รูปภาพของปรีย์นันท์ ลองจำนงค์
ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
โดย ปรีย์นันท์ ลองจำนงค์ - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 10:29AM
 

ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Attitudes of students towards educational management (Grade 12)

of Assumption College Nakhonratchasima


ปรีย์นันท์ ลองจำนงค์ : ธุรการ – การเงิน : เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและสถิติ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

สังกัดฝ่าย • ธุรการ-การเงิน

ประเภทบุคลากร บุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา การจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากและเห็นด้วยมากน่าจะเป็นผลจากการที่โรงเรียนได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์โรงเรียน และระบบสื่อสารออนไลน์ทุกช่องทาง เพื่อพัฒนาด้านวิชาการ ระเบียบวินัย ระบบสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสาร อาคารสถานที่ โภชนาการ ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในโรงเรียนเป็นประจำ

ด้านวิชาการ อยู่ในระดับพึงพอใจมากและเห็นด้วยมาก น่าจะเป็นผลจากโรงเรียนได้นำระบบคอมพิวเตอร์ สมาร์ททีวี อินเตอร์เน็ต เทคนิควิธีใหม่ๆ และสื่อการสอนที่หลากหลาย มาใช้ในการเรียนการสอน

ด้านกิจการนักเรียน อยู่ในระดับพึงพอใจมากและเห็นด้วยมาก น่าจะเป็นผลจากโรงเรียนมีชื่อเสียงในด้านระเบียบวินัย การอบรมกริยามารยาท กฎระเบียบที่เคร่งครัด งานกิจกรรมโรงเรียนได้มีการให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความรู้ ความสามารถ มีการจัดกิจกรรมในประเพณีต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ และให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดขึ้น

ด้านบริการ อยู่ในระดับพึงพอใจมากและเห็นด้วยมาก น่าจะเป็นผลจาก โรงเรียนมีการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ โภชนาการ การให้บริการในทุก ๆ ด้าน อย่างสม่ำเสมอ มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบกล้องวงจรปิด เข้ามาช่วยในการดำเนินการทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว

คำสำคัญ : การจัดการศึกษา

บทนำ

สถานการณ์การศึกษาไทยถือว่าเป็น ปีแห่งการฟื้นฟูการศึกษา หลังต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 มานานกว่า 2 ปี ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้ง ภาคการศึกษา ที่ต้องปรับมาเรียนออนไลน์ เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss นำมาสู่ปัญหาสุขภาพจิต ความรุนแรง ทั้งตัวผู้เรียน ครู รวมถึง ครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีผลกระทบรุนแรง ทั้งทางด้านการเมือง วัฒนธรรมและการศึกษา ด้านการศึกษาได้รับผลกระทบทั้งโดยตรง เช่น การปรับลดงบประมาณ การกู้เงินจากธนาคารเพื่อพัฒนาเอเซีย (ADB) และโดยอ้อม เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง และนักเรียนที่ขาดรายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในทางการศึกษา ทำให้อัตราการลาออกกลางคันของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากนักเรียนลาออกกลางคัน เพราะไม่มีรายได้มาใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ผู้ปกครองประสบปัญหาการเลิกจ้าง และนักเรียนบางส่วนได้เข้าเรียนสถานศึกษาของรัฐ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า ทำให้โรงเรียนเอกชนบางแห่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน จำนวนนักเรียนลดลงและบางแห่งได้ปิดกิจการไปอย่างน่าเสียดาย ในภาวะเช่นนี้โรงเรียนเอกชนต้องหันมาทบทวนบทบาทและกลวิธีการดำเนินงานด้านการศึกษาเอกชน ให้สอดคล้องกับทิศทางใหม่ และกระแสผลักดันใหม่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการศึกษาเอกชนให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นประกายแห่งความอยู่รอดและก้าวหน้าต่อไป ทิศทางและกระแสผลักดันดังกล่าวได้พุ่งตรงไปที่ "คุณภาพการศึกษา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จะเปิดโอกาสให้สถานศึกษาทุกประเภททุกสังกัด รวมถึงการศึกษาเอกชน "มีส่วนร่วม" ในการจัดการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ได้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนักเรียนให้เป็นคนที่มีความดีเลิศด้านวิชาการ มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ เพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นคนที่รักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถปรับตนเองให้อยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข วิสัยทัศน์เกี่ยวกับโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทางด้านอาคารสถานที่ และเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี สามารถตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาต่อชุมชน บุคลากรมีความเชี่ยวชาญค้านวิชาชีพครู รู้จักพัฒนาตนในด้านการบริหารงานอย่างเป็นระบบ บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า มีความรัก ความผูกพันธ์ต่อโรงเรียน ดังนั้นเพื่อมุ่งมั่นสู่วิสัยทัศน์ จึงได้มีการส่งเสริมพัฒนาครู นักเรียน โดยการสนับสนุนให้ครูและนักเรียนฝึกปฏิบัติ รู้จักเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยให้เกิดความชำนาญอย่างเป็นเลิศในสังคมท้องถิ่น ปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรม จริยธรรม ของบุคลากร นักเรียน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรอย่างต่อเนื่องและมีคุณค่า เพื่อให้บรรลุถึงความเสียสละของส่วนรวมถึงการดำรงชีวิตตามระบบประชาธิปไตย จัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอนของบุคลากร นักเรียน โดยการปรับปรุงอาคารสถานที่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับสังคม การจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง การเป็นจุดศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง และให้เกิดความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนกับบุคลากร โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการร่วมบริหารองค์การครบทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อ สถาบันจะได้เป็นผู้นำทางด้านการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการเข้าร่วมพัฒนาสภาพชีวิตของสังคมในด้านวัฒนธรรมเพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่อย่างสันติสุข สร้างเสริมความรัก ความผูกพันธ์ของครู นักเรียน ศิษย์เก่ากับสถาบัน โดยการประชาสัมพันธ์โรงเรียน เน้นการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผูกจิตสำนึกต่อสถาบันให้เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมพลังพัฒนาโรงเรียน

ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งได้ตั้งหลักการปฏิบัติไว้ชัดเจนแล้วนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนนั้นมีความสำคัญต่อการนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการจัดการศึกษาเพื่อหาคำตอบนี้

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

ตัวแปรต้น (Independent Variable)

ตัวแปรตาม (Dependent Variable)

เพศ

แผนการเรียน

การจัดการศึกษาของโรงเรียน

ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา

ผลการเรียน

ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน

มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ "ถือว่าผู้เรียนม่ความสำคัญที่สุด"

มาตรา 23 การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่อง ต่อไปนี้

(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว
ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์
ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

การกำหนดเนื้อหาสาระของหลักสูตรจะต้องพิจารณาระดับการศึกษาประเภทของการศึกษา และความถนัดส่วนบุคคลมาประกอบด้วย การศึกษาระดับที่สูงขึ้นไปย่อมจัดหลักสูตรที่เน้นสาขาวิชาและสาขาวิชาเฉพาะมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานก็ควรจะต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า หลักสูตรแกนกลางที่เน้นตัวร่วมหรือค่านิยมร่วม(Core Values) ระดับชาติ และจะต้องมีหลักสูตรที่สะท้อนปัญหา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นด้วย
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา และนันทนาการแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียง และมีประสิทธิภาพ มาตรานี้จะช่วยส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งรวมความถึงการศึกษาต่อเนื่องในความหมายเดิมของระบบการศึกษานอกโรงเรียน ฉะนั้น การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ (ต่อเนื่อง) จึงกระทำได้ในชุมชนต่างๆ

มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวชุมชน สังคม และประเทศชาติ มาตรา 27 กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำหลักสูตรไว้เป็น 2 ระดับ ระดับชาติให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง ส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำสาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่น การจัดทำหลักสูตรของสองส่วนนี้ เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน การสอนหลักวิชาตามหลักสูตรแกนกลางนั้น สามารถนำเอาเนื้อหาสาระของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นวิชาประวัติศาสตร์ ที่มุ่งหมายให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมาของชุมชนของตนเอง และของชาติ หรือการสอนวิชาชีพก็จะสามารถนำข้อมูลอาชีพในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบของการเรียนการสอน จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง "เพื่อความเป็นไทย" นั้น ก็หมายถึงความเป็นไทยในลักษณะที่มีเอกลักษณ์จากชาติอื่น ฉะนั้น ความเป็นไทยในความหมายนี้รวมถึงวัฒธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกๆ แห่งที่ปรากฎในอาณาจักรไทยปัจจุบัน

มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลายทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม

มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารและรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน

มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัย เรื่อง ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อการดำรงอยู่ ของสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยคณะผู้จัดทำ นางยุพิน ชัยราชา สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ,มนัส สุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ , สมาน ฟูแสง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ , สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสถานศึกษา และระดับความสำคัญของปัจจัยในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ 2) กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการ และ 3) ตรวจสอบคุณภาพของยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียน 11 โรง จำนวน 355 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสอบถาม และ สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนา และ SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ก่อตั้งโดยมิชชันนารี เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน 100 กว่าปี มีจุดเด่นในด้านการปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และด้านภาษาอังกฤษ และระดับความสำคัญของปัจจัยในการบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยมากที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ เศรษฐกิจ รองลงมาคือสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ตามลำดับ 2) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและปัจจัยการบริหารจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสถานศึกษา สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานวิชาการ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานบุคคล ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงบประมาณ และยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทั่วไป ประกอบด้วย กลยุทธ์ทั้งหมด 24 กลยุทธ์ และ 3) คุณภาพของยุทธศาสตร์มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของ โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน 3 ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านงานบริการ

2. พื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน 3 ด้าน คือ ด้านงานวิชาการ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านงานบริการ

วิธีวิจัย

1. กลุ่มเป้าหมาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน ทั้งสิ้น 262 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ( Questionnaire ) แบ่งเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 เป็นการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 ข้อ

ตอนที่ 2 เป็นการสอบถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ด้านงานวิชาการ งานกืจการนักเรียน งานบริการ รวม 30 ข้อ

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

ลักษณะของแบบสอบถามที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) มี 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปแจกให้

กับประชากรด้วยตนเอง จำนวน 262 ฉบับ ตามจำนวนประชากรที่กำหนด และใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3 เดือน

4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การคำนวณหาค่าร้อยละ ( Percentage )

ค่าร้อยละ = ความถี่ของรายการ x 100

ความถี่ทั้งหมด

ผลการวิจัย

1. ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

1.1 ข้อมูลเกี่ย

(แก้ไขโดย ชูเกียรติ ไชยทวีวิวัฒน์กุล - อังคาร, 26 มีนาคม 2024, 10:24AM)