้องตัดสินใจเลือกเล่นอยู่ตลอดเวลา) หรือแบบใดที่ผู้ใช้สื่อสารจะใช้อย่าง Passiveได้ (กาญจนา แก้วเทพ, 2555)

จากทฤษฎีความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ ดังกล่าว ทำให้ทราบว่า การใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ จะเน้นผู้รับสาร ให้ความสำคัญกับผู้รับสาร ว่าผู้รับสารต้องการอะไร จากสื่อใด โดยผู้รับสารไม่ได้เป็นเพียงผู้รับ เอาอิทธิพลจากสื่อมวลชลเท่านั้น ยังต้องการตอบสนองประโยชน์และความพึงพอใจของตนอีกด้วย อีกทั้งการวิเคราะห์กลุ่ม ผู้รับสาร ก็มีส่วนสำคัญ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องกับผู้รับสาร เช่น ความแตกต่างของผู้รับสารอาทิ เพศ อายุ การศึกษา ความตั้งใจและประสบการณ์ รวมไปถึงความคาดหวังและความพึงพอใจ สิ่งที่กล่าวมา ล้วนมีผลกับกลุ่มผู้รับสารเท่านั้น

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์ (2556) ได้ศึกษาเรื่องไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอพพลิเคชั่นพบว่า ไลน์เป็นรูปแบบของโปรแกรมสนทนาบนสมาร์ทโฟนที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร ความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ที่ทำให้ไลน์โดดเด่น คือ รูปแบบของสติ๊กเกอร์รวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะในด้านต่างๆ ได้แก่ การสนทนาด้วยเสียง การสื่อสารแบบกลุ่ม การสร้างไทม์ไลน์ และการสร้างเกม เป็นต้น ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวนั้นจึงทำให้ไลน์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งกับผู้ใช้ทั่วไป และเจ้าของสินค้าและบริการที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค

ประกายรัตน์ สุวรรณ (2556) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่า แอพพลิเคชั่นสื่อการสอนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และติดต่อสื่อสารกับผู้สอนผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เช่น Smart phone, iPad หรือ Android tablet เป็นต้น โดยปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่อัตราค่าบริการถูกลง ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

จากการค้นคว้าทางวิจัยเหล่านี้ ศึกษาการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ การนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร พบว่า การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ มีคุณลักษณะเฉพาะด้าน เพิ่มช่องทางในการสื่อสาร สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะมีเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นตัวเชื่อมต่อ มีความสัมพันธ์ไปในทิศททางเดียวกับการสื่อสารส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์ในทิสทางเดียวกับพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ จากข้อมูลดังกล่าวทางผู้วิจัย ได้นำข้อมูลต่างๆมาเป็นหลักฐานในงานวิจัยเรื่องนี้

กรอบแนวความคิดในการวิจัย (conceptual Framework)

ข้อมูลประชากร ความพึงพอใจ

           
    1. การประชาสัมพันธ์ เข้าใช้เข้าถึงไลน์ห้�งสมุดมีความเหมาะสมมากน้�ยเพียงใด 2. หัวข้�ผลิตภัณฑ์ Line official ข�งห้�งสมุดมีความคร�บคุลมชัดเจน 3. ข้�มูลข่าวสารจาก Line ห้�งสมุดมีความเหมาะสมมากน้�ยเพียงใด 4. การโต้ต�บสนทนาต�บคำถามข�ง Line ห้�งสมุดมีความสะดวกรวดเร็วหรื�ไม่ 5. Line ห้�งสมุดมีประโยชน์ในการใช้งานมากน้�ยเพียงใด
 
 
 
   


การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

 
  - ด้านการสื่�สาร - ด้านเวลาในการติดต่� - ด้านการทำงาน