รูปภาพของสิริ กิ่งกลางดอน
ความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
โดย สิริ กิ่งกลางดอน - อังคาร, 19 มีนาคม 2024, 03:08PM
 

ความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

Satisfaction with the maintenance of the buildings and facilities of
Assumption College NakhonRatchasima

สิริ กิ่งกลางดอน : หัวหน้างานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม : บริหารทั่วไป

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจการให้บริการสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ข้อมูลเกี่ยวกับเพศชายและหญิงพบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 42 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58 ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 8, อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 51 , อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 37 และ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีระดับการศึกษาในปริญญาตรี ร้อยละ 96 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4

ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจจะเห็นได้ว่าจะเห็นได้ว่าขั้นตอนและเอกสารในการให้บริการไม่ยุ่งยาก อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 93 จะเห็นได้ว่าด้านมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการให้บริการเกิดความรวดเร็วและถูกต้อง อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 95 มีการกำหนดระยะเวลาในการให้บริการมีความ เหมาะสมกับภาระงานที่ให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 87 การให้บริการมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทันเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 85 บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ใช้ทักษะในวิชาชีพ ตอบคำถาม แนะนำ ชี้แจงข้อสงสัยและช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 97 การติดต่อประสานงานครบถ้วน ชัดเจน และมีความเชื่อถือได้ให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90 อาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง สถานที่ ให้บริการสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96 มีระบบสุขาภิบาลที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการให้บริการตามอาคารสถานที่ต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 93 มีถนน ทางเดิน สนามหญ้า สถานที่พักผ่อน หย่อนใจ สวนหย่อม มีบรรยากาศที่ดี สะอาด และร่มรื่นอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 97 ได้รับบริการต่างๆที่มีประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการรอคอย

อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 91

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, ครูและบุคลากร, การซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่

* หัวหน้างานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม สังกัด ฝ่ายบริหารทั่วไป

 E-mail : siri394@hotmail.com

บทนำ

ปัจจุบันพบว่าการบริหารงานซ่อมบำรุงและรักษางานอาคารสถานที่ได้มีการให้บริการยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวางแผนการบำรุงและรักษางานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม เป็นงานที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมงานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ภาระงานเกี่ยวข้องกับ การวางแผนพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม การจัดบรรยากาศทั้งภายในห้องเรียนและภายในโรงเรียนให้เกิดความร่มรื่น เป็นสัดส่วน สวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดดูแลบำรุงรักษา อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน และห้องบริการต่าง ๆ ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าตามเกณฑ์ ปริมาณและตรงตามมาตรฐาน จัดให้มีเอกสารการใช้อาคาร และจัดทำประวัติการบำรุงรักษา และสรุปประเมินผลอย่างชัดเจน

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญ

นครราชสีมา

2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการให้บริการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญ

นครราชสีมา

3. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนางานสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอัสสัมชัญ

นครราชสีมา

1. ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น ตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยเพศ อายุ และ

ระดับการศึกษา

ตัวแปรตาม สถานที่มีการซ่อมบำรุงที่รวดเร็วมากน้อยเพียงใด และสิ่งแวดล้อมภายในมี

ความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

2. กลุ่มเป้าหมาย ครู บุคลากรของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา มีครูทั้งหมดจำนวน 211 คน

โดยจะทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ ความพึงพอใจ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ 5 4 3 2 และ 1 โดยจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และใช้การคำนวณหาค่าร้อยละในการวิเคราะห์หาข้อมูล

4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และใช้แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 100 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2. เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ตอนที่ 3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือข้อแก้ไขอื่นๆ

5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าในรูป ค่าความถี่ค่าร้อยละ สำหรับคำถามแต่ละข้อดังนี้

1. ข้อคำถามที่เป็นข้อมูลทั่วไปใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ

2. ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็น หรือความรู้สึก ที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ พอใจน้อย ที่สุด

พอใจน้อย พอใจปานกลาง พอใจมาก และพอใจมากที่สุด แปลผลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย

