รูปภาพของณัฐปภัสร์ พรหมโสดา
Satisfaction survey of nursing room use Academic year 1 - 3, Assumption Nakhon Ratchasima School, academic year 2023
โดย ณัฐปภัสร์ พรหมโสดา - ศุกร์, 29 มีนาคม 2024, 11:26AM
 

การสำรวจความพึงพอใจการใช้ห้องพยาบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 .โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566

Satisfaction survey of nursing room use Academic year 1 - 3, Assumption Nakhon Ratchasima School, academic year 2023

มิสณัฐปภัสร์ พรหมโสดา : บริหารงานทั่วไป : บุคลากรทางการศึกษา

โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสำรวจความพึงพอใจการใช้ห้องพยาบาล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 โดยนำมาพัฒนาแก้ไขปรับปรุงและดำเนินงานพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา

ปีการศึกษา 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 100 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลับมา 100 ชุด เพื่อต้องการทราบความพึงพอใจการใช้ห้องพยาบาล และทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 7 ข้อ ลักษณะของแบบสอบถามได้เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ โดยการวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยได้อาศัยข้อมูลจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ

การสุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 100 คน โดยศึกษาความพึงพอใจการใช้ห้องพยาบาลในภาพรวมทั้งหมดของห้องพยาบาลให้มีความพร้อมและให้บริการได้ทันสมัยและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นการวิจัยในครั้งผู้ให้บริการจะต้องนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์พัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ในด้านการให้บริการที่ประทับใจแก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อให้ห้องพยาบาลโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา เป็นแหล่งบริการงานอนามัยที่ได้มาตรฐาน

คำสำคัญ : การใช้ห้องพยาบาล , การปฐมพยาบาล

* หัวหน้างานอนามัย สังกัด บริหารงานทั่วไป

E-mail : promsodanat@gmail.com

บทนำ

สภาพปัญหา งานบริการอนามัยโรงเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อันเป็นการพัฒนาคนซึ่งเป็นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบายของทางราชการเพื่อให้บริการทางด้านสุขภาพทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกัน และการสงเสริมสุขภาพเพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนได้มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ ทัศนคติทางอนามัยที่ถูกต้อง

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

           
   

1. ด้านอาคารสถานที่ให้บริการ

2. ด้านวัสดุครูภัณฑ์

3. ด้านครูอนามัย และพยาบาลผู้ให้บริการ

 

เพศ การศึกษา

   
 
 


วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ

2. เพื่อจัดบริการด้านสุขภาพอนามัยให้แก่นักเรียนทุกคน

3. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับบริการด้านสุขภาพ

4. เพื่อรวบรวมสถิติการเจ็บป่วยของผู้ใช้บริการห้องพยาบาล

ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การสำรวจการให้บริการของ งานสุขอนามัย โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมานั้น ผู้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานได้ศึกษา ค้นคว้า หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความพึงพอใจ การบริการ งานสุขอนามัย จากเอกสาร ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้จัดทา จากการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว ได้สาระความสำคัญที่ควรนาเสนอในเอกสารนี้เรียงตามลำดับดังนี้

1. ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

2. ความหมายของการบริการ

3. ความหมายของงานอนามัยโรงเรียน (งานสุขอนามัย)

ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

มักศึกษากันในสองมิติ คือ มิติความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน (Job Satisfaction) และมิติความพึงพอใจในการรับบริการ (Service Satisfaction) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษามิติที่ 2 คือ ความพึงพอใจในการรับบริการ (Service Satisfaction) มีผู้ให้ความหมายไว้หลายคน ได้แก่ Victor H.Vroom (1964 : 328) กล่าวว่า ทัศนคติและความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสามารถใช้แทนกันได้ เพราะทั้งสองคำนี้ หมายถึง ผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งนั้น ทัศนคติด้านบวกจะแสดงให้เห็นสภาพความพึงพอใจในสิ่งนั้น และทัศนคติด้านลบจะแสดงให้เห็นสภาพความไม่พึงพอใจ

Wolman B.B. (1973 : 384) กล่าวว่า ความพึงพอใจหมายถึง ความรู้สึก (Felling) มีความสุข เมื่อคนเราได้รับความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย (Goals) ความต้องการ (Wants) หรือแรงจูงใจ (Motivation)”

ดิเรก ฤกษ์หร่าย (2515 อ้างใน กฤษณะ สินธุเดชะ, 2538 : 20) กล่าวว่า "ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่งนั้น"

กิติมา ปรีดีดิลก (2524 : 321-322) ได้กล่าวว่าความพึงพอใจ หมายถึง "ความรู้สึกพอหรือพอใจที่มีต่อองค์ประกอบและสิ่งจูงใจในด้านต่างๆ ของงานและเขาได้รับการตอบสนองความต้องการของเขาได้"

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526 : 74) ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจเป็นการให้ค่าความรู้สึกของคนเราที่สัมพันธ์กับโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับความหมายของสภาพแวดล้อม ค่าความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อ

สภาพแวดล้อมจะแตกต่างกัน เช่น ความรู้สึกดี เลว พอใจ ไม่พอใจ สนใจ ไม่สนใจ

พิณ ทองพูน (2529 : 21) ได้กล่าวว่า "ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึก รัก ชอบ ยินดี เต็มใจหรือมีเจตคติที่ดีของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านวัตถุและด้านจิตใจ"

