รูปภาพของสุทิศา ภมรพล
ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
โดย สุทิศา ภมรพล - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 10:30AM
 

ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

Satisfaction of employees towards welfare

Of Assumption College, Nakhonratchasima

สุทิศา ภมรพล : ธุรการ-การเงิน : กรรมการที่ปรึกษาฯ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 ของประชากร ได้โดยการเลือกสุ่มพนักงานทั้ง 2 แผนก คือ แผนกอาคารสถานที่ ,แผนกโภชนาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS

ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทางโรงเรียนได้จัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมให้กับพนักงานทุกคนด้วยความเสมอภาค ซึ่งแนวคิดของ กชกร รพีกาญจน์ (2549) ความพึงพอใจในค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงานบริษัท ธานินท์ เอลน่า จำกัด ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีความไม่พอใจในด้านต่างๆต่อไปนี้ ด้านค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากค่าจ้าง พนักงานมีความไม่พอใจในการจ่ายโบนัส ค่าจ้าง และค่ากะมากที่สุด เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เห็นว่าระดับค่าจ้างที่ได้รับน้อยเกินไปและไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และควรเลือกที่จะพิจารณาค่าจ้างและโบนัส จากผลงานที่พนักงานแต่ละคนได้ทำ และยังไม่พอใจกับการจัดที่พักอาศัย ห้องน้ำ ด้านการศึกษาอีกด้วย

 เมื่อพิจารณาแล้ว พนักงานมีความพึงพอใจในสวัสดิการของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพนักงานไม่ได้รับความสะดวกในการขอรับสวัสดิการต่างๆ และขาดการประสานงานระหว่างพนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจระดับปานกลาง อีกทั้งพนักงานส่วนใหญ่มีอายุงานอยู่ในช่วง 1 – 5 ปี จึงอาจไม่ทราบกฎระเบียบต่างๆของโรงเรียนและขาดการติดต่อประสานงานโดยตรงกับผู้รับผิดชอบ จึงทำให้ไม่มีความสะดวกในการขอรับสวัสดิการต่างๆ

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (โดยย่อ)

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาเป็นโรงเรียนเอกชน ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นเวลากว่า 56 ปี โดยคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีคณะภราดาเป็นผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมานับว่าเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างดี และมีพนักงานที่คอยดูแลด้านความสะอาดของอาคารสถานที่และพนักงานที่ดูแลเรื่องโภชนาการ มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมปฐมวัย – มัธยมศึกษา นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังดำเนินการจัดซื้อวัสดุบริหารต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน ทั้งยังจัดให้บริการขายอาหารและเครื่องดื่มในรูปของโรงอาหาร มินิมาร์ท ซึ่งในการดำเนินการต่างๆ ได้มอบหมายให้พนักงานของโรงเรียนเป็นผู้ดูแลทั้งเรื่องความสะอาดและโภชนาการ

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาเป็นสถานศึกษาที่ประกอบด้วยบุคลากร จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ครูและพนักงาน ซึ่งพนักงานจะแบ่งเป็น 2 แผนก คือ แผนกโภชนาการและแผนกอาคารสถานที่ ในแต่ละปีการศึกษาการจัดวางอัตรากำลังของพนักงานให้ตรงกับความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด โรงเรียนจึงมีสวัสดิการต่างๆ ให้กับพนักงานเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่

ดังนั้น แผนกการเงินจึงได้จัดทำวิจัยเพื่อสำรวจความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียน เพื่อจะได้ทราบถึงระดับความพึงพอใจของพนักงาน ความต้องการและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นตามมุมมองของแต่ละคน เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรต่อไปนี้

2. แนวคิดเชิงทฤษฎี (โดยย่อ)

ความหมายของความพึงพอใจ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

วิลาวรรณ คุณเจริญ (2544) ให้ความหมายความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสำเร็จตามความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

กิตติศักดิ์ มีฤทธิ์ (2545) ให้ความหมายความพึงพอใจ หมายถึง สภาพความต้องการที่ได้รับการตอบสนองเกิดเป็นความรู้สึกที่ดี ที่ชอบ ประทับใจ ที่มีต่อสิ่งนั้นๆ โดยเมื่อพอใจสิ่งใดแล้วก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม โดยเข้าร่วมกับกิจกรรม อุทิศแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาที่จะทำกิจกรรมนั้น

สรุป ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดจากสภาพความต้องการที่ได้รับการตอบสนองในทางบวกหรือทางลบ เป็นการแสดงถึงความรู้สึกเพื่อประเมินว่าเป็นไปในลักษณะใด

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2) เพื่อศึกษาความต้องการและปัญหาของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยจำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ เงินเดือน

4. นิยามศัพท์เฉพาะ

สวัสดิการ หมายถึง ประโยชน์ที่พนักงานในองค์กรได้รับ นอกเหนือจากค่าจ้าง อาจเป็นทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ได้ตัวเงินก็ได้

ความพึงพอใจ หมายถึง การรู้สึกพึงพอใจกับการที่ได้รับค่าจ้าง และสวัสดิการเหมาะสมของพนักงานโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

5. วิธีดำเนินการ

1) ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา 70 คน

2) กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 ของประชากร โดยการเลือกสุ่มพนักงานทั้ง 2 แผนก คือ แผนกอาคารสถานที่และแผนกโภชนาการ

3) ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยจำแนกออกเป็น เพศ อายุ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน

ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ซึ่งสามารถวัดได้จากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านสวัสดิการ ด้านเงินเดือน และด้านสภาพการทำงาน

กรอบแนวคิด

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรตาม


เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามพนักงานในโรงเรียนที่เกี่ยวกับการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยได้ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้

1. ศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียนและพนักงานในโรงเรียน ที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

2. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของการให้สวัสดิการ ตัวแปรที่ต้องการวิจัยจากเอกสารงานวิจัยรวมทั้งแหล่งข้อมูลอื่นๆ

3. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการ เพื่อร่างข้อคำถามของแบบสอบถามโดยให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการศึกษา

4. นำร่างแบบสอบถาม เสนอและปรึกษาหน่วยงานวิจัยของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและสำนวนภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม และนำมาปรับปรุงแก้ไข

5. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ไปแจกให้กับกลุ่มตัวอย่าง

4) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้

1. ผู้วิจัยได้ฝึกผู้ช่วยวิจัย 1 คน โดยเป็นพนักงานของโรงเรียน ซึ่งแนะนำวิธีการในการดำเนินเกี่ยวกับการส่งและการเก็บรวบรวมแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน

2. ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำแบบสอบถามไปแจกพนักงานในโรงเรียน โดยตรงและเก็บรวมรวมแบบสอบถามคืนภายใน 7 วัน

3. นำแบบสอบถามที่ได้มาทำการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความสอดคล้องของคำตอบที่ได้ในแบบสอบถามทุกฉบับ ก่อนลงรหัสและป้อนข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมควมพิวเตอร์ SPSS

4. ผลการเก็บรวมรวมข้อมูลแบบสอบถามที่ส่งไป มีดังนี้

แจกแบบสอบถามแก่บุคลากร จำนวน 50 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 62.50 ของพนักงานในโรงเรียนทั้งหมดและเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทุกฉบับ สามารถนำไปใช้ในการวิจัยได้

5) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อผู้วิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลในแบบสอบถามทุกชุด และลงรหัสในแบบสอบถามตามคู่มือลงรหัสที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมสถิติ SPSS 11.00 เพื่อวิเคราะห์คำนวณและประมวลผลข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ดังต่อไปนี้

1. หาค่าร้อยละ (Percentage)

2. ค่าเฉลี่ย (x̄)

3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

6. ผลการวิจัย

1. ข้อมูลทั่วไปของพนักงานโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 90.0 เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 10.0 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 40.0 รองลงมามีช่วงอายุ 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.0 ช่วงอายุตั้งแต่ 51 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.0 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 12.0 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 58.0 รองลงมา คือ มัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.0 และประกาศนียบัตร ร้อยละ 6.0 โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในแผนกงานโภชนาการ ร้อยละ 56.0 ส่วนที่เหลือเป็นแผนกอาคารสถานที่ คิดเป็นร้อยละ 44.0 ซึ่งส่วนใหญ่มีช่วงอายุงาน 1 – 5 ปี ร้อยละ 32.0 ช่วง 11 – 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.0 ช่วง 6 – 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.0 และช่วง 16 – 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 18.0

2. ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าพนักงานของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา มีระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนมาก คือ ข้อที่ 1 การได้รับมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถและมีปริมาณที่เหมาะสมค่าเฉลี่ย 3.84 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 11 ความสะดวกในการขอรับสวัสดิการต่างๆ ค่าเฉลี่ย 2.98

7. อภิปรายผล

จากผลกาวิจัยความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา สามารถนำมาอภิปลายผลได้ดังนี้

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อสวัสดิการของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทางโรงเรียนได้จัดสรรสวัสดิการที่เหมาะสมให้กับพนักงานทุกคนด้วยความเสมอภาค ซึ่งแนวคิดของ กชกร รพีกาญจน์ (2549) ความพึงพอใจในค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงานบริษัท ธานินท์ เอลน่า จำกัด ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีความไม่พอใจในด้านต่างๆต่อไปนี้ ด้านค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่นๆ นอกเหนือจากค่าจ้าง พนักงานมีความไม่พอใจในการจ่ายโบนัส ค่าจ้าง และค่ากะมากที่สุด เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่เห็นว่าระดับค่าจ้างที่ได้รับน้อยเกินไปและไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และควรเลือกที่จะพิจารณาค่าจ้างและโบนัส จากผลงานที่พนักงานแต่ละคนได้ทำ และยังไม่พอใจกับการจัดที่พักอาศัย ห้องน้ำ ด้านการศึกษาอีกด้วย

เมื่อพิจารณาแล้ว พนักงานมีความพึงพอใจในสวัสดิการของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพนักงานไม่ได้รับความสะดวกในการขอรับสวัสดิการต่างๆ และขาดการประสานงานระหว่างพนักงานและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจระดับปานกลาง อีกทั้งพนักงานส่วนใหญ่มีอายุงานอยู่ในช่วง 1 – 5 ปี จึงอาจไม่ทราบกฎระเบียบต่างๆของโรงเรียนและขาดการติดต่อประสานงานโดยตรงกับผู้รับผิดชอบ จึงทำให้ไม่มีความสะดวกในการขอรับสวัสดิการต่างๆ

8. ข้อเสนอแนะ

1. คณะผู้บริหาร คณะครู / เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ควรให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยของบุคลากรด้วยความจริงใจ เพื่อจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้นในการวิเคราะห์และประมวลผล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนางานที่ปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. การตรวจสอบงานวิจัยจากคณะครูที่นำส่ง ควรมีการติดตามประเมินในส่วนที่ผู้วิจัยจะต้องพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าผู