รูปภาพของดร.ยุภาพร เทพสุริยานนท์
ความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา
โดย ดร.ยุภาพร เทพสุริยานนท์ - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 01:27PM
 

ความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา

MULTIPLE INTELLIGENCES ABILITIES OF YOUNG CHILDREN OBTAINED
THOUGH ACTIVITIES LEARNING ON MULTIPLE INTELLIGENCES

ดร.ยุภาพร เทพสุริยานนท์ : หัวหน้าฝ่ายปฐมวัย : ฝ่ายปฐมวัย
โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้านจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญาในห้องเรียนพหุปัญญาในแต่ละสัปดาห์ของการจัดการเรียนการสอน ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นปฐมวัย 1-3 จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคะแนนเฉลี่ยใช้สูตร (นิภา ศรีไพโรจน์. 2527: 149)

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ร่วมบริหารมีความรู้ความเข้าใจด้านพหุปัญญาอยู่ในระดับมากและ
มีกระบวนการพัฒนาที่หลากหลาย ในรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการสอนแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาเด็กตามความสามารถ ตามความสนใจ คุณครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีความรู้เกี่ยวกับพหุปัญญาร้อยละ 90.00 และมีความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญาอยู่ในระดับมาก และมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อตามความสามารถทางพหุปัญญา และผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย มีบทบาทในการสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัย ตามศักยภาพ ตามความถนัด ความสนใจ จากการบันทึกความถนัดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 พบว่า ด้านมิติสัมพันธ์และด้านร่างกายมากที่สุดร้อยละ 87.63 รองลงมาได้แก่ด้านธรรมชาติ ร้อยละ 82.47 และน้อยที่สุดได้แก่ด้านคิดใคร่ครวญ ร้อยละ 49.48 เป็นแนวทางในการส่งเสริมความสามารถของเด็กปฐมวัยในระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3

คำสำคัญ : ทฤษฎีพหุปัญญา, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา, การประเมินความสามารถ
ทางพหุปัญญา, เด็กปฐมวัย

* หัวหน้าฝ่ายปฐมวัย สังกัด ฝ่ายปฐมวัย

E-mail : yuphaporn000@gmail.com

บทนำ

การพัฒนาคุณภาพเด็กให้เป็นคนเก่ง คนดี มีสุขภาพพลานามัยที่ดี คิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็น สามารถสร้างด้วยตนเอง ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จ (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2542 :5-6) การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการพัฒนาการเด็ก ช่วยให้เด็กเกิดทักษะ รูปของการจัดกิจกรรม จะบูรณาการ ซึ่งต้องให้สอดคล้องกับวัย และความสนใจ ที่เหมาะสมกับอายุ วุฒิภาวะ ระดับพัฒนาการ
การจัดการศึกษาในปัจจุบันมุ่งจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีกิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลาย มีการนำสื่อ และเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมเพื่อพัฒนาปัญญาและศักยภาพของเด็ก โดยคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทุกด้าน การจัดกิจกรรมที่หลากหลายผ่านการเล่นและประสบการณ์ตรง เด็กได้เรียนรู้จากการคิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งเป็นแนวทางที่จะสามารถส่งเสริมและพัฒนาความสามารถ จากนโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนในเด็กปฐมวัย
Play and Learn Together ผู้วิจัยจึงสนใจที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนพหุปัญญาเพื่อพัฒนาการด้านสติปัญญาให้กับเด็กปฐมวัย โดยเด็กได้รับความรู้ มีความสุข สนุกสนาน ร่าเริงเหมาะสมตามวัย มีความมั่นใจกล้าแสดงออก เกิดการเรียนรู้และมีความสามารถทางพหุปัญญา ซึ่งผลในการวิจัยนี้จะนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมความสามารถของเด็กปฐมวัยในระดับที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยแต่ละด้านจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว
พหุปัญญา

วิธีดำเนินการวิจัย

1) ประชากร นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 298 คน
2) กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่
2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 98 คน
3) ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ
การจัดห้องเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา
ตัวแปรตาม
ความสามารถทางด้านพหุปัญญา ประกอบด้วย

1. ความสามารถด้านภาษา
2. ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
3. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
4. ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
5. ความสามารถด้านดนตรี
6. ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
7. ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง
8. ความสามารถด้านธรรมชาติวิทยา
9. ความสามารถด้านความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ

ผลการวิจัย และอภิปรายผล
ผลการวิจัย

1. ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านพหุปัญญาอยู่ในระดับมาก และมีกระบวนการพัฒนางาน
ที่หลากหลายเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน

2.
ครูผู้สอนมีความรู้เข้าเข้าใจเกี่ยวกับพหุปัญญาร้อยละ 85 จากการบันทึกแผนจัดประสบการณ์แต่ละระดับชั้น
3.
เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ก่อนได้รับการจัดกิจกรรมมีความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลางเล่นได้ทุกกิจกรรมไม่เลือกตามความชอบของตนเอง แต่เลือกตามความสนใจของเพื่อนๆ ในห้องเรียน แต่หลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยคุณครูประจำชั้นและคุณครูผู้ช่วยประจำชั้น มีความสามารถทาง พหุปัญญาแต่ละด้านอยู่ในระดับสูงขึ้นชัดเจน
4.
เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมพหุปัญญามีความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้านคือ ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ความสามารถด้านดนตรี ความสามารถด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง และความสามารถด้านธรรมชาติ และด้านความเป็นไปของชีวิตสูงขึ้น
5.
ผู้ปกครองระดับปฐมวัยมีบทบาในการสนับสุน ได้เรียนในการพัฒนาต่มความถนัดและความสนใจ

