รูปภาพของช่อลดา โทอื้น
การศึกษาความพึงพอใจของครูต่างชาติที่มีต่อการให้บริการ (ครูต่างชาติ)
โดย ช่อลดา โทอื้น - พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 03:26PM
 

บทความวิจัย

การศึกษาความพึงพอใจของครูต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ประจำปีการศึกษา 2566

The Study of Foreign Teachers’ Satisfaction with the Service of Human Resource Department (Foreign Teachers)

Assumption College Nakhonratchasima Academic Year 2023

นางช่อลดา ปานแจ้ง

งานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ)

ฝ่าย สำนักผู้อำนวยการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของงาน

ทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้น ประชากรได้แก่ ครูต่างชาติของโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่

แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า ครูต่างชาติมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.85) ด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับแรก คือ ด้านการสื่อสาร ( = 4.91) ด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับที่สองคือ ด้านทักษะ และความชำนาญ ( = 4.85) ด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับที่สามคือ ด้านปฏิสัมพันธ์ ( = 4.83) และด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับสุดท้ายคือ ด้านความรู้ ความสามารถ ในการทำงาน ( = 4.80) โดยสรุปความพึงพอใจของแต่ละด้านได้ดังต่อไปนี้

1. ด้านการสื่อสาร พบว่า ครูต่างชาติมีความพึงพอใจในการบริการของเจ้าหน้าที่ ยินดีตอบคำถามไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ หรือข้อความ และสามารถติดต่อได้ง่าย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับแรก

( = 4.94)

2. ด้านทักษะ และความชำนาญ พบว่า ครูต่างชาติมีความพึงพอใจที่เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ถูกต้องและเหมาะสม และเจ้าหน้าที่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับแรก ( = 4.82)

3. ด้านปฏิสัมพันธ์ ครูต่างชาติมีความพึงพอใจที่เจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเองและพร้อมให้บริการ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับแรก ( = 4.88)

4. ด้านความรู้ ความสามารถในการทำงาน พบว่า ครูต่างชาติมีความพึงพอใจที่เจ้าหน้าที่สามารถวางแผน จัดเตรียม และดำเนินการจัดทำเอกสารให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงต่อเวลา หรือก่อนกำหนด อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุดเป็นลำดับแรก ( = 4.88)

จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า ครูต่างชาติมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ทั้งสี่ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ การให้บริการ ความรู้และความสามารถในการทำงาน การสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์

การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ งานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ/งาน

สภาพปัญหา งานทรัพยากรมนุษย์ คือตำแหน่งงานฝ่ายบุคคลที่ทำการดูแล และจัดการทรัพยากรบุคคล

ของโรงเรียนให้ทำงานตามค่า KPI และเป็นตัวเชื่อมต่อในการทำงานของแต่ละแผนกในองค์กร โดยเริ่มตั้งแต่การสรรหาทรัพยากรบุคคล การบริหารอัตราจ้างแรงงาน การจัดสรรสวัสดิการ การอบรมและพัฒนาบุคลากร การแก้ปัญหาและลดความขัดแย้งของบุคคล ตลอดจนการเลิกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น งานทรัพยากรมนุษย์จึงถือว่าเป็นส่วนงานที่สำคัญที่สุดขององค์กร หากบุคลากรมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการของงานทรัพยากรมนุษย์ จะทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้องค์กรมีศักยภาพด้านความมั่นคง และมีการเติบโตที่รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการบริหารจัดการงานทรัพยากรมนุษย์จะมีความสำคัญต่อบุคลากรแล้ว เจ้าหน้าที่ให้บริการงานทรัพยากรมนุษย์ ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นผู้ติดต่อ ประสาน และดูแลเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทั้งหมด จึงเป็นผู้ที่สามารถสร้างความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจให้กับบุคลากรได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ การศึกษาความพึงพอใจของครูชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่งานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ประจำปีการศึกษา 2566 จะสามารถช่วยให้องค์กรรับทราบปัญหา และสามารถแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการให้บริการของงานทรัพยากรมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้นได้ เพื่อให้ครูชาวต่างชาติเกิดความมั่นใจ และประทับใจ ในการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรและสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานขึ้น

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

การให้บริการข�งงานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) 4 ด้าน ได้แก่ • ด้านความรู้ความสามารถในการทำงาน • ด้านทักษะ และความชำนาญ • ด้านการสื่�สาร • ด้านปฏิสัมพันธ์

ความพึงพ�ใจข�งครูต่างชาติ

 
 

 


วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของงานทรัพยากรมนุษย์ (ครูต่างชาติ) และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้น

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

1. ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) คือแนวคิดทางจิตวิทยาที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีความต้องการขั้นพื้นฐานจากด้านล่างสู่ด้านบน ดังนี้

 
 

(Edited by Administrator ACN - original submission พฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2024, 03:20 PM)