รูปภาพของนิรมล ศิริปรุ
การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566
โดย นิรมล ศิริปรุ - พุธ, 27 มีนาคม 2024, 02:50PM
 

การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ปีการศึกษา 2566

A study of the self-development needs of Assumption College Nakhonratchasima Academic Year 2023

มิสนิรมล ศิริปรุ : งานทรัพยากรมนุษย์/งานธุรการฝ่าย : สำนักผู้อำนวยการ

ประเภท บุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1)เพื่อศึกษาศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา2)เพื่อเป็นแนวทางในการการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา 3)เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยโดย ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยแบ่งเป็นคำถามปลายปิด แบ่งออกเป็น 2 ตอน ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นแบ่งเป็นระดับความคิดเห็น 5 ระดับ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า

1. ในการศึกษาข้อมูลทั่วไปพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ต้องแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี มีอายุการทำงานระหว่าง 6-10 ปี

2.  จากการศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ผู้วิจัย

จึงของอภิปลายผลการวิจัยดังนี้

2.1 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการด้านการศึกษาต่ออยู่ในระดับความต้องการมาก 

2.2 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการฝึกเชิงปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด

2.3 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการปานกลาง

2.4 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการอบรม/สัมมนาโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด

2.5  การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการศึกษาดูงานต่างประเทศโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

2.6 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

2.7 การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการพัฒนาสื่อการเรียนการอสนโดยใช้เทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

คำสำคัญ : การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ปีการศึกษา 2566

การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจ

สภาพปัญหา

ในปัจจุบันบุคลากรจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหารงาน องค์กรหรือหน่วยงานใดๆ ก็ตามจะสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพและศักยภาพของบุคลากร ซึ่งหมายถึง บุคคลต้องมีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และทัศนคติที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคน การคัดเลือกสรรหาบุคคลเข้าทำงานนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้คนดี มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับการทำงาน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตอลดจนมีความค้นพบวิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการบริหารงานและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้บุคลากรที่เลือกสรรเข้ามาในองค์การหรือหน่วยงานที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในการทำงานในขณะหนึ่งก็อาจจะกลับกลายเป็นผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดี จึงเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานที่จะต้องพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ ให้มีคุณภาพและศักยภาพเพิ่มขึ้นให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ดังนั้น การศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาเป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้บริหารโรงเรียนได้ทราบถึงความต้องในการ พัฒนาตนเองของครู ว่ามีเรื่องใดบ้าง เพื่อสามารถส่งเสริม และสนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองตรงตามความต้องการ และยังเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับหน่วยงานในโรงเรียน ได้จัดการพัฒนาบุคลากรตรงตาม ความต้องการและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)


วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. เพื่อเป็นแนวทางในการการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

3. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและ ความรู้สึกทางลบ ความรู้สึกทางบวกเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสุข ความสุขนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้สึกทางบวกอื่นๆ กล่าวคือ เป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับความสุขสามารถทำให้เกิดความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความสุขเป็นความรู้สึกที่สลับซับซ้อน และความสุขนี้จะมีผลต่อบุคคลมากกว่าความรู้สึกในทางบวกอื่นๆ ขณะที่วิชัย (2531) กล่าวว่า แนวคิดความพึงพอใจ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความต้องการของมนุษย์ กล่าวคือ ความพึงพอใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อความต้องการของมนุษย์ได้รับการตอบสนอง ซึ่งมนุษย์ไม่ว่าอยู่ในที่ใด ย่อมมีความต้องการขั้นพื้นฐานไม่ต่างกัน

พิทักษ์ (2538) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นปฏิกิริยาด้านความรู้สึกต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่แสดงผลออกมาในลักษณะของผลลัพธ์สุดท้าย ของกระบวนการประเมิน โดยบ่งบอกทิศทางของผลการประเมินว่าเป็นไปในลักษณะทิศทางบวกหรือทิศทางลบหรือไม่มีปฏิกิริยาคือเฉยๆ ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุ้น

นิยามศัพท์เฉพาะ

บุคลากร หมายถึง ครุและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

การพัฒนาบุคลากร หมายถึง การเพิ่มความถนัด ทักษะและความสามารถเฉพาะอย่างในการทำงานเพื่อเพิ่มพูนและปรับปรุงคุณภาพของผู้ปฏิบัติงาน

วิธีการวิจัย

1. ตัวแปรที่ศึกษา

1) ประชากร บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2) กลุ่มตัวอย่าง บุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 50 คน

3) ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ - ประกอบด้วย ได้แก่ สถานภาพ ประกอบด้วย เพศ วุฒิ การศึกษา ระดับการศึกษา และประสบการณ์

ตัวแปรตาม ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 50 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ

4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ดำเนินการแจกแบบสอบถามศึกษาความพึงพอใจในการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ประจำปีการศึกษา 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 คน จากครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

 สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและสะท้อนผล

ผลการวิจัย

 ดำเนินการวิจัยโดย ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยแบ่งเป็นคำถามปลายปิด แบ่งออกเป็น 2 ตอน ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นแบ่งเป็นระดับความคิดเห็น 5 ระดับ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

อภิปรายผลและสะท้อนผล

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้การอภิปลายผล ดังต่อไปนี้

1.ในการศึกษาข้อมูลทั่วไปพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ต้องแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี มีอายุการทำงานระหว่าง 6-10 ปี

2.จากการศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ผู้วิจัย

จึงของอภิปลายผลการวิจัยดังนี้

2.1การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการด้านการศึกษาต่ออยู่ในระดับความต้องการมาก

2.2การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการฝึกเชิงปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด

2.3การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการปานกลาง

2.4การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการอบรม/สัมมนาโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด

2.5การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการศึกษาดูงานต่างประเทศโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

2.6การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

2.7การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

โดยรวมมีความต้องการพัฒนาสื่อการเรียนการอสนโดยใช้เทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับความต้องการมาก

ข้อเสนอแนะ

 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. นักวิจัยและผู้สนใจสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินการวิจัยได้

2. หน่วยงานหรือองค์กรด้านวิจัยสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อจัดการงานวิจัยเพื่อให้มีประสิทธิภาพ

บรรณานุกรม (Bibliography)

ชูชัย สมิทธิไกร. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, 2549.

ธงชัย สันติวงษ์. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2540.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์แนวทางใหม่. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริม เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2542.

พนัส หันนาคินทร์. การบริหารงานบุคคลในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเนส, 2542.

สมชาย หิรัญกิตติ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2542

หลักฐาน Plagiarism ภาษาไทย ตรวจด้วยอักขราวิสุทธิ์