รูปภาพของมนทิรา อำภาวงษ์
Role of public relations media affects the decision to enter secondary 4 in academic year 2023, Assumption College Nakhonratchasima.
โดย มนทิรา อำภาวงษ์ - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 12:56PM
 

บทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

Role of public relations media affects the decision to enter secondary 4

in academic year 2023, Assumption College Nakhonratchasima.

มนทิรา อำภาวงษ์* : ฝ่ายธุรการ – การเงิน : บุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามในการวิจัยเป็นหลัก และใช้เอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อสนับสนุนการวิจัย ซึ่งมีประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ผลการศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมามีแนวทางในการขยายสถาบันเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นรวมไปถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการจูงใจ โน้มน้าวใจ หาวิธีการที่มีประสิทธิภาพและจูงใจนักเรียนให้เข้ามาศึกษาที่สถาบัน โดยใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เกิดความเข้าใจ สร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาสร้างแรงจูงใจในการศึกษา ให้นักศึกษามีความต้องการที่เข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆที่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา แห่งนี้อย่างถาวรสำหรับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมามีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อบุคคล เป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมานำมาใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์การรับเข้าของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จากความสำคัญในข้างต้นทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจทำให้การศึกษาบทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เพื่อผลการศึกษาจะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์โรงเรียนอัสสัมชัญและปรับปรุงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาให้มีความเหมาะสมและเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่สถาบันและจูงใจให้นักเรียนและผู้ปกครองเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมาเพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ : สื่อประชาสัมพันธ์ กระบวนการตัดสินใจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

* งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สังกัด ฝ่ายธุรการ-การเงิน

 E-mail : monthira2428@gmail.com

บทนำ

 สภาพปัญหา สังคมในปัจจุบัน เมื่อมองไปทิศทางใดก็ล้วนมีแต่เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ แผ่นปลิว แผ่นพับ ป้ายโฆษณาตามถนนหนทาง สื่อโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือแม้แต่สื่อโซเซียลมีเดียต่างๆได้แก่ เวปไซด์ ไลน์ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ติ๊กต๊อก ก็สามารถพบเห็นกันได้ตลอดเวลา จนในบางทีรู้สึกเหมือนกับสื่อเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของทุกคน การใช้สื่อมีประโยชน์มากมายในด้านการแจ้งข่าวสาร เป็นการโฆษณาการประชาสัมพันธ์ เป็นการให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ แต่ในทางตรงกันข้าม สื่อประชาสัมพันธ์ก็สามารถเป็นดาบสองคม อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้ อาจทำให้นำไปสู่ความสับสนในการสื่อสาร ความหมายที่ไม่ตรงกัน ดังนั้นการใช้สื่อที่ดีต้องศึกษาเรื่องที่ต้องการจะสื่อสารว่ามีกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร ต้องใช้สื่อใดในการประชาสัมพันธ์ เพื่อที่จะได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและสามารถสื่อสารได้ตรงวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ

 

สถาบันการศึกษาเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้มีการนำสื่อประชาสัมพันธ์มาใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อการศึกษา ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างกระบวนการปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้สื่อการประชาสัมพันธ์ในแขนงต่างๆ ในปัจจุบันนี้ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา นอกจากนี้สื่อประชาสัมพันธ์ยังเป็นการสร้างเสริมความสัมพันธ์และมิตรไมตรีอันดี ระหว่างองค์กร สถาบันหรือโรงเรียนกับกลุ่มประชาชนทั่วไปนั่นเอง ซึ่งความสัมพันธ์และมิตรไมตรีอันดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเป็นเครื่องมือนำเอาข้อมูลและเนื้อหาสาระจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง

การสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่สถาบันนั้น จำเป็นต้องใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดภาพพจน์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้องค์การดำเนินงานไปด้วยดี สร้างความเชื่อมั่น สร้างความเข้าใจการยอกรับและความเชื่อถือจากประชาชนทั่วไป (วิมลพรรณ อาภาเวท,2546)

ถ้าสถาบันใดมีภาพพจน์ที่ดีจะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจและการสนับสนุนร่วมมือให้สถาบันร่วมมือให้สถาบันนั้นประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน แต่ถ้าสถาบันใดมีภาพพจน์ที่ไม่ดี ย่อมได้รับการต่อต้านและการดูหมิ่นเกลียดชังภาพพจน์จึงเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของสถาบันต่างๆ (วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์,2545)

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)