อภิปรายผล

1. ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจด้านพหุปัญญาอยู่ในระดับมากและมีกระบวนการพัฒนางานที่หลากหลาย ที่เอื้อต่อการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญาและมีผลปรากฏที่ดีต่อครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีการวางแผนในการพัฒนาครู การนิเทศครูโดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านพหุปัญญา สามารถนิเทศเพื่อร่วมงาน ร่วมกันเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนา

2. โรงเรียนมีการจัดสถานที่ที่เหมาะสมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดห้องสื่อ ห้องพหุปัญญา ห้องดนตรี ห้องคีย์บอร์ด ห้องนาฎศิลป์ ห้องโยคะ ห้อง INTERACTIVE และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออก กระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้

3. คุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญาอยู่ในระดับมาก และมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา มีการจัดทาแผนการเรียนรู้ การออกแบบใบงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาตามพหุปัญญา การเลือกเรื่องและแหล่งเรียนรู้ การประเมินผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านพหุปัญญา นักเรียนได้รับความสุขจากการจัดกิจกรรม

4. ผู้ปกครองนักเรียนระดับปฐมวัย มีบทบาทในการสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามวัยตามศักยภาพ ตามความถนัด ความสนใจ จัดหาอุปกรณ์ สื่อ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมทุกกิจกรรมของโรงเรียน

5. นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ส่วนใหญ่ มีพัฒนาการอยู่ในระดับสูงทุกด้าน

6. นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 มีความสามารถทางพหุปัญญาอยู่ในระดับสูงทุกรายการ

7. โรงเรียนมีการจัดการที่เหมาะสมและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ เช่น มีการประชุมครูประจำเดือนของฝ่ายปฐมวัยและสร้างความเข้าใจเรื่องการสอนแบบพหุปัญญา การสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ในห้องพหุปัญญา การนิเทศภายในจากหัวหน้างานนิเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเชิญวิทยากรภายนอกมาเสริมความรู้ให้กับคุณครู ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้

8. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความามารถพหุปัญญาด้านต่างๆให้ผู้ปกครองได้ชื่นชมตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของฝ่ายปฐมวัย ตามกิจกรรมและงานตามโครงสร้าง ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายตามการจัดการเรียนรู้ด้านพหุปัญญา บุคลากรทุกฝ่ายได้รับรู้ร่วมกัน ให้ความร่วมมืออย่างเต็ม ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ มีความสุข รักคุณครู รักโรงเรียน

ข้อเสนอแนะ

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียนระดับปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนที่ต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้การพัฒนาความสามารถ ความสนใจตามธรรมชาติให้เต็มตามศักยภาพ และเพื่อส่งต่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องเมื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
2. คุณครูผู้สอนและผู้ปกครอง พ่อแม่ ต้องประสานงานกันทุกรูปแบบ ที่จะส่งต่อข้อมูลพัฒนาการ
ทุกด้านซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมมือพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามศักยภาพของผู้เรียน การจัดการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา ควรมีแผนการจัดการเรียนรู้หลาย ๆ ลักษณะให้ เหมาสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน สอดคล้องกับลักษณะของการจัดการเรียนรู้
3. โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ ได้แสดงออกและได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม เพื่อเสริมต่อพัฒนาด้านต่างๆ โดยเชิญผู้ปกครอง เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อสนับสนุนติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เป็นแนวทางสำหรับคุณครู ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจนำการจัดกิจกรรมพหุปัญญาไปประยุกต์และบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามความสามารถและความถนัดเหมาะสม
ตามวัย

บรรณานุกรม

ชมพูนุช ศุภผลศิริ. (2551). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทำหนังสือเล่มใหญ่. ปริญญานิพนธ์. กศ.. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
นพเนตร บวรธรรม. (2545).
การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี กัลยา. (2551). ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.__
เยาวพา เดชะคุปต์. (2544) การพัฒนาพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สาหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สาเด็กสานักงานการประถมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2544. 
วรรณิษา บัวสุข. (2553). ความสามารถทางด้านพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่รับจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา.ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สรัญธร ฉันทวรภาพ , บัวพรรณ คาเฉลา และ ดร.วีรพงษ์ สุทาวัน. LEARNING MANAGEMENT FOR MULTI-INTELLIGENCE DEVELOPMENT FOR EARLY CHILDHOOD STUDENTS IN THE KAMPHAENG PHET ELEMENTARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE, ACADEMIC YEAR 2019 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. ปีการศึกษา 2562
สลิลทิพย์ สุดสงวน
, ศักดิ์ชาย ตั้งวรรณวิทย์ และ ทิพยา จินตโกวิท.การพัฒนาแบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาแบบ 2 ทาง สาหรับเด็กวัยประถมศึกษาตอนต้น.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564

Sweeney,D.EB. (1998). “Multiple intelligence profiles : Enhancing self-esteemand improving academic achievement”. Dissertation Abstracts International. 60(60). Pp 1909