โดยให้คะแนนเป็น 5 คะแนน 4 คะแนน 3 คะแนน 2 คะแนน และ1คะแนน แบ่งเป็นระดับ ดังนี้

ระดับ 5 มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด

ระดับ 4 มีความพึงพอใจในระดับ มาก

ระดับ 3 มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง

ระดับ 2 มีความพึงพอใจในระดับ น้อย

ระดับ 1 มีความพึงพอใจในระดับ น้อยที่สุด

การแบ่งระดับความพึงพอใจผู้ศึกษาได้พิจารณาจากอัตราภาคชั้น ดังนี้

อันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด

จำนวนชั้น

แทนค่า = 5 – 1 = 0.8

5

เมื่อได้อันตรภาคชั้น สามารถนำมาแบ่งระดับความพึงพอใจได้ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 1.00–1.80 หมายถึง พอใจน้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ย 1.81–2.60 หมายถึง พอใจน้อย

ค่าเฉลี่ย 2.61–3.40 หมายถึง พอใจปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 3.41–4.20 หมายถึง พอใจมาก

ค่าเฉลี่ย 4.21–5.00 หมายถึง พอใจมากที่สุด

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและสะท้อนผล

ผลการวิจัย

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับเพศชายและหญิงพบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 42 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58

1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 8, อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 51, อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 37 และ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 4

1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในระดับประถม
ร้อยละ 0 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 0 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 0 ปริญญาตรี ร้อยละ 96 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 4

2. ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2.1 จะเห็นได้ว่าขั้นตอนและเอกสารในการให้บริการไม่ยุ่งยาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 93 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 5 และระดับปานกลาง ร้อยละ 2
2.2 จะเห็นได้ว่าด้านมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการให้บริการเกิดความรวดเร็วและถูกต้องส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 95 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 5

2.3 มีการกำหนดระยะเวลาในการให้บริการมีความ เหมาะสมกับภาระงานที่ให้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 87 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 7 และระดับปานกลาง ร้อยละ 6
2.4 การให้บริการมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทันเวลาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด

ร้อยละ 85 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 7 และระดับปานกลาง ร้อยละ 8
2.5 บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ใช้ทักษะในวิชาชีพ ตอบคำถาม แนะนำ ชี้แจงข้อสงสัยและช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 97 รองลงมาระดับมาก ร้อยละ 2

และระดับปานกลาง ร้อยละ 1
2.6 การติดต่อประสานงานครบถ้วน ชัดเจน และมีความเชื่อถือได้ให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 7 และระดับปานกลาง ร้อยละ 3
2.7 อาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง สถานที่ ให้บริการสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 96 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 4

2.8 มีระบบสุขาภิบาลที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อการให้บริการตามอาคารสถานที่ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 93 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 6 และระดับปานกลาง ร้อยละ 1

2.9 มีถนน ทางเดิน สนามหญ้า สถานที่พักผ่อน หย่อนใจ สวนหย่อม มีบรรยากาศที่ดี สะอาด และร่มรื่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 97 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 3

2.10 ได้รับบริการต่างๆที่มีประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการรอคอย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 91 รองลงมาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 6 และระดับปานกลาง ร้อยละ 3

อภิปรายผลและสะท้อนผล

ผลการวิจัยเรื่องความพึงพอใจต่อการซ่อมบำรุงรักษางานอาคารสถานที่ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาพบว่ามีการปรับปรุงด้านสถานที่ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา และเพิ่มเติมระบบสุขาภิบาลให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะ

- ควรรณรงค์ให้ครูและนักเรียนได้ช่วยรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

- การดำเนินการเรื่องอุปกรณ์ในการซ่อมแซมให้รวดเร็วที่สุด

- จัดทำตารางการตรวจสอบ บำรุงล้างเครื่องปรับอากาศเพื่อให้สะอาด เช่น 6 เดือน/ครั้ง หรือตามที่เห็นเหมาะสม

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ณัฐภัค อุทโท. (2558).การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนทางกายภาพของโรงเรียนอนุบาลวัดช่องลม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีดา จิตจิตนงค์. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนด่านม่วงคำพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมทรง สรรพสาร. (2547).การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านดูเดื่อ

อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

สุธาวรินทร ์บุญเกิด. (2550). ความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้าน
คลองยายอินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต
1. งานนิพนธ์ (กศ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

หลักฐาน Plagiarism ภาษาไทย ตรวจด้วยอักขราวิสุทธิ์