หลุย จาปาเทศ (2533 : 8) กล่าวว่า "ความพึงพอใจ หมายถึง ความต้องการ (Need) ได้บรรลุเป้าหมาย พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็จะมีความสุข สังเกตได้จากสายตา คาพูดการแสดงออก"

เอก สิริ (2533 : 29) มีความสนใจ อยากจะไปติดต่องานที่องค์การบริหารส่วนตำบล โดยไม่เกิดความกังวลหวั่นเกรงในการติดต่อ เห็นว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นแหล่งบริการหรือเป็นที่พึ่งของประชาชนได้

ดิเรก ปลั่งดี (2540 : 4, อ้างถึง ชริณี เดชจินดา, 2515) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้น ไม่ได้รับการตอบสนอง

ชื่นจิตร แจ้งเจนกิจ (2540 : 1) ได้กล่าวว่า การบริการ (Service) คือกิจกรรมหรือการดำเนินงานใดๆ ที่บุคคลในฝ่ายหนึ่งสามารถนาเสนอให้กับบุคคลอื่น โดยที่กิจกรรมหรือการดาเนินงานใดๆ ที่บุคคลในฝ่ายหนึ่งสามารถนาเสนอให้กับบุคคลอื่น โดยที่กิจกรรมหรือการดาเนินงานนั้นๆ ไม่สามารถจับต้องได้ (intangible) และไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ในสิ่งของใดๆ ไม่มีหนังสือร้องเรียน ร้องทุกข์หรือปรากฏตามหนังสือพิมพ์หรือบัตรสนเท่ห์ของประชาชน ไม่เสียเงินพิเศษหรือค่าตอบแทนใดๆ นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ไม่มีการเดินขบวนประท้วงขับไล่หรือมีการชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล

ความหมายของการบริการ

การบริการ ความหมาย การกระทาใดๆ ด้วยร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้อื่น การกระทำด้วยร่างกาย : คือการแสดงออกด้วยการแต่งกาย ปฏิบัติการ กิริยา ท่าทาง และวิธีการ

พูดจา ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ชนิด คือ

1. เทคนิคการบริการ เป็นปฏิบัติการตามขั้นตอน และเทคนิค ของวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการ ได้ประโยชน์ ตรงตามความต้องการ เช่น ซักประวัติ เพื่อรู้อาการผิดปกติ วิธีการให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ วิธีการส่งมอบยา ฯลฯ

2. พฤติกรรมการบริการ เป็นการแสดงออก ด้านการแต่งกาย สีหน้า แววตา กิริยาท่าทาง และการพูดจา ซึ่งพฤติกรรมที่ดี ย่อมสร้างความสุข ให้เกิดขึ้นกับผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย สีหน้าและแววตาที่ ยิ้มแย้ม แจ่มใส อ่อนโยน กิริยาท่าทางที่ สุภาพ

อ่อนน้อม การพูดจาด้วยน้าเสียงที่นุ่มนวล สุภาพ ชัดเจน ให้เกียรติ มีหางเสียง

7

คุณสมบัติของผู้ให้บริการ

1. มีความรู้ เกี่ยวกับสินค้า และบริการ

2. มีความสามารถ รู้ เข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีคุณภาพ ตามกำหนด

3. มีวุฒิภาวะ สามารถควบคุมจิตใจ ให้อยู่ในภาวะที่ให้บริการได้ดี คือมีความร่าเริง

เบิกบาน แจ่มใส มีเมตตา แสดงออกให้เห็นได้ทางสีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง และการพูดจาที่ดี เหมาะสม น่าพอใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ เทคนิค การใช้อุปกรณ์ประกอบ

ความหมายของงานอนามัยโรงเรียน (งานสุขอนามัย)

งานอนามัยโรงเรียน หมายถึง การดาเนินงานอนามัยโรงเรียนโดยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน

งานอนามัยโรงเรียน หมายถึง กิจกรรมหรือการดาเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การป้องกัน การรักษา การแก้ไขปรับปรุง และการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลทุกคนในโรงเรียนให้มีสุขภาพดี ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน โดยการเน้นการจัดกิจกรรมร่วมกันใน 3 ลักษณะคือ การจัดสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพและการสอนสุขศึกษา

งานอนามัยโรงเรียน หมายถึง การดำเนินงานเพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจการดำรงรักษาไว้ และปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนโดยเน้นการจัด กิจกรรม 3 ลักษณะคือ การจัดสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพและการสอนสุขศึกษา

งานอนามัยโรงเรียน หมาย ถึง กิจกรรมหรือการดาเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน การรักษา แก่บุคคลทุกคนในโรงเรียนเพื่อให้มีสุขภาพดี โดยการเน้นการบริการด้านสุขภาพ การบริการด้านการศึกษา การบริการด้านสิ่งแวดล้อม และการประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน

วิธีการวิจัย

1. ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น

- การศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องพยาบาล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

ตัวแปรตาม

- นักเรียนเกิดความพึงพอใจในการเข้ารับบริการห้องพยาบาล

- นักเรียนได้รับการบริการที่สะดวกรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

2. กลุ่มเป้าหมาย

- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 521 คน

- นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ปีการศึกษา 2566 ทั้งนี้สุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล